การตีฝ่าช่องแคบ
การตีฝ่าช่องแคบ

การตีฝ่าช่องแคบ

การตีฝ่าช่องแคบ (อังกฤษ: Channel Dash) หรือ ปฏิบัติการเซอร์เบอรัส (เยอรมัน: Unternehmen Zerberus) เป็นปฏิบัติการทางทะเลของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือเยอรมัน) กองเรือรบประกอบด้วยเรือประจัญบานสองลำคือเรือประจัญบานชั้นชาร์นฮอสท์, เรือลาดตระเวนหนัก พรินซ์ ยูจีน และเรือคุ้มกัน ได้แล่นเรือเข้าหาแนวปิดกั้นของอังกฤษจากแบร็สต์ในแคว้นเบรอตาญ เรือชาร์นฮอสท์และไกเซเนา ได้เดินทางถึงแบร็สต์ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1941 ภายหลังจากประสบความสำเร็จในปฏิบัติการเบอร์ลินในมหาสมุทรแอตแลนติก การโจมตีฉาบฉวยต่อต้าน-พาณิชย์ที่ห่างไกลได้ถูกวางแผน (จนกระทั่งปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941) และเรือได้ใช้อู่ต่อเรือที่แบร็สต์เพื่อประกอบตกแต่งใหม่และซ่อมแซม พวกเขาได้แสดงให้เห็นว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อขบวนเรือขนส่งสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรบนมหาสมุทรแอตแลนติก หนึ่งในการโจมตีฉาบฉวยทางอากาศที่ได้ถูกดำเนินโดยกองทัพอากาศหลวง (RAF) เข้าปะทะกับสองเรือรบ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 (และได้มุ่งเป้าหมายไปที่เรือพรินซ์ ยูจีน ซึ่งได้ปรากฏตัวเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1941) ด้วยความเสียหายอย่างหนักที่ได้เกิดขึ้นบนเรือไกเซเนา เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1941 และบนเรือชาร์นฮอสท์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1941หลังจากได้แยกย้ายไปยัง La Pallice การซ่อมแซมจากความเสียหายในครั้งนี้ได้เสร็จสิ้นลงในเดือนสิงหาคม ได้มีการพิจารณาคำนึงถึงการให้อพยพเรือ ในปลายปี ค.ศ. 1941 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งต่อกองบัญชาการใหญ่กองทัพเรือเยอรมัน (OKM) เพื่อวางแผนปฏิบัติการเพื่อการเดินทางกลับของกองเรือไปยังฐานทัพเยอรมัน เพื่อตอบโต้กลับที่น่าจะเป็นไปได้ของการรุกรานนอร์เวย์ของอังกฤษ การประชุมได้ถูกจัดขึ้นในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 สำหรับการวางแผนขั้นตอนสุดท้ายของปฏิบัติการ เส้นทางที่สั้นที่สุดบนช่องแคบอังกฤษได้เป็นที่นิยมเพื่อเป็นทางอ้อมบนรอบเกาะอังกฤษ เพื่อใช้ประโยชน์จากความประหลาดใจและจากการคุ้มกันทางอากาศโดยลุฟท์วัฟเฟอและเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1942 ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งจากปฏิบัติการให้ดำเนินการฝ่ายอังกฤษได้ใช้ประโยชน์จากการถอดรหัสลับจากเครื่องวิทยุรหัสข้อความลับของเยอรมันอย่างเครื่องอินิกมา การลาดตะเวนทางอากาศโดยหน่วยถ่ายภาพการลาดตระเวนแห่งกองทัพอากาศหลวง (Photographic Reconnaissance Unit-PRU) และสายลับในฝรั่งเศสที่ดำเนินการโดยราชการข่าวกรองลับ(MI6) ของอังกฤษ เพื่อจับตาดูเรือและรายงานถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของอังกฤษ ปฏิบัติการฟลูเลอร์ การประสานงานร่วมกันระหว่างราชนาวี-RAF ในแผนฉุกเฉิน ได้ถูกคิดขึ้นเพื่อตอบโต้การโจมตีโดยเรือเยอรมันต่อขบวนเรือขนส่งสินค้าบนแอตแลนติก