หลักทั่วไป ของ การทับศัพท์ภาษาเวียดนาม

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาเวียดนามที่เขียนด้วยอักษรเวียดนามปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า จื๋อโกว๊กหงือ (chữ Quốc ngữ) หรืออักษรโรมันซึ่งมีเครื่องหมายพิเศษกำกับ ภาษาเวียดนามมีหลายสำเนียง เช่น สำเนียงฮานอย สำเนียงเว้ สำเนียงนครโฮจิมินห์ ฯลฯ ในหลักเกณฑ์นี้จะทับศัพท์ตามสำเนียงฮานอย

2. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะและสระภาษาเวียดนาม

3. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด

4. คำที่ไทยรับมาใช้เป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิมได้ เช่น ไซ่ง่อน อันนัม เหงียน

5. วรรณยุกต์ภาษาเวียดนาม มี 6 ระดับ ดังนี้

5.1 งาง (ngang) ไม่มีเครื่องหมายกำกับ เสียงสูงไม่เปลี่ยนระดับ คล้ายเสียงสามัญแต่สูงกว่า ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงสามัญ เช่น
ma
câm
cơm
มา
เกิม (เสียงสั้น)
เกิม (เสียงยาว)
"ผี"
"ใบ้"
"ข้าว"
5.2 ฮเหวี่ยน (huyền) ใช้เครื่องหมาย ` กำกับ เสียงต่ำไม่เปลี่ยนระดับ คล้ายเสียงเอก ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงเอก เช่น
mà
bà
หม่
บ่
"แต่"
"ย่า, ยาย"
5.3 หงา (ngã) ใช้เครื่องหมาย ˜ กำกับ เสียงสูง-ขึ้นและตอนกลางกักที่เส้นเสียง ออกเสียงคล้าย 2 จังหวะโดยหยุดหลังจังหวะแรกเล็กน้อย ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงจัตวา เช่น
xã
rõ

"ตำบล"
"ชัด"
5.4 หอย (hỏi) ใช้เครื่องหมาย  ̉ กำกับ เสียงต่ำ-ขึ้น คล้ายเสียงจัตวา ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงจัตวา เช่น
m
r
มา
"หลุมศพ"
"ราคาถูก"
5.5 ซัก (sắc) ใช้เครื่องหมาย ´ กำกับ เสียงสูง-ขึ้น คล้ายเสียงตรี ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงตรี เช่น
má
mát
ม้
ม้าต
"แก้ม"
"สดชื่น, เย็นสบาย"
5.6 หนั่ง (nặng) ใช้เครื่องหมาย  ̣ กำกับ เสียงต่ำ-ตกและตอนท้ายกักที่เส้นเสียง คล้ายเสียงเอก แต่เสียงหนักกว่าและหยุดทันทีในตอนท้าย ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงเอกและให้ใช้สระเสียงสั้น เช่น
m
ch
mn

จิ
หมั่
"ต้นกล้า"
"คุณผู้หญิง, พี่สาว"
"บริเวณ, เขต"

6. เสียงพยัญชนะเวียดนาม เทียบได้กับเสียงพยัญชนะไทยทั้งอักษรสูงและอักษรต่ำ ขึ้นอยู่กับเสียงวรรณยุกต์ เช่น

hữu
hưu
หื
ฮื
"มี, เป็นเจ้าของ, อยู่ด้านขวา"
"หยุด, เกษียณ"
ในกรณีของอักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่ ให้ใช้ ห นำหน้า เช่น
vảiวาย"ผ้า"
ในกรณีที่เป็นอักษรควบกล้ำ ไม่ถือว่า ห เป็นส่วนหนึ่งของพยัญชนะควบกล้ำ เพราะ ห เป็นเพียงอักษรที่ใช้กำกับให้เป็นเสียงสูงเท่านั้น เช่น
ngoan ngoãnงวาน-งวาน"ว่านอนสอนง่าย"
ในกรณีที่มีสระหน้า ให้เลื่อนสระหน้าไปไว้หน้า ห เพื่อช่วยการอ่าน เช่น
ngoen ngoẻnแงวน-งหวน"ปากแข็ง"

7. การเว้นวรรค คำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อสถานที่ ชื่อทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ ที่เขียนแยกกันในภาษาเวียดนาม เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น

Hội An
Gia Long
=
=
โห่ยอาน
ซาล็อง
ในกรณีที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนเว้นวรรคตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น
Võ Nguyên Giáp=หวอ เงวียน ซ้าป

8. การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ คำที่เป็นชื่อเฉพาะในภาษาเวียดนามที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ เมื่อทับศัพท์ให้เขียนเครื่องหมายยัติภังค์ตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น

Bà Rịa-Vũng Tàu=บ่าเสียะ-หวุงเต่า
คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะ เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยแล้วอาจอ่านแยกพยางค์ผิด จะใส่เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อช่วยให้อ่านถูกต้องก็ได้ เช่น
Cao Bá Quát=กาวบ๊า-กว๊าต

9. การใช้ไม้ไต่คู้ คำทับศัพท์ให้ใช้ไม้ไต่คู้ในกรณีที่มีเสียงสั้น แต่ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์ให้ตัดไม้ไต่คู้ออกตามอักขรวิธีไทยปัจจุบัน เช่น

khuây
khuấy
เคว็
เคว้
"ลืม, สงบ"
"คน (กริยา)"

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพปราบอ้วนสุด การทัพกัวดัลคะแนล