การจัดระดับของเซคคิ ของ การจัดประเภทดาวฤกษ์

ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 ถึง 1870 นักวิชาการด้านสเปกโตรสโกปีของดาวฤกษ์ยุคแรก ๆ ชื่อ คุณพ่อแองเจโล เซคคิ ได้คิดค้นระบบจัดประเภทของดาวเคราะห์แบบเซคคิขึ้นเพื่อช่วยแบ่งประเภทสเปกตรัมที่ได้จากการสังเกต ปี ค.ศ. 1866 เขาได้พัฒนาระบบจัดแบ่งสเปกตรัมออกเป็น 3 ระดับ:[1][2][3] ดังนี้

  • Class I: สำหรับดาวฤกษ์สีขาวและสีน้ำเงินซึ่งมีแถบไฮโดรเจนค่อนข้างเข้ม เช่นดาวเวกา และดาวอัลแทร์ การจัดระดับนี้กินความรวมการจัดระดับสมัยใหม่ทั้งแบบคลาส A และคลาส F ในช่วงต้นClass I, Orion subtype: เป็นประเภทย่อยของคลาส I ซึ่งมีแถบค่อนข้างแคบแทนที่จะเป็นแถบกว้าง เช่นดาวไรเจล และ ดาวเบลลาทริกซ์ สำหรับการจัดระดับสมัยใหม่ ประเภทนี้จะสอดคล้องกับดาวฤกษ์คลาส B
  • Class II: สำหรับดาวฤกษ์สีเหลืองที่มีความเข้มข้นของไฮโดรเจนน้อยกว่า แต่มีแถบความเป็นโลหะเด่นชัด เช่นดวงอาทิตย์, ดาวอาร์คตุรุส และดาวคาเพลลา เทียบกับการจัดระดับสมัยใหม่จะได้ประมาณคลาส G รวมไปถึงคลาส K และคลาส F ในช่วงปลาย ๆ
  • Class III: สำหรับดาวฤกษ์สีส้มจนถึงสีแดงที่มีแถบสเปกตรัมค่อนข้างซับซ้อน เช่นดาวบีเทลจุส และดาวปาริชาต เทียบกับการจัดระดับสมัยใหม่ได้เท่ากับคลาส M

เซคคิได้ค้นพบดาวคาร์บอนในปี ค.ศ. 1868 เขาจัดดาวประเภทนี้แยกไว้เป็นประเภทต่างหาก[4] คือ

  • Class IV: สำหรับดาวฤกษ์สีแดงที่มีแถบคาร์บอนอย่างโดดเด่น

เมื่อถึงปี ค.ศ. 1877 เขาได้เพิ่มการจัดระดับอีกหนึ่งระดับ[5] คือ

ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1890 การจัดระดับแบบนี้เสื่อมความนิยมลงไป การจัดระดับของฮาร์วาร์ดเริ่มเข้ามาแทนที่ ซึ่งปรากฏในหัวข้อถัดไป[6][7]

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์