การต่อสู้ระหว่างชนชั้นหลัก ของ การต่อสู้ระหว่างชนชั้น

การวิเคราะห์สังคมตามแบบลัทธิมากซ์ชี้ให้เห็นถึงกลุ่มทางสังคมสองกลุ่มหลัก ได้แก่

  • ชนชั้นแรงงาน (ชนชั้นกรรมาชีพหรือกรรมกร) รวมไปถึงทุกคนซึ่งหารายได้เพื่อดำเนินชีวิตโดยการขายแรงงานของตน และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือนสำหรับเวลาทำงาน พวกเขามีทางเลือกน้อยมากนอกจากจะต้องทำงานเพื่อแลกกับเงิน เพราะไม่สามารถมีหนทางเสรีในการมีชีวิตอยู่ได้
  • คนร่ำรวย (ชนชั้นนายทุนหรือนักทุนนิยม) รวมไปถึงทุกคนซึ่งมีรายได้ที่ไม่ได้มาจากแรงงานของตนเองมากเท่ากับผลกำไรที่จัดสรรมาจากกรรมกรผู้ซึ่งสร้างความมั่งคั่งแท้จริง ดังนั้น รายได้ของนักทุนนิยมจึงตั้งอยู่บนการขูดรีดเหล่ากรรมกร (ชนชั้นกรรมาชีพ)

มากซ์ชี้ว่าสมาชิกของชนชั้นในสองชนชั้นหลักนี้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ชนชั้นหรือผลประโยชน์ร่วมกันของชนชั้นหนึ่งขัดแย้งกับชนชั้นหรือผลประโยชน์ของอีกชนชั้นหนึ่งทั้งหมด จึงหมายความว่า ความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งของสมาชิกแต่ละคนในชนชั้นที่แตกต่างกันด้วยเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างของการอธิบายนี้ เช่น โรงงานหนึ่งผลิตโภคภัณฑ์ อย่างเช่น การผลิต widget (โภคภัณฑ์สมมุติซึ่งมักพบได้บ่อยในหนังสือเศรษฐศาสตร์) เงินบางส่วนที่ได้รับจากการขาย widget จะถูกจัดสรรไปซื้อวัตถุดิบและเครื่องจักรกล (ทุนคงที่) เพื่อที่จะผลิต widget ให้มากขึ้น ในทำนองเดียวกัน เงินบางส่วน (ทุนแปรผัน) จะจ่ายเป็นค่ากำลังแรงงานของกรรมกร นักทุนนิยมจะไม่สามารถอยู่ได้ในธุรกิจหากปราศจากผลกำไร นั่นคือ เงินที่ได้มาจากการขาย widget ที่เกินกว่ารายจ่ายทุนคงที่และทุนแปรผัน ปริมาณของผลกำไร รายได้ ดอกเบี้ย และค่าเช่า จะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้แรงงานที่ทำงานแลกกับค่าจ้างนั้น หรือปริมาณเงินเดือนที่พวกเขาได้รับ ตลอดจนปริมาณรายรับที่ได้จากการขายผลิตภัณฑ์

การต่อสู้ระหว่างชนชั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นความรุนแรงหรือสุดโต่งไปเสียทั้งหมด (ดังเช่น การนัดหยุดงานทั่วไปและการปิดงาน) การเป็นปฏิปักษ์ระหว่างชนชั้นนี้อาจแสดงออกมาในรูปขวัญกำลังใจที่ต่ำของกรรมกรแทน หรือการก่อวินาศกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และการลักขโมย การละเมิดอำนาจเล็กน้อยของกรรมกรรายบุคคล ไปจนถึงการไม่เปิดเผยข้อมูล นอกจากนี้ยังอาจถูกแสดงออกมาในรูปแบบที่ใหญ่กว่าโดยการสนับสนุนพรรคการเมืองสังคมนิยมหรือประชานิยม ส่วนทางฝ่ายนายจ้าง การวิ่งเต้นให้ออกกฎหมายต่อต้านสหภาพแรงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น

การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนั้นไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อทุนนิยมไปเสียทั้งหมด หรือแม้กระทั่งต่ออำนาจของนักทุนนิยมแต่ละคน การต่อสู้แคบ ๆ เพื่อเรียกร้องให้จ่ายค่าจ้างสูงขึ้นโดยชนชั้นแรงงานกลุ่มเล็ก ๆ (ซึ่งมักถูกเรียกว่า "เศรษฐกิจกำหนด", economism) แทบจะไม่คุกคามต่อสถานะเดิมแต่อย่างใด อันที่จริง โดยการใช้ยุทธวิธี "สหภาพแรงงานช่างฝีมือ" การต่อสู้นอกเหนือไปจากเรื่องทางเศรษฐกิจอาจยิ่งทำให้ชนชั้นแรงงานทั้งหมดอ่อนแอลงด้วยซ้ำ เนื่องจากกลุ่มถูกแบ่งแยกไปเสีย การต่อสู้ระหว่างชนชั้นกลายมามีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในกระบวนการทางประวัติศาสตร์ เมื่อมันเริ่มแพร่ขยายไปมากขึ้น สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมถูกจัดตั้งขึ้นแทนที่จะเป็นสหภาพแรงงานช่างฝีมือ และเมื่อระดับความตระหนักรู้ของชนชั้นแรงงานเพิ่มมากขึ้น และเมื่อพวกเขาจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นของตนเอง มากซ์กล่าวว่า นี่เป็นกระบวนการที่ชนชั้นกรรมาชีพเปลี่ยนจากชนชั้น "ในตัวเอง" (ตำแหน่งในโครงสร้างทางสังคม) ไปเป็นชนชั้น "เพื่อตัวเอง" (พลังที่กระตือรือร้นและมีเจตนา ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้)

ใกล้เคียง

การต่อต้านระบอบนาซีของชาวเยอรมัน การต่อต้านยิว การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563 การต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านลัทธิราชาธิปไตยในประเทศญี่ปุ่น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น การต่อต้านภาษี การต่อสู้ด้วยโต๊ะ บันได และเก้าอี้ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ การต่อสู้ข้างถนน