การใช้ ของ การทดสอบด้วยความเย็นร้อน

แพทย์ นักโสตสัมผัสวิทยา และผู้ประกอบการมืออาชีพอื่น ๆ มักใช้การทดสอบนี้เพื่อยืนยันการทำงานไม่เท่ากันทั้งสองข้างของระบบการทรงตัวนอกประสาทส่วนกลางโดยบางครั้งใช้เป็นส่วนย่อยของการทดสอบการเคลื่อนไหวของตาที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ คือ electronystagmography (ENG) เพื่อวินิจฉัยเหตุของอาการรู้สึกหมุน อาการเวียนศีรษะ หรือปัญหาการทรงตัวเป็นการทดสอบอย่างหนึ่งเพื่อตรวจสอบความเสียหายต่อก้านสมองในคนไข้โคม่า[4]และสามารถแสดงการมีเนื้องอกที่เส้นประสาทสมองที่ 8 (vestibulocochlear nerve) แบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma) อย่างเชื่อถือได้[5]

การทดสอบนี้ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่อาจบาดเจ็บที่คอ ผู้มีเลือดอยู่ในช่องหู หรือผู้มีแก้วหูทะลุ[2]

การใช้ใหม่ ๆ อย่างหนึ่งก็คือเพื่อบรรเทาความปวดจากความเจ็บปวดซึ่งเกิดจากแขนขาที่ไม่มีในผู้ได้ตัดแขนขาออก[6]และในผู้อัมพาตครึ่งล่าง[7]มันอาจใช้ทุเลาอย่างชั่วคราวซึ่งภาวะเสียสำนึกความพิการ ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิในด้านการเห็นและส่วนร่างกาย อาการไม่รู้สึกร่างกายข้างหนึ่ง (hemianesthesia) และอาการอื่น ๆ เนื่องจากความเสียหายที่สมองข้างขวา[8]

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองของมิลแกรม การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดสอบด้วยความเย็นร้อน http://icd9cm.chrisendres.com/index.php?srchtype=p... http://www.emedicine.com/oph/topic339.htm# http://books.google.com/?id=fA2Em0VSUwAC&pg=PA111 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1031870 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11402363 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11513103 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3585347 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/4026002 http://www.annals-neurosurgery.org/quiz/nsq2/#a3 //doi.org/10.1007%2F978-0-387-79948-3