หลักทั่วไป ของ การทับศัพท์ภาษาอิตาลี

1. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอิตาลี ตามปรกติสระที่เรียงกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะออกเสียงแยกกันเสมอ เว้นแต่สระที่เรียงกันอยู่นั้นมีสระ i หรือ u ผสมอยู่และไม่ได้ลงเสียงหนักที่ i หรือ u ในกรณีนี้จะออกเสียงเป็นเสียงสระผสม การเทียบเสียงสระภาษาไทยให้เป็นไปตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอิตาลี เช่น

bravo = บราโวmese = เมเซlibro = ลีโบรora = โอราuccello = อุชเชลโลmaestro = มาเอสโตรluogo = ลูโอโกfiore = ฟีโอเรlaico = ไลโกdai = ได

2. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาอิตาลี เช่น

letto = เลตโต

3. ตัวอักษรภาษาอิตาลี ในการเขียนตัวย่อ ใช้ดังนี้

A = อาB = บีC = ชิ
D = ดีE = เอF = เอฟเฟ
G = จีH = อักกะI = อี
J [1] = อีลุงกาK [1] = คัปปาL = เอลเล
M = เอมเมN = เอนเนO = โอ
P = ปีQ = คุR = แอร์เร
S = เอซเซT = ตีU = อู
V = วู, วีW [1] = วูดอปปียาX [1] = อิกซ์
Y [1] = อิปซีลอนZ = เซตา

4. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ไม้ไต่คู้ เครื่องหมายวรรณยุกต์ ให้ถือตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพปราบอ้วนสุด การทัพกัวดัลคะแนล