การกลับไปที่ท่าเรือเยอรมันโดยแล่นเรือรอบเกาะอังกฤษหรือรีบแล่นผ่านช่องแคบอังกฤษ ด้วยความตั้งใจของเรืออังกฤษในน่านทะเลใต้ได้ถูกยับยั้งโดยความจำเป็นที่จะต้องเก็บเรือไว้ที่ Scapa Flow ในสก็อตแลนด์ ในกรณีของการโจมตีโดยเรือประจัญบานเทียร์พิตส์จากนอร์เวย์ กองทัพอากาศหลวงจำเป็นที่จะต้องถอดถอนฝูงเครื่องบินจากการทิ้งระเบิดและกองบัญชาการชายฝั่งเพื่อหน้าที่โพ้นทะเลและเก็บระเบิดตอร์ปิโดในสกอตแลนด์ที่เตรียมพร้อมสำหรับเทียร์พิตส์ ซึ่งขีดจำกัดความสามารถในการรวบรวมเครื่องบินจำนวนมากเพื่อเข้าปะทะการพุ่งชนช่องแคบ เช่นเดียวกับสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวซึ่งจะทำให้ลดวิสัยทัศน์ และสนามบินที่ถูกปิดกั้นด้วยหิมะเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เรือของครีคส์มารีเนอได้ออกจากแบร็สต์ เวลา 9 นาฬิกา 14 นาที และสามารถหลบหนีจากการตรวจจับได้นานกว่าสิบสองชั่วโมง เข้าใกล้กับช่องแคบโดเวอร์โดยไม่มีการตรวจพบ ลุฟท์วัฟเฟอได้ดำเนินปฏิบัติการทันเดอร์โบท (Unternehmen Donnerkeil) เพื่อเตรียมการคุ้มกันทางอากาศและเรือที่อยู่ใกล้โดเวอร์ อังกฤษได้เริ่มปฏิบัติการเข้าปะทะเรือเยอรมัน กองทัพอากาศหลวง กองเรืออาร์มอากาศ (Fleet Air Arm) กองทัพเรือและปืนใหญ่ชายฝั่ง ปฏิบัติการได้ล้มเหลวอย่างราคาแพง แต่ชาร์นฮอสท์และไกเซเนาได้ถูกยิงเข้าที่ทุ่นระเบิดในทะเลเหนือและได้รับความเสียหาย (ชาร์นฮอสท์ได้ถูกปลดออกจากภารกิจเป็นเวลาหนึ่งปี) โดยวันที่ 13 กุมภาพันธ์ เรือได้เดินทางกลับถึงท่าเรือเยอรมันอย่างปลอดภัย วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษรู้สึกไม่พอใจที่ไม่สามารถจมเรือเยอรมันได้ ทั้งๆที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมจึงได้สั่งให้มีการสอบสวนอย่างโกลาหลและหนังสือพิมพ์ข่าวเดอะไทมส์ได้ประณามถึงความล้มเหลวของอังกฤษ ครีคส์มารีเนอได้วิพากษวิจารณ์ถึงปฏิบัติการที่ได้รับนั้นประสบความสำเร็จทางยุทธวิธีและความล้มเหลวเชิงกลยุทธ์ โดยแลกกับการคุกคามขบวนเรือเรือขนส่งสินค้าแอตแลนติกโดยเรือบนผิวน้ำของเยอรมันเพื่อตั้งข้อสงสัยถึงการคุกคามนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ เรือพรินซ์ ยูจีนได้มีชัยทางยุทธนาวีในนอร์เวย์ ได้รับการซ่อมแซม และใช้เวลาที่เหลือของสงครามในทะเลบอลติก เรือไกเซเนาได้เข้าสู่อู่ต่อเรือแห้งและถูกทิ้งระเบิดในคืนวันที่ 26/27 กุมภาพันธ์ ไม่เคยได้แล่นเรืออีกเลย ส่วนเรือชาร์นฮอสท์ได้ถูกจมลงในยุทธการที่แหลมเหนือ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1943

การตีฝ่าช่องแคบ

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่11–13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942
สถานที่ช่องแคบอังกฤษ
ผลลัพธ์เยอรมันชนะ
สถานที่ ช่องแคบอังกฤษ
ผลลัพธ์ เยอรมันชนะ
วันที่ 11–13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942

ใกล้เคียง

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410) การตีบ การตีโฉบฉวยเดียป การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์ การตีฝ่าช่องแคบ การตีความฝัน (หนังสือ) การตีโฉบฉวยหมู่เกาะมาร์แชลล์–กิลเบิร์ต การตีโฉบฉวยที่คาบานาตวน การตีพิมพ์แบบเลือก