หลักทั่วไป ของ การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย

1. การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซียตามหลักเกณฑ์นี้ยึดการออกเสียงตามรูปเขียน (Bahasa Baku) ซึ่งใช้ในประเทศอินโดนีเซีย

2. หลักเกณฑ์นี้มีตารางเทียบอักษรโรมัน (รูมี) กับอักษรไทยที่ใช้ในการทับศัพท์ และมีตัวอย่างประกอบพร้อมความหมาย คำที่นำมาใช้เป็นตัวอย่างในหลักเกณฑ์นี้ส่วนใหญ่เป็นวิสามานยนาม

3. คำที่ไทยรับมาใช้เป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิมหรือใช้ตามหลักเกณฑ์นี้ ตัวอย่างในที่นี้ใส่คำทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์และวงเล็บคำที่นิยมใช้มาแต่เดิมไว้ด้วย เช่น

Bali
Jawa
Kalimantan
Yogyakarta
=
=
=
=
บาลี (บาหลี)
จาวา (ชวา)
กาลีมันตัน (กาลิมันตัน)
ยกยาการ์ตา (ยอกยาการ์ตา)

4. ตัวอย่างคำภาษาอินโดนีเซียที่ให้ไว้ในหลักเกณฑ์นี้สะกดตามระบบใหม่ แต่ในเอกสารโบราณหรือชื่อบุคคลอาจพบคำที่สะกดตามระบบเดิมอยู่บ้าง ตัวอักษรที่ใช้ในระบบเดิมและต่างกับตัวอักษรในระบบใหม่มีดังนี้

ระบบเดิมระบบใหม่คำทับศัพท์
รูปเขียนตัวอย่างรูปเขียนตัวอย่าง
 tj Tjiawi c Ciawi จียาวี
 dj Djakarta j Jakarta าการ์ตา
 j Jogjakarta y Yogyakarta าการ์ตา (อกาการ์ตา)
 sj sjarat sy syarat ารัต
 nj Banjuwangi ny Banyuwangi บาญูวางี
 oe Soerabaja u Surabaya ซูราบายา

5. พยัญชนะในภาษาอินโดนีเซียหลายตัวไม่มีเสียงในภาษาไทย จำเป็นจะต้องเลือกอักษรไทยที่มีเสียงใกล้เคียง และหลายเสียงต้องใช้อักษรไทยตัวเดียวกันแทนเสียงพยัญชนะที่มีเสียงต่างกันในภาษาอินโดนีเซีย ดังนี้

k
g
q
c
j
s
z
f
v
=
=
=
=
=
=
=
=
=








เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
Kuta
Gibran
Qurban
Cisarua
Jakarta
Subang
Zairin
Sofifi
Batavia
=
=
=
=
=
=
=
=
=
กูตา (ชื่อหาด)
กีบรัน (ชื่อบุคคลชาย)
กูร์บัน (ชื่อประเพณี)
จีซารูวา (ชื่อตำบล)
าการ์ตา (ชื่อเมืองหลวง)
ซูบัง (ชื่ออำเภอ)
ริน (ชื่อบุคคลชาย)
โซฟีฟี (ชื่อเมือง)
บาตาฟียา (ปัตตาเวีย) (ชื่อเดิมของเมืองจาการ์ตา)

6. ชื่อในภาษาอินโดนีเซียบางครั้งเขียนด้วยพยัญชนะที่ตามด้วย h โดยออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ในการทับศัพท์ให้ถอดเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ดังนี้

bh
dh
jh
lh
ph
rh
sh
th
zh
=
=
=
=
=
=
=
=
=








เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
Bhayangkari
Dharmawangsa
Jhoni
Lhokseumawe
Sophan Sophiaan
Rhoma Irama
Shah
Thamrin
Zhairin
=
=
=
=
=
=
=
=
=
ายังการี (ชื่อระบำ)
าร์มาวังซา (ชื่อถนน)
นี (ชื่อบุคคล)
กเซอมาเว (ชื่อเมือง)
โซปัน โซปียาอัน (ชื่อบุคคล)
มา อีรามา (ชื่อบุคคล)
ะฮ์ (ชื่อสกุล)
ตัมริน (ชื่อถนน)
ริน (ชื่อบุคคล)

7. ทวิอักษรต่อไปนี้แทนเสียง 1 เสียง กำหนดให้ทับศัพท์ด้วยอักษรไทยตัวเดียว ดังนี้

gh[# 1]
kh
ng
ny
sy
=
=
=
=
=




เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
Ghofar
Khitan
Nganjuk
Nyoman
Syawal
=
=
=
=
=
ฟาร์ (ชื่อบุคคลชาย)
คีตัน (ชื่อพิธีขลิบ)
งันจุก (ชื่ออำเภอ)
มัน (ชื่อบุคคล)
าวัล (ชื่อเดือนตามปฏิทินอิสลาม)

8. พยัญชนะ h และ r ที่อยู่ท้ายพยางค์ ภาษาอินโดนีเซียออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นด้วยแต่ไม่ได้ออกเสียงเหมือนตัวสะกดในภาษาไทย ในการทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น

h
r
=
=
ฮ์
ร์
เช่น
เช่น
Aceh
Jakarta
=
=
อาเจะฮ์ (ชื่อจังหวัด)
จาการ์ตา (ชื่อเมือง)

9. พยัญชนะกึ่งสระ y ที่ปรากฏในชื่อบุคคลชาวอินโดนีเซีย ออกเสียงเป็นสระอี เช่น

Try=รี
ถ้าพยัญชนะกึ่งสระ y ปรากฏติดกับสระอื่น ในการทับศัพท์ให้ใช้ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์สระ i ที่ตามด้วยสระอื่น (ดูข้อ 11.2.1)

10. สระเดี่ยว ในภาษาอินโดนีเซียมี 5 รูป 6 เสียง ได้แก่

a
e
i
o
u
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
/a/
/e/ หรือ /ə/
/i/
/o/
/u/
สระ e ที่ออกเสียง /ə/ ซึ่งออกเสียงสั้นกว่าสระเออในภาษาไทย กำหนดให้ทับศัพท์โดยใช้ เ–อ เมื่อเป็นพยางค์เปิด (พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย) และใช้ เ–ิ เมื่อเป็นพยางค์ปิด (พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย)

11. สระที่เรียงกัน ในภาษาอินโดนีเซียมี 2 แบบคือ สระประสมและสระเรียง ดังนี้

11.1 สระประสมในภาษาอินโดนีเซียมี 3 รูปคือ ai, au และ oi กำหนดให้ทับศัพท์เป็น ไ–, เ–า และ โ–ย ตามลำดับ เช่น
Dumai
Krakatau
Warenoi
=
=
=
ดูม (ชื่อเมือง)
กรากา (กรากาตัว) (ชื่อภูเขาไฟ)
วาเร (ชื่อแม่น้ำ)
ในกรณีที่มีพยัญชนะตามมา ภาษาอินโดนีเซียออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นด้วย ในการทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับบนพยัญชนะที่ตามมานั้น เช่น
Daik
Laut Bangko
Elsoin
=
=
=
ไดก์ (ชื่อภูเขา)
เลาต์บังโก (ชื่อทะเลสาบ)
เอ็ลโซยน์ (ชื่อสกุล)
11.2 สระคู่อื่นที่ไม่ใช่สระประสม จะออกเสียงทีละตัวเป็นสระเรียง มีหลักเกณฑ์ดังนี้11.2.1 สระเรียงที่มีสระ i ตามด้วยสระอื่นออกเสียงมี ย แทรกอยู่ ให้ทับศัพท์โดยแทรก ย เช่น
Rumbia
Biak
Dio
Tionghua
Soasiu
Ignatius
Walaia
Riau
=
=
=
=
=
=
=
=
รุมบียา (ชื่อตำบล)
บียัก (ชื่อเกาะ)
ดีโย (ชื่อบุคคลชาย)
ตียงฮูวา (คนจีน)
โซอาซียู (ชื่อเมือง)
อิกนาตียุซ (ชื่อบุคคลชาย)
วายา (ชื่อสกุล)
รีเยา (ชื่อจังหวัด)
11.2.2 สระเรียงที่มีสระ u ตามด้วยสระอื่นออกเสียงมี ว แทรกอยู่ ให้ทับศัพท์โดยแทรก ว เช่น
Papua
Kapuas
Latue
Immanuel
Batui
Pluit
Haluoleo
Kuhuail
=
=
=
=
=
=
=
=
ปาปูวา (ปาปัว) (ชื่อเกาะ)
กาปูวัซ (ชื่อแม่น้ำ)
ลาตูเว[# 2] (ชื่อสกุล)
อิมมานูเว็ล (ชื่อบุคคลชาย)
บาตูวี (ชื่อแม่น้ำ)
ลูวิต (ชื่อหมู่บ้าน)
ฮาลูโวเลโอ (ชื่อมหาวิทยาลัย)
กูฮูไวล์ (ชื่อสกุล)
11.2.3 สระเรียงอื่นนอกจากนี้ให้ทับศัพท์แยกทีละตัวตามสระเดี่ยว เช่น
Hutapea
Sidoarjo
Sigeaon
=
=
=
ฮูตาปอ (ชื่อสกุล)
ซีดอร์โจ (ชื่ออำเภอ)
ซีกออน (ชื่อแม่น้ำ)
11.3 สระ eu โดยปรกติจะทับศัพท์ตามสระเดี่ยว เช่น
Peulisa=ออูลีซา (ชื่อบุคคลหญิง)
ยกเว้นชื่อภูมิศาสตร์ในจังหวัดอาเจะฮ์และชวาตะวันตก ออกเสียงสระ eu เป็น เออ กำหนดให้ทับศัพท์โดยใช้ เ–อ เมื่อเป็นพยางค์เปิด และใช้ เ–ิ เมื่อเป็นพยางค์ปิด เช่น
Lhokseumawe
Ciheuleut
=
=
ลกมาเว (ชื่อเมืองในจังหวัดอาเจะฮ์)
จีอเลิต (ชื่อถนนในจังหวัดชวาตะวันตก)
11.4 สระ ie ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็น อี กำหนดให้ทับศัพท์เป็น –ี เช่น
Habibie=ฮาบีบี (ชื่อบุคคลชาย)
แต่ถ้าเป็นชื่อที่มาจากภาษาอังกฤษ ออกเสียงเป็น อีเย กำหนดให้ทับศัพท์เป็น –ีเย– เช่น
Daniel=ดานีเยล (ชื่อบุคคลชาย)
ชื่อภูมิศาสตร์บางชื่ออาจออกเสียงเป็น อีเย กำหนดให้ทับศัพท์เป็น –ีเย– เช่น
Dieng
Pandang Tieng
=
=
ดีเยง (ชื่อที่ราบสูง)
ปันดังตีเยง (ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว)

12. คำที่ประกอบด้วยคำหลายคำ ถ้าเป็นชื่อภูมิศาสตร์ให้เขียนทับศัพท์ติดกัน เช่น

Sungai Penuh
Gunung Sahari
=
=
ซูไงเปอนุฮ์ (ชื่อเมือง)
กูนุงซาฮารี (ชื่อถนน)
ส่วนชื่ออื่นให้เขียนทับศัพท์แยกกันตามการเขียนในภาษาอินโดนีเซียชื่อบุคคล เช่น
Halim Perdanakusuma=ฮาลิม เปอร์ดานากูซูมา
ชื่อพรรคการเมือง เช่น
Partai Demokrasi Indonesia Perjuangan=ปาร์ไต เดโมกราซี อินโดเนซียา เปอร์จูวางัน
ชื่อหน่วยราชการ เช่น
Majelis Permusyawaratan Rakyat=มาเจอลิซ เปอร์มูชาวาราตัน รักยัต
ชื่อองค์กรหรือหน่วยงาน เช่น
Badan Pengembangan dan Pembinaan Bahasa=บาดัน เปอเงิมบางันดัน เปิมบีนาอัน บาฮาซา (หน่วยงานทางด้านภาษาแห่งชาติ)

