สาเหตุที่นำมาสู่การชุมนุม ของ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย_พ.ศ._2551

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กลุ่มพันธมิตรฯ) เปิดโอกาสให้รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เข้ามาทำงานบริหารประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลสมัครต้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและสื่อสารมวลชนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งไม่กระทำผิดเหมือนยุครัฐบาลทักษิณ[5]

ทว่า เมื่อรัฐบาลสมัคร สุนทรเวชเข้ามาบริหารประเทศได้ระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า รัฐบาลแทรกแซงสื่อมวลชน รวมทั้งกระบวนการยุติธรรม เช่นการย้ายข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม อาทิ การย้ายสุนัย มโนมัยอุดม[6] อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่กำลังดำเนินคดีต่อทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว ให้พ้นตำแหน่งอย่างเร่งด่วน พร้อมให้ตำรวจออกหมายจับสุนัย มโนมัยอุดม เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.)[7] ในข้อหาหมิ่นประมาททักษิณ ชินวัตร และย้าย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง[8] ซึ่งมีความใกล้ชิดกับครอบครัวชินวัตร มารักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ[5] และรัฐบาลยังประกาศอย่างชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 237 และมาตรา 309 ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รวม 164 คน ได้ยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม[9] ซึ่งทางกลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการหลบเลี่ยงการกระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งที่จะนำไปสู่การยุบพรรคและต้องการยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เพื่อตัดตอนคดีความที่กำลังดำเนินต่อทักษิณ ชินวัตร ครอบครัวและพวกพ้อง ตลอดจน ทำให้กระบวนการตรวจสอบนักการเมืองอ่อนแอลงจนไม่สามารถตรวจสอบฝ่ายการเมืองได้[10][11]

นอกจากนี้ ทางกลุ่มพันธมิตรฯ ยังเห็นว่าได้เกิดขบวนการคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง เช่น กรณีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศน์ ของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เพื่อขับไล่ให้ออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี และจาบจ้วงอย่างเสียหาย[12] อีกทั้งรัฐมนตรีบางคนและโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี "มีทัศนคติเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มาเข้าร่วมบริหารงานในรัฐบาล"[13]ซึ่งหมายถึง จักรภพ เพ็ญแข และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ดังนั้น อดีตแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯ จึงมีมติฟื้นสภาพโครงสร้างการบริหารงานของกลุ่มขึ้นอีกครั้ง เพื่อเตรียมชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร และมีมติให้เคลื่อนไหวครั้งที่ 1 โดยการจัดสัมมนารายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ” ในวันที่ 28 มีนาคม[14] และอีกครั้งในรายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ ครั้งที่ 2” ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[15] และประกาศจัดการชุมนุมใหญ่ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม เป็นต้นไป

ใกล้เคียง

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2554 การชุมนุมโค่นล้มระบอบทักษิณ พ.ศ. 2556 การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย_พ.ศ._2551 http://special.bangkokbiznews.com/detail.php?id=23... http://www.bangkokbiznews.com/2008/06/20/news_2688... http://www.bangkokbiznews.com/2008/12/02/news_3168... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/495111 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/773876 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/802974 http://www.bangkokpost.com/News/07Jun2008_news05.p... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://www.bangkokpost.com/topstories/topstories.p...