การทำให้เกิดผล ของ ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม)

การทำให้เกิดผลหลักของทอร์เขียนด้วยภาษาซี ไพทอน จาวาสคริปต์ และอื่น ๆ โดยมีรหัสต้นฉบับที่ 540,751 บรรทัด โดยเดือนมีนาคม 2016[2]

ทอร์เบราว์เซอร์
(Tor Browser)
ทอร์เบราว์เซอร์บนลินุกซ์มินต์แสดงหน้าเริ่มต้น คือ about:tor
ผู้พัฒนาโปรเจ็กต์ทอร์
ระบบปฏิบัติการ
Engineเกกโก
ขนาด32-53 เมกะไบต์
มีใน16 ภาษา[137]
สถานะการพัฒนายังดำเนินการอยู่
ประเภทการจัดเส้นทางแบบหัวหอม, สภาวะนิรนาม, เว็บเบราว์เซอร์, ฟีดรีดเดอร์
ลิขสิทธิ์GPL
เว็บไซต์www.torproject.org/projects/torbrowser.html

ทอร์เบราว์เซอร์

ทอร์เบราว์เซอร์ (Tor Browser, เคยเรียกว่า Tor Browser Bundle)[138]เป็นผลิตภัณฑ์หลักของโปรเจ็กต์ทอร์ซึ่งประกอบด้วย[139][13]

ผู้ใช้สามารถใช้ทอร์เบราว์เซอร์จากสื่อบันทึกที่เอาออกได้โดยมีรุ่นสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส, และลินุกซ์[140]

ทอร์เบราว์เซอร์จะเริ่มกระบวนการพื้นหลังโดยอัตโนมัติ แล้วจัดเส้นทางส่งการสื่อสารผ่านเครือข่ายทอร์เมื่อยุติการใช้ เบราว์เซอร์จะลบข้อมูลส่วนตัว เช่น เอชทีทีพีคุกกี้และประวัติการเยี่ยมชมเว็บไซต์[13]หลังจากการเปิดเผยเหตุการณ์สอดแนมทั่วโลกของสหรัฐและประเทศพันธมิตรในเดือนพฤศจิกายน 2013 นักข่าวของสำนักข่าวเดอะการ์เดียน ได้แนะนำให้ใช้ทอร์เบราว์เซอร์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดักฟังและรักษาความเป็นส่วนตัวเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต[73]

การโจมตีไฟร์ฟอกซ์

ในปี 2011 เจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่กำลังตรวจสอบคดีสื่อลามกอนาจารเด็กได้พบที่อยู่ไอพีของบริการซ่อนของทอร์ที่เรียกว่า "Pedoboard" จากบัญชีผู้ดูแลระบบที่ไม่ได้ใส่รหัสผ่าน แล้วให้ข้อมูลแก่สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) ผู้ติดตามที่อยู่ไปยังนายอารอน แม็คแกร็ธหลังจากการสอดส่องอีกปีหนึ่ง เอฟบีไอจึงได้เริ่มปฏิบัติการตอร์ปิโดซึ่งเข้าจับกุมนายแม็คแกร็ธ และเปิดโอกาสให้เอฟบีไอติดตั้งเทคนิกการตรวจสอบ (NIT) บนเซิร์ฟเวอร์เพื่อดึงข้อมูลจากผู้ใช้บริการซ่อน 3 แห่งที่นายแม็คแกร็ธเป็นผู้ควบคุม[141] เทคนิคนี้ถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของไฟร์ฟอกซ์หรือทอร์เบราว์เซอร์ที่ได้แพตช์แล้วแต่ผู้ใช้ยังไม่ได้อัปเดต ทำให้แอ็ปของอะโดบี แฟลชที่ฝังไว้ในหน้าเว็บส่งที่อยู่ไอพีของผู้ใช้กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของเอฟบีไอ[142][143][144][145]และเปิดเผยผู้ใช้อย่างน้อย 25 คนในสหรัฐอเมริกาและอีกจำนวนมากในประเทศอื่น ๆ[146]นายแม็คแกร็ธถูกตัดสินจำคุก 20 ปีในต้นปี 2014 โดยมีผู้ใช้ในสหรัฐอีกอย่างน้อย 18 คนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงทางความปลอดภัยไซเบอร์ของรัฐบาลกลางสหรัฐ ที่ถูกพิพากษาลงโทษต่อ ๆ มา[147][148]

ในเดือนสิงหาคม 2013 ได้พบว่าเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์ที่เคยแจกร่วมเป็นส่วนของทอร์เบราว์เซอร์บางรุ่นเสี่ยงต่อการโจมตีด้วยจาวาสคริปต์ เพราะโปรแกรมเสริม NoScript ไม่ได้เปิดโดยอัตโนมัติ[16]ผู้โจมตีสามารถใช้จุดอ่อนนี้ในการเค้นเอาเลขที่อยู่ MAC เลขที่อยู่ไอพี และชื่อวินโดวส์คอมพิวเตอร์[111][112][113]

มีรายงานข่าวที่เชื่อมการโจมตีชนิดนี้กับปฏิบัติการของเอฟบีไอ ที่ตามจับเจ้าของบริษัทเว็บโฮสต์ Freedom Hosting (คือ นาย Eric Eoin Marques) เนื่องกับหมายจับที่ออกโดยศาลสหรัฐในวันที่ 29 กรกฎาคม[ต้องการอ้างอิง]เอฟบีไอกำลังร้องให้ส่งผู้ร้ายจากประเทศไอร์แลนด์ไปยังรัฐแมริแลนด์ในข้อหา 4 กระทง คือ แจกจ่าย สมรู้ร่วมคิดเพื่อแจกจ่าย โฆษณาสื่อลามกอนาจารเด็ก และช่วยเหลือสนับสนุนการโฆษณาสื่อลามกอนาจารเด็กหมายจับอ้างว่านาย Marques เป็น "ผู้อำนวย (การค้าขายแลกเปลี่ยน) สื่อลามกอนาจารเด็กมากที่สุดในโลก"[149][150]เอฟบีไอได้ยอมรับว่าเป็นผู้โจมตีในคำร้องต่อศาลในเมืองดับลินเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2013[151]ปฏิบัติการต่อมาถูกเปิดเผยอาศัยการเปิดโปงของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนว่ามีชื่อรหัส "EgotisticalGiraffe"[152]

ทอร์เมสเซนเจอร์
(Tor Messenger)
ผู้พัฒนาโปรเจ็กต์ทอร์
วันที่เปิดตัว29 ตุลาคม 2015; 5 ปีก่อน (2015-10-29)[153]
รุ่นทดลอง0.4.0b2[154] / 31 มีนาคม 2017; 3 ปีก่อน (2017-03-31)
สถานะการพัฒนายังดำเนินการอยู่
เขียนบนC/C++, จาวาสคริปต์, CSS, XUL
ระบบปฏิบัติการ
ภาษาอังกฤษ
สัญญาอนุญาต3-clause BSD License 
เว็บไซต์trac.torproject.org/projects/tor/wiki/doc/TorMessenger

ทอร์เมสเซนเจอร์

วันที่ 29 ตุลาคม 2015 โปรเจ็กต์ทอร์ได้แจกจ่ายทอร์เมสเซนเจอร์รุ่นบีตา ซึ่งเป็นโปรแกรมส่งข้อความทันทีที่ทำมาจากอินสแตนต์เบิร์ด ประยุกต์กับการใช้โพรโทคอลการเข้ารหัสลับข้อความทันที คือ OTR (Off-the-Record Messaging) โดยอัตโนมัติ[153]เหมือนกับโปรแกรมพิดจินและเอเดียม ทอร์เมสเซนเจอร์สนับสนุนโพรโทคอลส่งข้อความทันทีหลายอย่างแต่ทำโดยไม่ได้ต้องใช้คลังโปรแกรม libpurple และทำโพรโทคอลส่งข้อความทุกอย่างให้เกิดผลโดยใช้ภาษาที่ปลอดภัยในหน่วยความจำคือจาวาสคริปต์แทน[155]

โปรแกรมประยุกต์จากบุคคลที่สาม

วูซ (ก่อนหน้านี้คือ Azureus) ซึ่งเป็นโปรแกรมลูกข่ายบิตทอร์เรนต์[156]โปรแกรมส่งข้อความทันทีแบบนิรนาม Bitmessage,[157]และโปรแกรมส่งข้อความทันที TorChat ต่างก็มีระบบสนับสนุนการใช้ทอร์

โปรเจ็กต์เดอะการ์เดียน (The Guardian Project) กำลังพัฒนาชุดโปรแกรมประยุกต์และเฟิร์มแวร์แบบโอเพนซอร์ซ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของการสื่อสารผ่านอุปกรณ์มือถือ[158]รวมทั้งโปรแกรมส่งข้อความทันที ChatSecure[159],การประยุกต์ใช้เครือข่ายทอร์คือ Orbot[160],Orfox ซึ่งเป็นคู่หูของทอร์เบราว์เซอร์สำหรับอุปกรณ์มือถือ, โปรแกรมเสริมสำหรับไฟร์ฟอกซ์ ProxyMob[161]และโปรแกรมกล้องที่ปลอดภัยคือ ObscuraCam[162]

ระบบปฏิบัติการมุ่งความปลอดภัย

ระบบปฏิบัติการคล้ายลินุกซ์หลายอย่างที่มุ่งความปลอดภัยรวมทั้ง Hardened Linux From Scratch, Incognito, Libert? Linux, Qubes OS, Subgraph, Tails, Tor-ramdisk, Whonix ต่างก็ใช้ทอร์อย่างกว้างขวาง[163]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม) http://50.21.181.236/congress/2015/h264-sd/32c3-73... http://www.gq.com.au/entertainment/tech/the+new+ma... http://www.scmagazine.com.au/News/246707,egyptians... http://www.smh.com.au/news/security/the-hack-of-th... http://www.fims.uwo.ca/news/2016/library_in_fims_j... http://pro.01net.com/editorial/544024/des-chercheu... http://arstechnica.com/security/2014/04/tor-networ... http://arstechnica.com/security/2014/07/russia-pub... http://arstechnica.com/security/2014/07/tor-develo... http://arstechnica.com/security/2016/08/building-a...