13. ชื่อภูมิศาสตร์ที่มีคำบอกประเภทวิสามานยนามกำกับอยู่ ให้แปลคำบอกประเภทวิสามานยนามเป็นภาษาไทย แล้วเขียนติดกับคำทับศัพท์ เช่น

Pulau Nias
Sungai Barito
=
=
เกาะนียัซ
แม่น้ำบารีโต
แต่ถ้าคำเหล่านั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชื่อภูมิศาสตร์แล้ว ให้ทับศัพท์และเขียนติดกันทุกคำ เช่น
Kabupaten Gunung Kidul (Kab. Gunung Kidul)
Jalan Sungai Sahari (Jl. Sungai Sahari)
=
=
อำเภอกูนุงกีดุล
ถนนซูไงซาฮารี

14. ชื่อบุคคลที่มาจากภาษาอาหรับ ให้ทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย

15. ชื่อบุคคลในภาษาอินโดนีเซีย โดยปรกติจะมีเฉพาะชื่ออย่างเดียว ซึ่งอาจมีคำเดียวหรือหลายคำก็ได้ เช่น

Soekarno
Fitri Andini
Basuki Tjahaja Purnama
=
=
=
ซูการ์โน
ฟีตรี อันดีนี
บาซูกี จาฮายา ปูร์นามา
ชื่อและชื่อสกุล เช่น
Diana Nasution=ดียานา นาซูตียน
เมื่อต้องการยกย่องจะมีคำนำหน้านามด้วย ถ้าเป็นผู้ชายใช้ว่า Bapak ทับศัพท์เป็น บาปัก ถ้าเป็นผู้หญิงใช้ว่า Ibu ทับศัพท์เป็น อีบู เช่น
Bapak Joko Widodo
Ibu Sri Mulyani
=
=
บาปัก โจโก วีโดโด
อีบู ซรี มุลยานี

16. ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้านามที่เขียนแบบย่อ ให้เขียนทับศัพท์เป็นคำเต็ม เช่น

Moh. (Mohammad)
Muh. (Muhammad)
A. (Ahmad)
=
=
=
โมฮัมมัด
มูฮัมมัด
อะฮ์มัด

17. คำย่อ คำภาษาอินโดนีเซีย ถ้าเป็นอักษรย่อที่อ่านเรียงตัวอักษร เช่น ชื่อหน่วยงาน ชื่อองค์กร ชื่อพรรคการเมือง ให้เขียนทับศัพท์ตามชื่ออักษรย่อนั้น ๆ ดังนี้

A
D
G
J
M
P
S
V
Y
=
=
=
=
=
=
=
=
=
อา
เด
เก
เจ
เอ็ม
เป
เอ็ซ
เฟ
เย
B
E
H
K
N
Q
T
W
Z
=
=
=
=
=
=
=
=
=
เบ
เอ
ฮา
กา
เอ็น
กี
เต
เว
เซ็ต
C
F
I
L
O
R
U
X

=
=
=
=
=
=
=
=

เจ
เอ็ฟ
อี
เอ็ล
โอ
เอร์
อู
เอ็กซ์

คำย่อบางคำมีจุด บางคำไม่มีจุด ในการทับศัพท์ให้เขียนตามการเขียนในภาษาอินโดนีเซียหมายเหตุ
  1. ทวิอักษร gh ไม่มีในระบบการเขียนภาษาอินโดนีเซีย แต่อาจปรากฏในชื่อบุคคลที่มาจากภาษาอาหรับ เช่น Ghalib = าลิบ
  2. อาจมีบางคำที่ออกเสียง ue เป็น อูเวอ กำหนดให้ทับศัพท์โดยใช้ –ูเวอ เมื่อเป็นพยางค์เปิด และใช้ –ูเวิ– เมื่อเป็นพยางค์ปิด เช่น Gayo Lues = กาโยลูเวิซ (ชื่ออำเภอ)

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพปราบอ้วนสุด การทัพกัวดัลคะแนล