โครงการทดลองเพื่อค้นหาแนวทางการรักษา ของ การทดลองซอลิแดริตี

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผู้ป้วยโควิด-19 หลายพันรายอย่างรวดเร็ว ถึงประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสและยาต้านการอักเสบที่มีอยู่ ซึ่งยังไม่ได้รับการประเมินการใช้โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรค COVID-19 ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่าการนำยาเก่ามาใช้รักษาโรคใหม่ ("repurposing" หรือ "repositioning") สำหรับยาที่ได้รับการรับรองในการรักษาโรคอื่น ๆ[2][5]

การทดลองซอลิแดริตีได้รับการออกแบบเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกอย่างรวดเร็วสำหรับคำถามทางคลินิกที่สำคัญคือ[2][5]

  • ยาชนิดใดสามารถลดอัตราการตายได้
  • ยาชนิดใดลดระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาล
  • การรักษามีผลต่อความต้องการเครื่องช่วยหายใจของผู้ที่เป็นโรคปอดบวมที่เกิดจากโควิด-19 หรือไม่?
  • ยาดังกล่าวสามารถใช้เพื่อลดการเจ็บป่วยจากโควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ที่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินไปสู่ภาวะอาการรุนแรงหรือไม่

การลงทะเบียนผู้ป้วยโควิด-19 นั้นถูกทำให้ง่ายขึ้นโดยใช้รายการข้อมูลรวมถึงการให้ความยินยอมทางเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก[2] หลังจากเจ้าหน้าที่โครงการพิจารณาว่ามียาชนิดใดที่โรงพยาบาล แล้วเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก จะสุ่มตัวอย่างในการให้ใช้ยาทดลองชนิดหนึ่งกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือใช้การรักษาตามมาตรฐานของโรงพยาบาล เพื่อรักษาโควิด-19 แพทย์ที่ร่วมโครงการทดลองจะทำการบันทึกและส่งข้อมูลติดตามเกี่ยวกับสถานะของผู้ป่วยและการรักษา โดยป้อนข้อมูลผ่านเว็บไซต์ WHO Solidarity[2] การออกแบบการทดลองซอลิแดริตีนั้นไม่ได้เป็นการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blind) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการทดลองทางคลินิกที่มีคุณภาพสูง แต่องค์การอนามัยโลกต้องการความเร็ว และมีคุณภาพสำหรับการทดลองในโรงพยาบาลจำนวนมากในประเทศต่าง ๆ[2] แพทย์ในคณะกรรมการตรวจสอบความปลอดภัยระดับโลกของ WHO ตรวจสอบผลลัพธ์ระหว่างการทดลอง เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิผลของยาทดลองและเปลี่ยนการออกแบบการทดลอง หรือแนะนำการรักษาที่มีประสิทธิภาพ[2][5]

การศึกษาทางโปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่คล้ายกับการทดลองซอลิแดริตี ที่เรียกว่า "ดิสคัฟเวอรี" ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม ในเจ็ดประเทศ ดำเนินการโดยสถาบันสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติฝรั่งเศส (INSERM)[2][6]

การทดลองซอลิแดริตีพยายามที่จะดำเนินการประสานงานกับโรงพยาบาลหลายร้อยแห่งในประเทศต่าง ๆ (รวมถึงที่มีโครงสร้างพื้นฐานไม่ดีสำหรับการทดลองทางคลินิก) และยังต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ยุน-อาเนอ รุตทิงเกน (John-Arne Røttingen [en]) ประธานคณะกรรมการวิจัยแห่งนอร์เวย์ และประธานคณะกรรมการนานาชาติในการขับเคลื่อนการทดลองซอลิแดริตี กล่าวว่าการทดลองจะมีประสิทธิภาพหากการรักษามุ่งมั่นที่จะ "ลดสัดส่วนผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจซึ่งโดยประมาณมีร้อยละ 20 ลง ซึ่งจำนวนดังกล่าวอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบการดูแลสุขภาพแห่งชาติของแต่ละประเทศ"[7]

การออกแบบที่ปรับได้

ตามคำกล่าวของผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก จุดมุ่งหมายของการทดลองคือ "ลดเวลาที่จำเป็นในการหาหลักฐานที่ชัดเจนว่ายาชนิดใดใช้ได้ผล"[8] กระบวนการใช้ "การออกแบบที่ปรับได้ (adaptive design)"[9][10] การทดลองซอลิแดริตีและการทดลองดิสคัฟเวอรีของยุโรป ใช้การออกแบบที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเพื่อปรับเปลี่ยนตัวแปรเสริมของการทดลอง เมื่อได้รับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากแนวทางการรักษาสี่แบบ[6][11]

การออกแบบที่ปรับเปลี่ยนได้ภายในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3–4 เช่น การทดลองซอลิแดริตีและการทดลองดิสคัฟเวอรี อาจทำให้ระยะเวลาการทดลองสั้นลงและใช้อาสาสมัครน้อยลง โดยอาจเร่งการตัดสินใจในการยุติการทดลองก่อนกำหนด เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายหากมีผลการทดลองระหว่างกาลไม่ดี[6][9] หากการทดลองซอลิแดริตีแสดงหลักฐานเบื้องต้นของความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงการออกแบบการทดลองไปยังสถานที่ในประเทศต่าง ๆ ของโครงการสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ในการรักษาโดยรวมของผู้ป่วยและเร่งรัดในการนำยามาใช้เพื่อการรักษา[1][6]

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดลองของมิลแกรม การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองซอลิแดริตี http://en.nhc.gov.cn/antivirusfight.html http://www.ecdc.europa.eu/en/novel-coronavirus-chi... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5830330 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29490655 http://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-corona... //doi.org/10.1016%2FS0140-6736(20)30894-1 //doi.org/10.1186%2Fs12916-018-1017-7 https://thestandard.co/solidarity-trial-who/ https://www.businessinsider.com/first-patient-is-e... https://www.statnews.com/2020/03/18/who-to-launch-...