เกี่ยวกับสภาพอากาศ ของ การติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์

  • ถ้าหันสายอากาศทิศทางที่มี Beam width 15 องศา/-3 dB ไปที่ดวงจันทร์ และส่งสัญญาณขึ้นไป ประมาณ 0.1% ของสัญญาณจะกระทบผิวดวงจันทร์ และอีก 99.9% จะหลุดหายไปในอวกาศ (ไม่ถูกดวงจันทร์)
  • ดวงจันทร์จะสะท้อนสัญญาณกลับประมาณ 7% ของสัญญาณที่กระทบผิวดวงจันทร์
  • อัตราการสูญเสียระหว่างทาง (Path Loss) จากโลกไปดวงจันทร์และกลับมายังโลกอีกครั้ง (Earth-Moon-Earth) มีค่าประมาณ 252.5 dB ที่ความถี่ 144 MHz (อัตราการสูญเสีย 3dB หมายถึงสูญเสียไปประมาณ 50% หรือส่งไป 10 วัตต์จะเหลือประมาณ 5 วัตต์เท่านั้น) ซึ่งอัตราการสูญเสียนี่จะเปลี่ยนไปในแต่ละเดือน เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 dB
  • การเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของคลื่นวิทยุจะมีการเปลี่ยน Polarization ซึ่งคาดเดาไม่ได้ ทำให้มีการสูญเสียอีกประมาณ 20-30 dB
  • Cosmic noise หรือ Sky noise ที่ความถี่ต่ำว่า 1000 MHz จะมีค่าอยู่ระหว่าง 150 – 7000 แคลวิน ซึ่งการที่จะติดต่อ EME ได้สำเร็จในย่าน 144 MHz Sky noise จะต้องต่ำกว่า 500 แคลวิน
  • การเดินทางของคลื่นวิทยุจากโลกไปยังดวงจันทร์และกลับมายังโลกอีกครั้งใช้เวลาประมาณ 2.5 วินาที
  • Phase หรือเห็นดวงจันทร์ไม่เต็มดวง ไม่มีผลใดๆ สำหรับการติดต่อ EME

ข้อมูลเกี่ยวกับดวงจันทร์ต่างๆ เหล่านี้ นับว่าสำคัญมากสำหรับการติดต่อสื่อสาร EME ให้ประสบความสำเร็จ นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่จะต้องมีความพร้อมอย่างมากแล้ว

ใกล้เคียง

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดยาเบ็นโซไดอาเซพีน การติดตามด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การติดเกม การติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดเชื้อ การติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติด การติดตาม (การลูกเสือ)