จุดอ่อน ของ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) § จุดอ่อน

การวิเคราะห์เวลา

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: การวิเคราะห์การสื่อสาร

เหตุผลหนึ่งที่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตปกติจะไม่ได้สภาวะนิรนาม ก็เพราะผู้ให้บริการสามารถติดตามและลงบันทึกการเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ข้อมูลเองอาจจะปลอดภัยเพราะเชื่อมต่อด้วยเอชทีทีพีเอส ดังนั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถรู้รหัสผ่าน อีเมล และเนื้อความอื่น ๆ แต่ก็ยังมีบันทึกเกี่ยวกับการเชื่อมต่อเอง เช่น ต่อเมื่อไร มีข้อมูลส่งผ่านแค่ไหน

การจัดเส้นทางแบบหัวหอมจะสร้างทางที่คลุมเครือระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เพื่อไม่ให้ระบบผู้ใช้เชื่อมต่อกับเว็บไซต์โดยตรง แม้จะยังมีบันทึกการเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์และก็ยังสามารถวิเคราะห์การสื่อสารเนื่องกับบันทึกการเชื่อมต่อเช่นนั้น แล้วพยายามเชื่อมเวลาและการส่งข้อมูลกับการเชื่อมต่อไปยังผู้รับหนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น อาจจะเห็นบุคคลส่งข้อมูล 51 กิโลไบต์ถ้วนไปยังคอมพิวเตอร์ที่ไม่รู้จัก 3 วินาทีก่อนคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ไม่รู้จักก็ส่งข้อมูล 51 กิโลไบต์ถ้วนเช่นกันไปยังเว็บไซต์หนึ่งโดยเฉพาะ[41][42]

ปัจจัยที่อาจช่วยให้วิเคราะห์การสื่อสารได้รวมทั้งโหนดขัดข้องแล้วออกจากเครือข่าย[42]และโหนดส่งต่อที่ถูกแฮ็กให้เก็บบันทึกการเชื่อมต่อทุก ๆ ครั้งที่มีการสร้างวงจรใหม่[43]

การจัดเส้นทางแบบกระเทียม (Garlic routing) เป็นการจัดเส้นทางแบบหัวหอมอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในเครือข่ายไอทูพี และเข้ารหัสลับข้อความหลายข้อความเข้าด้วยกันเพื่อทำการวิเคราะห์การสื่อสารเช่นนี้ให้ยากขึ้น[44] และเพื่อเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล[45]

โหนดขาออก (Exit node)

แม้ข้อความที่ส่งจะเข้ารหัสลับเป็นชั้น ๆ แต่หน้าที่ของโหนดขาออก (exit node) ที่เป็นโหนดท้ายสุดในโซ่ ก็คือการถอดรหัสลับชั้นสุดท้ายแล้วส่งข้อความไปให้ผู้รับดังนั้น โหนดขาออกที่ถูกแก้ก็อาจจะเก็บข้อมูลที่ส่ง ซึ่งอาจมีรหัสผ่าน ข้อความส่วนตัว เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ในปี 2007 นักวิจัยชาวสวีเดนได้ใช้การโจมตีคล้าย ๆ กันนี้แล้วสามารถเก็บรหัสผ่านของบัญชีอีเมลกว่า 100 บัญชีของสถานทูตประเทศต่าง ๆ[46]

จุดอ่อนโหนดขาออกจะคล้ายกับที่พบในเครือข่ายไร้สายที่ไม่ได้ทำให้ปลอดภัย คือข้อมูลที่ส่งโดยผู้ใช้เครือข่ายอาจถูกดักฟังโดยผู้ใช้อีกคนหนึ่งหรือโดยผู้ดำเนินการเราเตอร์โดยปัญหาทั้งสองนี้สามารถแก้ได้โดยใช้การเชื่อมต่อที่เข้ารหัสลับจากต้นถึงปลาย เช่น เอสเอสแอลหรือเอชทีทีพีเอสซึ่งทำให้แม้แต่ผู้ส่งต่อลำดับสุดท้ายก็ไม่สามารถรู้ข้อความดั้งเดิมได้

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การจัดเส้นทางแบบหัวหอม http://pando.com/2014/07/16/tor-spooks/ http://privacy-pc.com/articles/common-darknet-weak... http://voices.washingtonpost.com/securityfix/2007/... http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=1... http://freehaven.net/anonbib/#wpes12-cogs http://www.onion-router.net http://www.onion-router.net/Publications/CACM-1999... http://www.onion-router.net/Publications/SSP-1997.... //doi.org/10.1007%2F11863908_2 http://archives.seul.org/or/dev/Sep-2002/msg00019....