รูปแบบการตายของเนื้อเยื่อ ของ การตายเฉพาะส่วน

ลักษณะการตายเฉพาะส่วนของเนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 7 รูปแบบเด่นๆ ได้ดังนี้

  • Coagulative necrosis ลักษณะเนื้อตายแน่น แข็ง ซีด เนื้อเยื่อที่ตายเห็นขอบเขตชัดเจน เซลล์ในบริเวณเนื้อตายจะคงโครงรูปเอาไว้ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์[1] พบได้จากภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) , ม้ามขาดเลือด (splenic infarction)
  • Liquefactive necrosis ลักษณะเนื้อตายยุ่ย นุ่ม เหลว เซลล์ในบริเวณนี้จะไม่เหลือโครงสร้างของเนื้อเยื่อเดิมไว้[1] มักจะเกี่ยวข้องกับการทำลายเซลล์และการเกิดหนอง (pus) เช่น โรคปอดบวม (pneumonia) ซึ่งทั่วไปแล้วเกี่ยวกับการติดเชื้อแบคทีเรียหรือราเพราะเป็นเชื้อจุลชีพก่อโรคที่สามารถกระตุ้นการอักเสบได้ อย่างไรก็ตามการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemia) ของสมองสามารถทำให้เกิดการตายแบบนี้มากกว่าเกิดการตายแบบ coagulative necrosis เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองไม่มีโครงสร้างที่ช่วยค้ำจุน
  • Gummatous necrosis เป็นลักษณะเนื้อตายเฉพาะที่เกี่ยวกับการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเกลียว (spirochaet) เช่น ซิฟิลิส
  • Haemorrhagic necrosis เป็นเนื้อตายเฉพาะส่วนจากการอุดกั้นของการระบายเลือดดำของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ ทำให้มีเลือดออกนอกช่องทางเดินเลือดหรือหลอดเลือด[1] เช่น การบิดของอัณฑะ (testicular torsion) หรือเมื่อลำไส้ขาดเลือด
  • Caseous necrosis เป็นลักษณะการตายแบบ coagulation necrosis ที่จำเพาะต่อเชื้อไมโคแบคทีเรีย (mycobacteria) (เช่นวัณโรค) , เชื้อรา, และวัตถุแปลกปลอมบางชนิด บริเวณที่ตายจะออกสีเหลืองเหมือนเนย ไม่เป็นช่องว่าง ในกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเป็นปื้นสีชมพู[1] อาจกล่าวได้ว่าเป็นการตายรูปแบบผสมระหว่าง coagulative และ liquefactive necroses
  • Fat necrosis เป็นผลจากการทำงานของเอนไซม์ไลเปสย่อยเนื้อเยื่อไขมัน ลักษณะเนื้อตายเป็นสีเหลืองซีด อาจเห็นจุดขาวคล้ายชอล์ค ในกล้องจุลทรรศน์จะเห็นบริเวณเซลล์ไขมันที่ถูกเอนไซม์ย่อยเป็นปื้นสีชมพูอมม่วง ในขณะที่เซลล์ที่ตายแบบไม่มีเอนไซม์ย่อยจะเห็นเซลล์ไขมันเสื่อมปะปนกับฮิสติโอไซต์ (histiocyte) ในบางครั้งอาจพบปฏิกิริยาการเปลี่ยนเป็นสบู่ (saponification) ในเนื้อเยื่อได้[1] พบในตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และการตายของเนื้อเยื่อเต้านม
  • Fibrinoid necrosis เกิดจากการทำลายผนังหลอดเลือดจากผลของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการสะสมของสารโปรตีนที่ดูคล้ายไฟบริน (fibrin-like) ในผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเมื่อย้อมดูใต้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นลักษณะเป็นปื้นสีชมพูติดสีกรด (eosinophilic)

ใกล้เคียง

การตายเฉพาะส่วน การตายปริกำเนิด การตายของซูเปอร์แมน การตาย การตายแบบอะพอพโทซิส การตายคลอด การตั้งชื่อทวินาม การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ การตั้งครรภ์ กาตาร์แอร์เวย์