เหตุการณ์อื้อฉาว ของ การจมเรนโบว์วอร์ริเออร์

ปฏิบัติการของซาตานเป็นความหายนะทางการประชาสัมพันธ์ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรกับนิวซีแลนด์ ตอนแรกฝรั่งเศสปฏิเสธความเกี่ยวข้องและร่วมประณามว่าเป็นเหตุก่อการร้าย

หลังเหตุระเบิด การไต่สวนเหตุฆาตกรรมเริ่มต้นขึ้นโดยตำรวจนิวซีแลนด์ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่สามารถหลบหนีออกนอกประเทศมาได้ ยกเว้นสองคนได้แก่ ร้อยเอก ดอมีนิก พรีเยอร์ และผู้บัญชาการ อาแล็ง มาฟาร์ ซึ่งปลอมตัวเป็นคู่สมรสและถือหนังสือเดินทางสวิตเซอร์แลนด์ ถูกระบุว่าอาจเป็นผู้ต้องสงสัยโดยตำรวจนิวซีแลนด์หลังตำรวจรวบรวมคำให้การของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทั้งสองถูกจับกุมและต่อมาได้ถูกตั้งคำถามและสอบสวน และเอกลักษณ์ที่แท้จริงของพวกเขาถูกเปิดเผย พร้อมด้วยความรับผิดชอบของรัฐบาลฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ทั้งสองรับสารภาพว่าฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาและถูกตัดสินจำคุกสิบปีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528

ฝรั่งเศสขู่ว่าจะห้ามนิวซีแลนด์ส่งสินค้าออกไปยังประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หากยังไม่ปล่อยคนทั้งสอง[2] นี้จะยังให้นิวซีแลนด์ ซึ่งพึ่งพาการส่งสินค้าเกษตรออกไปยังอังกฤษ ต้องได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจ

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2529 การตกลงทางการเมืองกับเดวิด ลองงี นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และได้คาเบียร์ เปเรซ เด กูเอยาร์ เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นอนุญาโตตุลาการ ฝรั่งเศสตกลงจะจ่ายเป็นเงิน 13 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์และขอโทษ แลกกับการที่มาฟาร์และพรีเยอร์จะถูกกักตัวไว้ที่ฐานทัพฝรั่งเศสบนเกาะวงแหวนอาโอเป็นเวลาสามปี อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทั้งสองกลับฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังอยู่บนเกาะน้อยกว่าสองปี มาฟาร์กลับสู่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เพื่อเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ และปรากฏว่าถูกปล่อยตัวหลังเข้ารับการรักษา เขายังรับรัฐการอยู่ในกองทัพฝรั่งเศสและได้เลื่อนยศเป็นพันเอกใน พ.ศ. 2536 พรีเยอร์กลับสู่ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 เพราะเธอตั้งครรภ์ ทำให้สามีของเธอได้รับอนุญาตให้อยู่กับเธอบนเกาะ เธอได้รับอิสระเช่นกัน และภายหลังได้เลื่อนยศ การย้ายเจ้าหน้าที่ทั้งสองจากอาโอโดยไม่กลับมาในภายหลังถูกตัดสินว่าขัดต่อความตกลง พ.ศ. 2539[3]

ส่วนเจ้าหน้าที่คนอื่นอีกสามคนถูกจับกุมโดยตำรวจออสเตรเลียบนเกาะนอร์ฟอล์ก แต่ถูกปล่อยตัวไปเนื่องจากกฎหมายออสเตรเลียไม่อนุญาตให้จับกุมตัวไว้จนกว่าผลการทดสอบทางนิติเวชจะกลับมา ส่วนเจ้าหน้าที่คนที่หก ซึ่งเป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการ ไม่เคยถูกจับกุมและไม่เคยถูกตั้งข้อหา เขายอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องระหว่างให้สัมภาษณ์แก่บริษัทกระจายเสียงของรัฐนิวซีแลนด์ใน พ.ศ. 2548[4]

คณะกรรมการสืบสวนนำโดยแบร์นาร์ ทรีโก ลบล้างรัฐบาลฝรั่งเศสว่ามีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ที่ถูกจับกุมนั้น ผู้ยังไม่ได้ยอมรับสารภาพ เพียงแต่สืบกรีนพีซเท่านั้น เมื่อเดอะไทมส์และเลอมงด์ อ้างว่าประธานาธิบดีมีแตร็องอนุมัติการระเบิด รัฐมนตรีกลาโหมของฝรั่งเศสได้ลาออก และหัวหน้า DGSE ถูกไล่ออก นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส โลร็อง ฟาบียุส ยอมรับว่าเหตุระเบิดเป็นแผนของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2528 เขาเรียกผู้สื่อข่าวมายังสำนักงานของเขา และอ่านแถลงการณ์ โดยยอมรับว่ามีการปกปิด มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ความจริงนั้นโหดร้าย [...] เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับฝรั่งเศสจมเรือลำนี้ พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่ง"[5]

ใกล้เคียง

การจมเรนโบว์วอร์ริเออร์ การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ การเมืองไทย การเมือง การจ้างงาน การจราจรซ้ายมือและขวามือ การคมนาคมในลอนดอน การจัดการความเครียด การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล)