การเพิ่มความปลอดภัย ของ ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม)

โปรเจ็กต์ทอร์ได้ตอบสนองต่อจุดอ่อนที่ได้กล่าวถึงในบทความ โดยแพ็ตช์จุดอ่อนทำให้ปลอดภัยดีขึ้นอย่างไรก็ดี ความผิดพลาดของผู้ใช้ก็อาจทำให้ถูกระบุตัวได้เว็บไซต์ของโปรเจ็กต์มีรายการปฏิบัติการที่ได้ผลดีสุดว่าควรจะใช้ทอร์เบราว์เซอร์อย่างไรเพราะถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ทอร์ก็ไม่ได้ทำให้ปลอดภัย

ยกตัวย่างเช่น โปรเจ็กต์เตือนผู้ใช้ว่า การสื่อสารทุกอย่างไม่ได้รับการป้องกันเพราะการสื่อสารที่ส่งผ่านทอร์เบราว์เซอร์เท่านั้นที่ได้โปรเจ็กต์ยังเตือนให้ใช้ระบบเอชทีทีพีเอสของเว็บไซต์ที่ตนสื่อสารด้วย ไม่ให้ใช้บิตทอร์เรนต์กับทอร์ ไม่ให้ใช้โปรแกรมเสริมสำหรับเบราว์เซอร์ ไม่ให้เปิดเอกสารที่ดาวน์โหลดผ่านทอร์เมื่อยังต่อเน็ตอยู่ และให้ใช้สถานีขาเข้าที่ปลอดภัย[202]และเตือนด้วยว่า ผู้ใช้ไม่สามารถให้ชื่อหรือข้อมูลเปิดเผยตัวอื่น ๆ ในฟอร์มของเว็บผ่านทอร์ แล้วหวังจะรักษาสภาพนิรนามไว้ได้ในเวลาเดียวกัน[203]

แม้หน่วยจารกรรมต่าง ๆ จะอ้างว่า ผู้ใช้ทอร์ 80% จะถูกระบุตัวภายใน 6 เดือนเมื่อปี 2013[204]แต่ความจริงนี่ก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว แม้ปลายเดือนกันยายน 2016 FBI ก็ยังไม่สามารถสืบหาแล้วเปิดเผยระบุผู้ใช้ทอร์ที่แฮ็กเซิร์ฟเวอร์อีเมลของฮิลลารี คลินตัน[205]

วิธีที่ดีสุดของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อระบุผู้ใช้ดูเหมือนจะเป็นการดำเนินงานสถานีดักฟัง หรือหวังให้ผู้ใช้ใช้ทอร์เบราว์เซอร์อย่างไม่ถูกต้องเช่น การดาวน์โหลดวิดีโอผ่านทอร์เบราว์เซอร์แล้วเปิดไฟล์เดียวกันในขณะยังต่อเน็ตอยู่ จะสามารถเปิดเผยเลขที่อยู่ไอพีจริง ๆ ของผู้ใช้ได้[206]

โอกาสการถูกเปิดเผย

เมื่อใช้อย่างถูกต้อง โอกาสถูกระบุตัวเมื่อสื่อสารผ่านทอร์จะน้อยสุด ๆผู้ร่วมตั้งโปรเจ็กต์ทอร์นิก แม็ทธิวสันได้อธิบายในปี 2016 ว่า "ปฏิปักษ์ผู้ดำเนินการสถานีรีเลย์" มีปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้กลุ่มนี้ไม่ใช่ภัยน่ากลัวที่สุดของเครือข่าย

แม้จะไม่มีปฏิปักษ์ใดที่ครอบคลุมได้ทั่วโลกจริง ๆ แต่ปฏิปักษ์ก็ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมทั่วโลก...

การดักฟังอินเทอร์เน็ตทั้งหมดเป็นปัญหามีค่าใช้จ่ายเป็นพัน ๆ ล้านเหรียญสหรัฐการดำเนินการคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่องเพื่อดักฟังการสื่อสารเป็นจำนวนมาก (บวก)การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการแบบเลือกเพื่อบังคับให้สื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ของคุณ นั่นเป็นปัญหามีค่าใช้จ่ายเป็นหมื่น ๆ เหรียญในระดับพื้นฐานสุด ผู้โจมตีที่ดำเนินงานสถานีทอร์ที่เป็นพิษ คือ สถานีขาเข้าหนึ่งสถานี สถานีขาออกหนึ่งสถานี สามารถวิเคราะห์การสื่อสารและระบุตัวผู้ใช้ที่โชคไม่ดีเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมาก ที่วงจรการสื่อสารของตนเกิดวิ่งผ่านสถานีทั้งสองนั้นในปัจจุบันเครือข่ายทอร์ให้บริการ จากสถานีรีเลย์ทั้งหมด 7,000 สถานี เป็นสถานีขาเข้า 2,000 สถานี และสถานีขาออก 1,000 สถานีดังนั้น โอกาสที่เหตุการณ์ที่ว่าจะเกิดขึ้นอยู่ที่ 1 ในสองล้าน (1/2000 x 1/1000) โดยคร่าว ๆ[204]

