การทดลองขวดสีน้ำเงิน
การทดลองขวดสีน้ำเงิน

การทดลองขวดสีน้ำเงิน

การทดลองขวดสีน้ำเงิน (อังกฤษ: The blue bottle experiment) คือ ปฏิกิริยาเคมี สารละลายในน้ำที่มีส่วนประกอบของกลูโคส, โซดาไฟ, เมทิลีนบลู (methylene blue) และอากาศเล็กน้อยถูกเขย่าในขวดที่ปิดอยู่ จากนั้นสารละลายได้เปลี่ยนจากที่ไม่มีสีเป็นสีน้ำเงินและกลับไปเป็นไม่มีสีอีกครั้งเมื่อถูกตั้งไว้ไม่นาน เมื่อเขย่าอีกครั้ง วัฏจักรนี้สามารถเกิดซ้ำได้หลายรอบ[1] การทดลองนี้เป็นการสาธิตแบบดั้งเดิมและสามารถนำไปใช้ได้ในหลักสูตรวิชาห้องปฏิบัติการและเพื่อเป็นการทดลองทางเคมีเบื้องต้น ปฏิกิริยานี้นำไปใช้ได้กับน้ำตาลรีดิวซ์ชนิดอื่นนอกจากกลูโคส และสามารถใช้ได้กับสีย้อมรีดิวซ์ตัวอื่นเช่นกันสารละลายในน้ำของปฏิกิริยาแบบดั้งเดิมประกอบด้วย กลูโคส โซดาไฟ และเมทิลีนบลู อินอลเลตของกลูโคสถูกสร้างในขั้นตอนแรก ส่วนอันดับต่อไปเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ของอินอลเลตด้วยเมทิลีนบลู กลูโคสถูกอ็อกซิไดซ์เป็นกรดกลูโคนิก (Gluconic acid) ซึ่งเป็นโซเดียมกลูโคเนทในสารละลายภาวะด่าง เมทิลีนบลูถูกรีดิวซ์ไปเป็น leucomethylene blue ซึ่งไม่มีสี หากมีออกซิเจนเพียงพอ leucomethylene blue จะถูกอ็อกซิไดซ์ไปเป็นเมทิลีนบลูและสารละลายจะกลับมามีสีฟ้าอีกครั้ง ปริมาณของออกซิเจนนั้นเพิ่มได้โดยการเขย่าสารละลาย เมื่อตั้งไว้ การรีดิวซ์ของกลูโคสจากสีย้อมรีดอกซ์ได้ทำให้สีของสารละลายหายไปอีกครั้ง ปฏิกิริยาเป็นปฏิกิริยาอันดับหนึ่งในกลูโคส เมทิลีนบลูและไฮดรอกไซด์ไอออน และเป็นเป็นปฏิกิริยาอันดับศูนย์ในอ็อกซิเจน 

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองโรเซนแฮน การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองของมิลแกรม