นโยบายต่างประเทศ ของ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ_ชินวัตร

นายกรัฐมนตรีทักษิณและกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช พบกันในฐานะมิตรสหายครั้งสมัยเรียนมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต เมื่อ 14 ธันวาคม 2544

นโยบายต่างประเทศของทักษิณมีลักษณะเป็นการทูตเชิงธุรกิจ[52] จากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2540 ทำให้ทักษิณหันไปให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และยังชูกระแสชาตินิยมและเอเชียนิยม ตลอดจนแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อตะวันตก ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกค่อนข้างห่างเหิน จนทำให้ในช่วงแรกๆของการดำรงตำแหน่งนายกฯ นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวลว่ารัฐบาลทักษิณมีแนวคิดต่อต้านการลงทุนจากต่างชาติและเป็นพวกชาตินิยม[52] จนทักษิณต้องทำการชี้แจงต่อนักลงทุนต่างชาติ

ไทยได้ลงนามข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศในสมัยทักษิณ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย, บังกลาเทศ, พม่า, ศรีลังกา, บาห์เรน, เปรู, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ นอกจากนี้ยังมีความพยายามลงนาม FTA กับสหรัฐอเมริกาแต่ถูกต่อต้านจนต้องล่มไป

ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา

หลังเกิดวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทักษิณจำยอมต้องเดือนทางเยือนสหรัฐ และได้มีแถลงการณ์ร่วมกับสหรัฐว่าไทยเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ และจะให้ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย และได้ลงนามในสนธิสัญญากับสหรัฐจำนวน 12 ฉบับ ทำให้ความสัมพันธ์กับสหรัฐพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทักษิณมีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงมาตรการต่างๆที่จะทำให้ไทยตกเป็นเป้าของกลุ่มก่อการร้ายได้ ยุทธศาสตร์ "พรางตัวทางการทูต" เช่นนี้ของไทยทำให้สหรัฐไม่ค่อยพอใจ มองว่าไทยไม่เต็มใจที่จะช่วยสหรัฐ

เมื่อสงครามอิรักปะทุขึ้น ทักษิณจึงจำยอมต้องส่งทหารไทย 423 นายเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ทางสหรัฐพอใจ และให้สถานะพันธมิตรหลักนอกนาโตแก่ประเทศไทยในพ.ศ. 2546

การทูตเชิงอำนาจนำ

กรอบความร่วมมือเอเชียที่มีไทยเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำ

รัฐบาลทักษิณยังมีความทะเยอทะยานในการนำไทยเป็นผู้นำภูมิภาค โดยได้จัดตั้งกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประเทศในแถบเอเชียให้สนับสนุนกันเอง[53] โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 18 ประเทศ ถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีไทยเป็นผู้นำ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มเจ้าพระยาและอิรวดี เป็นนโยบายที่ไทยชูความเป็นผู้นำโดยการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ลาวและพม่า[53] และจากความสัมพันธ์กับสหรัฐที่พัฒนาขึ้น ทำให้ทักษิณได้ขอแรงสนับสนุนจากสหรัฐในการช่วยล็อบบี้ประเทศต่างๆให้สนับสนุนนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ลงชิงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 9

ใกล้เคียง

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา การดำน้ำสกูบา การดำน้ำ การดำเนินการ (คณิตศาสตร์) การดำน้ำในถ้ำ การดำเนินการพีชคณิต การดำเนินการเอกภาค

แหล่งที่มา

WikiPedia: การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ_ชินวัตร http://www.bangkokbiznews.com/viewNews.jsp?newsid=... http://www.economist.com/world/asia/displaystory.c... http://gallery.marihemp.com/akha http://nationmultimedia.com/2006/10/05/opinion/opi... http://nationmultimedia.com/2006/12/25/headlines/h... http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?... http://www.nationmultimedia.com/2006/03/23/politic... http://www.nationmultimedia.com/2006/03/30/busines... http://www.nationmultimedia.com/Election2005/news/... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=940...