สถานะทางกฎหมายและประวัติศาสตร์ ของ การค้าประเวณีในประเทศไทย

การค้าประเวณีไม่ใช่สิ่งใหม่ในสังคมไทย มีเอกสารทางประวัติศาสตร์ย้อนไปได้กว่าหกร้อยปี เช่น เอกสารของชาวจีน Ma Huan (1433) และชาวยุโรป(Van Neck, 1604; Gisbert Heeck, 1655 และอื่นๆ) อย่างไรก็ดีในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น ที่มีชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกันจำนวนมากเข้ามาอาศัยในประเทศไทยอาจทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น

ในสมัยโบราณกฎศาสนาห้ามการค้าประเวณี ในขณะที่ต่อมาได้มีกฎหมายสมัยใหม่ในการห้ามและป้องปรามการค้าประเวณีมาเป็นลำดับ

ผลกระทบต่อสังคม

ค่ำคืนในซอยคาวบอย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ทราบทั่วไปว่ามีการลักลอบค้าประเวณี เช่นเดียวกับในย่านนานาพลาซ่าและพัฒน์พงษ์

โดยเหตุที่การค้าประเวณีนำมาซึ่งความเสื่อมเสียทางศีลธรรมและปัญหาสังคมต่าง ๆ นานาดังกล่าว รัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยได้พยายามแก้ปัญหานี้อยู่เสมอ แต่สภาพการณ์ก็ยังทรง ๆ ทรุด ๆ เรื่อยมา

นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีของไทยเพิ่งจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ โดยพระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง ชื่อ "พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127" เหตุผลในการประกาศใช้มีว่า

"...ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า ทุกวันนี้หญิงบางจำพวกประพฤติตนอย่างที่เรียกว่าหญิงนครโสเภณี มีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งโรงหาเงินขึ้นหลายตำบล แต่ก่อนมาการตั้งโรงหญิงนครโสเภณี นายโรงช่วยไถ่หญิงมาเป็นทาสรับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วตั้งเป็นโรงขึ้น ครั้นต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกทาสเสียแล้ว หญิงบางจำพวกที่สมัครเข้าเป็นหญิงนครโสเภณีก็รับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วมีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งขึ้นในท้องที่โรงอันควรบ้างมิควรบ้าง กระทำให้มีเหตุเกิดการวิวาทขึ้นเนือง ๆ อีกประการหนึ่ง หญิงบางคนป่วยเป็นโรคซึ่งอาจจะติดต่อเนื่องไปถึงผู้ชายที่คบหาสมาคมได้ ก็มิได้มีแพทย์ตรวจตรารักษาโรคร้ายนั้น อาจจะติดเนื่องกันไปจนถึงเป็นอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก และยังหาได้มีกฎหมายและข้อบังคับอย่างใดสำหรับจะป้องกันทุกข์โทษภัยแห่งประชาราษฎรทั้งหลายเหล่านี้ไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตืขึ้นไว้สืบไปดังนี้..."

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127 มีว่า 1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับผู้อื่นหรือล่อลวงมาให้เป็นหญิงนครโสเภณีมิได้เลย มีโทษตามพระราชกำหนดลักษณะข่มขืนล่วงประเวณี รัตนโกสินทรศก 118 ซึ่งโทษนี้ปัจจุบันมีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาแทนแล้ว 2) หญิงนครโสเภณีทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อนจึงจะเป็นได้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนับว่าสูงมากในสมัยนั้น แสดงเจตนารมณ์ในการป้องปรามการเป็นโสเภณีอยู่ในตัว 3) ผู้ตั้งโรงหญิงนครโสเภณีต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน และนายโรงก็เป็นได้แต่ผู้หญิง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง 4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย้ง ล้อเลียน เป็นต้น 5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในโรงหญิงนครโสเภณีทุกเมื่อ เพื่อนำตัวสมาชิกคนใดของโรงมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอนหรือสักพักใช้ใบอนุญาตในคราวนั้นด้วยก็ได้

ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดมีแนวคิดที่จะปรับสภาพหญิงนครโสเภณีให้กลับเป็นคนดีของสังคม องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการเลิกค้าประเวณีทั่วโลก โดยใน พ.ศ. 2492 ได้มีการประชุมร่างอนุสัญญาเพื่อการนี้ขึ้น ชื่อ "อนุสัญญาฉบับรวม" (อังกฤษ: Consolidated Convention) มีเนื้อหาสาระเป็นการขจัดการค้าสตรีและการแสวงหาประโยชน์จากหญิงนครโสเภณี เพื่อเลิกการทำให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย[27] ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่หญิงนครโสเภณีเพื่อกลับเป็นคนดีของสังคมต่อไปด้วย ซึ่งเมื่อประกาศใช้แล้ว ไทยเองก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจัดตั้งสำนักโสเภณีเพิ่มขึ้นอีก และใน พ.ศ. 2498 ก็ได้มีการห้ามจดทะเบียนโสเภณีเป็นเด็ดขาด ซึ่งรัฐเองก็มีนโยบายจัดการสงเคราะห์หญิงนครโสเภณีขึ้นด้วย ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทย ครั้งนั้น รัฐบาลดำริจะจัดตั้งนิคมโสเภณีขึ้นเพื่อการดังกล่าว แต่ขัดข้องด้านงบประมาณ โครงการจึงระงับไว้จน พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ร่าง "พระราชบัญญัติห้ามการค้าประเวณี" ขึ้น แต่ไม่สามารถนำเข้าสู่รัฐสภาได้ ใน พ.ศ. 2503 รัฐบาลจึงเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่แทน คือ ร่างพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ตามลำดับ ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 แทนที่แล้ว

นอกจากกฎหมายหลักข้างต้น ประมวลกฎหมายอาญายังให้ความคุ้มครองแก่หญิงและเอาโทษชายแมงดาซึ่งเป็นกาฝากเกาะกินอยู่กับหญิงนครโสเภณี เช่น กำหนดโทษการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กหญิง เพื่อการอนาจารหรือเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น และกำหนดโทษเอาผิดแก่ชายแมงดาที่ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงนครโสเภณีด้วย เป็นต้น

โทษที่กฎหมายวางไว้สำหรับความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีนี้อยู่ในระดับสูงมาก เพื่อผดุงคุณธรรมของชาติ และให้ความคุ้มครองแก่กุลบุตรกุลธิดามิให้ตกไปในอบายมุข อย่างไรก็ดี การที่หญิงต้องกลายเป็นโสเภณีนั้นมิได้เกิดจากการล่อลวงหรือชักพาแต่อย่างเดียว แต่มีสาเหตุหลายประการดังกล่าวไว้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและแก้ไขกันไปตราบชั่วชีวิตของสังคม

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้นหาแบบทวิภาค การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การค้าประเวณีในประเทศไทย http://www.theage.com.au/articles/2003/11/26/10698... http://www.dab.uts.edu.au/conferences/queer_space/... http://www.asiapacificms.com/articles/russian_mafi... http://desires.com/1.1/Features/patpong.html http://www.nationmultimedia.com/search/read.php?ne... http://www.taipeitimes.com/News/feat/archives/2006... http://www.the-diplomat.com/article.aspx?aeid=3430 http://www2.hu-berlin.de/sexology/IES/thailand.htm... http://www2.hu-berlin.de/sexology/IES/thailand.htm... http://globetrotter.berkeley.edu/conversations/Kri...