การตีโฉบฉวยดูลิตเติล
การตีโฉบฉวยดูลิตเติล

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล (อังกฤษ: Doolittle Raid) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การตีโฉบฉวยกรุงโตเกียว เป็นการตีโฉบฉวยทางอากาศ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 1942 โดยสหรัฐอเมริกา บนน่านฟ้าเหนือกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นและสถานที่อื่นๆบนเกาะฮนชูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นปฏิบัติการทางอากาศครั้งแรกเพื่อการโจมตีหมู่เกาะญี่ปุ่น ได้แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่นั้นอ่อนแอต่อการโจมตีทางอากาศของอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่เป็นการตอบโต้จากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจต่อประชาชนชาวอเมริกัน การตีโฉบฉวยครั้งนี้ได้ถูกวางแผนเอาไว้ ภายใต้การนำโดย และตั้งชื่อมาจากนายพล เจมส์ "จิมมี่" ดูลิตเติล แห่งกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง บี-25บี มิตเชลล์ จำนวน 16 ลำ ได้เปิดฉากด้วยการบินโดยปราศจากเครื่องบินขับไล่ในคุ้มกัน จากดาดฟ้าเรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐ ยูเอสเอส ฮอร์เนต ที่จอดบนทะเลน้ำลึกในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก แต่ละลำถูกบรรจุด้วยนักบินห้าคน  แผนดังกล่าวได้ออกคำสั่งให้พวกเขาทำการทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายทางทหารในญี่ปุ่นและบินต่อเนื่องไปยังทางตะวันตกเพื่อไปถึงแผ่นดินจีน  การตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดได้สังหารไปประมาณ 50 คน รวมทั้งพลเรือน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 400 คน เครื่องบินทั้งสิบห้าลำได้บินไปถึงจีนได้สำเร็จ แต่ทั้งหมดได้บินตก ในขณะที่เครื่องบินลำที่ 16 ลงจอดที่วลาดีวอสตอคในสหภาพโซเวียต นักบิน 80 นาย มีผู้รอดชีวิต 77 นายในภารกิจ นักบินแปดนายถูกจับกุมโดยกองทัพญี่ปุ่นในจีน; อีกสามนายได้ถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา เครื่องบินบี-25 ที่ลงจอดในสหภาพโซเวียตได้ถูกยึดและนักบินได้ถูกกักตัวไว้เป็นเวลานานกว่าหนึ่งปีก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้"หลบหนี"ผ่านทางอิหร่านภายใต้การยึดครองของโซเวียตด้วยความช่วยเหลือของหน่วยเอ็นเควีดี นักบินทั้งหมดในเครื่องบินทั้งสิบสี่ลำได้เดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกาหรือไม่ก็ไปยังกองทัพสหรัฐ ยกเว้นเพียงนักบินหนึ่งนายได้เสียชีวิตในปฏิบัติหน้าที่[1][2]การตีโฉบฉวยครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยต่อญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจในสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันได้ทำให้เกิดความเคลือบแคลงในญี่ปุ่นเกี่ยวกับความสามารถของผู้นำทางทหารเพื่อปกป้องเกาะแผ่นดินบ้านเกิด แต่การทิ้งระเบิดและยิงกราดใส่พลเรือนยังทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเพื่อเป็นการล้างแค้นและครั้งนี้ได้ใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการโฆษณาชวนเชื่อ[3] นอกจากนี้ยังได้ผลักดันแผนการของพลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ เพื่อเข้าโจมตีเกาะมิดเวย์ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ซึ่งเป็นการโจมตีที่ได้ทำให้กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องพ่ายแพ้อย่างราบคาบโดยกองทัพเรือสหรัฐในยุทธการที่มิดเวย์ ผลลัพธ์ที่ตามมาคือความรู้สึกที่รุนแรงอย่างมากในจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ทำการแก้แค้นจึงทำให้เกิดการเสียชีวิตของพลเรือน 250,000 คน และทหาร 70,000 นาย[4]ดูลิตเติลได้คิดเอาไว้แต่แรกแล้วว่า การสูญเสียเครื่องบินทั้งหมดนั้นจะทำให้ตัวเขาเองต้องถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร แต่เขากลับได้รับการปูนบำเหน็จด้วยมีเดล ออฟ ฮอนเนอร์ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งยศสองขั้นเป็นนายพลจัตวา

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่18 เมษายน 1942
สถานที่กรุงโตเกียว และเมืองอื่น ๆ ในญี่ปุ่น
ผลลัพธ์
  • การตีโฉบฉวยครั้งแรกบนแผ่นดินญี่ปุ่น
  • ไม่มีชัยชนะทางยุทธวิธีอย่างมีนัยสำคัญ
  • สหรัฐอเมริกามีกำลังใจฮึกเหิมมากขึ้น
สถานที่ กรุงโตเกียว และเมืองอื่น ๆ ในญี่ปุ่น
ผลลัพธ์
  • การตีโฉบฉวยครั้งแรกบนแผ่นดินญี่ปุ่น
  • ไม่มีชัยชนะทางยุทธวิธีอย่างมีนัยสำคัญ
  • สหรัฐอเมริกามีกำลังใจฮึกเหิมมากขึ้น
วันที่ 18 เมษายน 1942

ใกล้เคียง

การตีโฉบฉวยดูลิตเติล การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410) การตีบ การตีโฉบฉวยเดียป การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์ การตีฝ่าช่องแคบ การตีความฝัน (หนังสือ) การตีโฉบฉวยหมู่เกาะมาร์แชลล์–กิลเบิร์ต การตีโฉบฉวยที่คาบานาตวน การตีพิมพ์แบบเลือก