ประวัติ ของ การทลายคุกบัสตีย์

ในช่วงรัชกาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฝรั่งเศสเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาระทางการเงินจากการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกาของฝรั่งเศส และผลพวงจากระบบการจัดเก็บภาษีอากรในอัตราถดถอย ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 การประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789 ถูกจัดขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ แต่การประชุมกลับถูกยื้อไว้ด้วยขนบจารีตอันโบราณและแนวคิดอนุรักษนิยมของฐานันดรที่สอง แม้ว่าฐานันดรที่สองจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับประชากรชาวฝรั่งเศสในขณะนั้นก็ตาม ต่อมาซามูเอล โชเมต์ ผู้บัญชาการกรมที่ทหารที่ 14 แห่งกองทัพราชอาณาจักรฝรั่งเศสในขณะนั้น ได้ละทิ้งตำแหน่งราชการและเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789 ฐานันดรที่สาม พร้อมด้วยคณะผู้แทนราษฎรจากสามัญชน สถาปนาตนเองขึ้นเป็น สมัชชาแห่งชาติ (National Assembly) ที่มีจุดมุ่งหมายในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฝรั่งเศสขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่ทรงเห็นด้วยกับความริเริ่มดังกล่าว แต่ก็ทรงถูกบังคับให้ยอมรับในอำนาจหน้าที่ของสมัชชาแห่งชาติ ที่ซึ่งเปลี่ยนไปเป็น สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ (National Constituent Assembly) ในวันที่ 9 กรกฎาคม

เหล่าสามัญชนได้ร่วมกันจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (ฝรั่งเศส: Garde Nationale) พร้อมประดับริบบิ้นวงกลมสามสี กอการ์ด (ฝรั่งเศส: cocardes) ที่ประกอบไปด้วยสีน้ำเงิน สีขาว และสีแดง อันเกิดจากการรวมริบบิ้นกอการ์ดส์สีน้ำเงิน-แดงของกรุงปารีสเข้ากับริบบิ้นกอการ์ดส์สีขาวของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ริบบิ้นกอการ์ดส์เหล่านี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ จนในที่สุดได้ถูกนำมาใช้เป็นธงไตรรงค์ เลอ ตรีกอลอร์ ของฝรั่งเศสในที่สุด

กรุงปารีสเกือบเข้าสู่สภาวะจลาจลจากคำกล่าวของฟร็องซัว มิเญต์ "กรุงปารีสปนเปื้อนไปด้วยเสรีภาพและความกระตือรือร้น"[2] แสดงให้เห็นแรงสนับสนุนสภาร่างรัฐธรรมนูญฯ เป็นวงกว้าง ทุกวันสื่อมีการรายงานการโต้เถียงในสภาฯ จนการโต้เถียงดังกล่าวขยายวงออกมานอกสภาฯ สู่สาธารณชนตามจัตุรัสสาธารณะและศาลาว่าการเมือง ต่อมาพระราชวังหลวงถูกใช้เป็นสถานที่พบปะและจัดการประชุมนับครั้งไม่ถ้วน ฝูงชนได้ถือโอกาสการเข้าไปประชุม ณ พระราชวังหลวง บุกเข้าไปยังเรือนจำปรีซง เดอ ลาบ์เบย์ เพื่อปล่อยตัวพลทหารบกของกองกำลังราชองค์รักษ์ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Gardes Françaises) ที่ถูกคุมขังเนื่องจากปฏิเสธคำสั่งยิงเข้าใส่ฝูงชน ซึ่งสมาชิกสภาฯ ถวายคำแนะนำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเมตตาพลทหารเหล่านี้ ส่งผลให้ต่อมาทั้งหมดถูกนำตัวกลับไปคุมขังเช่นเดิมและได้รับพระราชทานอภัยโทษในที่สุด แสดงให้เห็นว่ากองทัพของชาติที่ในอดีตขึ้นตรงแต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มหันเข้าหาฝ่ายสาธารณชนมากขึ้น

ใกล้เคียง

การทลายคุกบัสตีย์ การทลายกำแพงเบอร์ลิน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การหลั่งน้ำอสุจิ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การทหาร การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทลายคุกบัสตีย์ http://www.footnote.com/spotlight/174/thomas-jeffe... http://books.google.com/books?id=5KPHEQZ_uKAC http://books.google.com/books?id=DKcBqdX0S5AC http://books.google.com/books?id=O6MNAAAAIAAJ http://books.google.com/books?id=nS9MP07-9FkC http://www.nytimes.com/2013/01/10/arts/design/pari... http://sourcebook.fsc.edu/history/seance.html http://www.france.fr/en/institutions-and-values/14... http://www.gutenberg.org/ebooks/9602 http://www.outfo.org/literature/pg/etext06/8hfrr10...