ทอร์ไม่สามารถป้องกันการโจมตีโดยจับเวลาจากต้นจนถึงปลาย คือ ถ้าผู้โจมตีสามารถเฝ้าสังเกตการสื่อสารจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมาย และการสื่อสารไปยังปลายทางของเป้าหมาย (เช่น เซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์บริการซ่อน)ผู้โจมตีก็จะสามารถวิเคราะห์โดยสถิติแล้วรู้ได้ว่า การสื่อสารในส่วนทั้งสองอยู่ในวงจรเดียวกัน[203]

ระดับความปลอดภัย

ขึ้นกับความจำเป็นของผู้ใช้แต่ละคน ทอร์เบราว์เซอร์ให้เลือกระดับความปลอดภัย 3 ระดับภายใต้เมนู Onion tab > Security Settingsนอกจากจะเข้ารหัสลับข้อมูลและเปลี่ยนวงจรการสื่อสารอย่างต่อเนื่องโดยเลือกสถานีรีเลย์ต่อ ๆ กันโดยสุ่ม ยังมีการจัดความปลอดภัยให้แบบอื่น ๆ สำหรับผู้ใช้

1. ต่ำ (ค่าโดยปริยาย) - ในระดับนี้ ลูกเล่นของเบราว์เซอร์ทั้งหมดใช้งานได้

  • ระดับนี้ทำให้ใช้งานง่ายสุด แต่มีระดับความปลอดภัยต่ำสุด

2. กลาง - ในระดับนี้ มีความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

  • วิดีโอของ "เอชทีเอ็มแอล5" และสื่อเสียง จะต้องคลิกเพื่อเล่น นี่เป็นการควบคุมของ NoScript
  • เมื่อกำลังเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ใช้จาวาสคริปต์ การปรับให้สคริปต์วิ่งเร็วสุดจะไม่ทำงาน ดังนั้น สคริปต์ในบางไซต์จะดำเนินการช้ากว่า
  • การแสดงสมการเลขบางอย่างจะไม่ทำงาน
  • การแสดงฟอนต์บางอย่างจะไม่ทำงาน
  • จาวาสคริปต์จะไม่ทำงานโดยปริยายสำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ใช้เอชทีทีพีเอส

3. สูง - ในระดับนี้ มีความเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

  • วิดีโอของ "เอชทีเอ็มแอล5" และสื่อเสียง จะต้องคลิกเพื่อเล่น นี่เป็นการควบคุมของ NoScript
  • เมื่อกำลังเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ใช้จาวาสคริปต์ การปรับให้สคริปต์วิ่งเร็วสุดจะไม่ทำงาน ดังนั้น สคริปต์ในบางไซต์จะดำเนินการช้ากว่า
  • การแสดงสมการเลขบางอย่างจะไม่ทำงาน
  • การแสดงฟอนต์บางอย่างจะไม่ทำงาน
  • จาวาสคริปต์จะไม่ทำงานโดยปริยายสำหรับทุก ๆ เว็บไซต์
  • ภาพบางชนิดจะไม่แสดง
  • ฟอนต์บางอย่างและไอคอน/สัญรูปบางอย่างอาจแสดงอย่างไม่ถูกต้อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม) http://50.21.181.236/congress/2015/h264-sd/32c3-73... http://www.gq.com.au/entertainment/tech/the+new+ma... http://www.scmagazine.com.au/News/246707,egyptians... http://www.smh.com.au/news/security/the-hack-of-th... http://www.fims.uwo.ca/news/2016/library_in_fims_j... http://pro.01net.com/editorial/544024/des-chercheu... http://arstechnica.com/security/2014/04/tor-networ... http://arstechnica.com/security/2014/07/russia-pub... http://arstechnica.com/security/2014/07/tor-develo... http://arstechnica.com/security/2016/08/building-a...