ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม)
ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม)

ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม)

ทอร์ (อังกฤษ: Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ด้วยการจัดเส้นทางแบบหัวหอม คือการจัดส่งการสื่อสารผ่านสถานีส่งต่อตามลำดับ ๆ ที่เลือกโดยสุ่มและเข้ารหัสลับเป็นชั้น ๆ (คล้ายหัวหอม)ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม)[7][8]ทอร์ส่งการสื่อสารผ่านเครือข่ายทั่วโลกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี[9]ทอร์มุ่งป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยซ่อนตำแหน่งและ/หรือการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสารกล่าวอีกอย่างก็คือ ทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น กิจกรรมรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ"[10]แม้ทอร์โดยทั่วไปจะตั้งให้ป้องกันโปรแกรมที่ส่งการสื่อสารแบบทีซีพีผ่านส่วนต่อประสานแบบ SOCKS ได้[11]และมีโปรแกรมต่าง ๆ ที่ออกแบบให้ใช้ทอร์ โปรเจ็กต์ทอร์เองก็ไม่ได้สำรวจโปรแกรมเหล่านั้นเพียงพอเพื่อแนะนำค่าตั้งที่ปลอดภัย[12] ผลิตภัณฑ์หลักของโปรเจ็กต์ก็คือ ทอร์เบราว์เซอร์ซึ่งเป็นมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์พร้อมกับโปรแกรมเสริมและทอร์พร็อกซี[13] และโปรเจ็กต์ก็ไม่แนะนำให้ใช้เบราว์เซอร์อื่น ๆ เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพราะจะไม่ได้การป้องกันสภาพนิรนามเหมือนกับที่ใช้ทอร์เบราว์เซอร์[14]นอกจากการใช้ทอร์เบราว์เซอร์เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์แล้ว โปรแกรมสามัญที่ใช้เพื่อสื่อสารแบบนิรนามผ่านทอร์รวมทั้งไออาร์ซีและระบบส่งข้อความทันทีการจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) เป็นการเข้ารหัสลับที่ทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอมคือระบบผู้ใช้จะสร้างวงจรการสื่อสารผ่านสถานี/โหนดส่งต่อต่าง ๆ ซึ่งเลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ โดยสถานีส่งต่อแต่ละสถานี จะรู้แต่เลขที่อยู่ไอพีขาเข้าและขาออกของตน ๆ เท่านั้น และไม่มีสถานีไหนในระหว่าง ที่รู้ทั้งที่อยู่ของต้นสายและของปลายทางทั้งสอง แม้ในมุมมองของระบบปลายทาง ก็จะดูเหมือนว่าการสื่อสารเริ่มมาจากสถานีขาออกของทอร์ ระบบผู้ใช้จะต่อรองกุญแจเข้ารหัสลับแบบสมมาตรโดยเฉพาะ ๆ ที่ใช้ร่วมกับสถานีส่งต่อและสถานี เพื่อเมื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ระบบก็จะเข้ารหัสข้อมูลเป็นชั้น ๆ ด้วยกุญแจที่ใช้ร่วมกับสถานีต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สถานีขาออก (สถานีสุดท้าย) ย้อนลำดับกลับมาจะถึงสถานีขาเข้า เมื่อข้อมูลส่งไปถึงแต่ละสถานี ๆ สถานีก็จะสามารถถอดรหัสชั้นที่เข้ากุญแจซึ่งตนมี แล้วทำการที่สมควรเช่นส่งข้อมูลนั้นต่อไปได้ โดยที่ไม่สามารถรู้ข้อมูลที่ส่งต่อเพราะเข้ารหัสด้วยกุญแจที่ตนไม่มี สถานีขาออกจะเป็นผู้ถอดรหัสชั้นสุดท้ายแล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังระบบปลายทางต่อไป[4][5]การจัดเส้นทางเช่นนี้ ทำให้ไม่มีสถานีของทอร์ใด ๆ รู้ที่อยู่ของทั้งต้นสายและปลายทาง ทำให้นอกจากระบบผู้ใช้แล้ว ไม่มีระบบไหน ๆ ที่รู้เส้นทางการส่งข้อมูลทั้งหมดภายในวงจร ทำให้สถานีขาออกเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดั้งเดิมที่จะส่งไปยังระบบปลายทางได้ เพราะเหตุนี้ ระบบจึงสามารถเก็บรักษาที่อยู่หรือกิจกรรมของระบบผู้ใช้เป็นความลับไว้ได้แต่ปฏิปักษ์ก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้[15]เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุ่นหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์[16]และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร[17]นอกจากนั้น สำหรับปฏิปักษ์ที่สามารถดักฟังข้อมูลทั้งที่ต้นสายและปลายทางของวงจรการสื่อสาร ระบบยังไม่สามารถป้องกันการโจมตีด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติซึ่งเวลาและขนาดข้อมูลที่ส่ง ซึ่งอาจทำให้ระบุผู้ใช้ได้[4][5]เช่นการโจมตีเครือข่ายที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2014[18] ซึ่งผู้ชำนาญการเชื่อว่า ได้เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้แล้วทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินคดีกับทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการซ่อนได้หลายราย[19]การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่[20][21]ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน[22]อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์วิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรัฐ[23]รายงานปี 2011 ขององค์การนอกภาครัฐเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ได้ทุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐ Freedom House ได้จัดทอร์เป็นอันดับ 3 โดยทั่วไปอาศัยการวัดผลในแล็บ และอันดับ 6 เมื่อรวมการสำรวจผู้ใช้ในประเทศต่าง ๆ ในบรรดาอุปกรณ์หลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาและรักษาความเป็นส่วนตัว วัดโดยความเร็ว การใช้ง่าย การสนับสนุน และความปลอดภัย[24] โดยเฉพาะก็คือ อาศัยค่าวัดต่าง ๆ ดังกล่าว ทอร์เหมาะสมเมื่อใช้[25]รายงานยังได้แสดงข้อดีต่าง ๆ ของทอร์รวมทั้ง[26]และมีข้อเสียต่าง ๆ รวมทั้ง[26]

ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม)

เว็บไซต์ torproject.org
ประเภท การจัดเส้นทางแบบหัวหอม, ระบบนิรนาม
สัญญาอนุญาต เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน
ขนาดไฟล์ 2-4 เมกะไบต์
ระบบปฏิบัติการ
เขียนบน ภาษาซี[2] ไพทอน รัสต์[3]
ผู้พัฒนา โปรเจ็กต์ทอร์
วันที่เปิดตัว 20 กันยายน ค.ศ. 2002 (2002-09-20)[1]
สถานะการพัฒนา ยังดำเนินการอยู่

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม) http://50.21.181.236/congress/2015/h264-sd/32c3-73... http://www.gq.com.au/entertainment/tech/the+new+ma... http://www.scmagazine.com.au/News/246707,egyptians... http://www.smh.com.au/news/security/the-hack-of-th... http://www.fims.uwo.ca/news/2016/library_in_fims_j... http://pro.01net.com/editorial/544024/des-chercheu... http://arstechnica.com/security/2014/04/tor-networ... http://arstechnica.com/security/2014/07/russia-pub... http://arstechnica.com/security/2014/07/tor-develo... http://arstechnica.com/security/2016/08/building-a...