ภูมิหลัง ของ การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า

หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในจีน กองทัพฝ่ายจีนคณะชาติที่เหลืออยู่ได้ถอยมายังพม่าและยังคงต่อสู้ภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติ รัฐบาลจีนคณะชาติในไต้หวันได้ถอนกองกำลังตามแนวชายแดนจีน-พม่ามากกว่า 6,500 คน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2497 แต่มีกลุ่มจีนคณะชาติที่ปฏิเสธการเดินทางไปไต้หวันและเลือกที่จะอยู่ในพม่า จัดตั้งกองกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ หลิว หยวนหลิน (柳元麟) ได้จัดตั้งกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านคอมมิวนิสต์ประชาชนยูนนานในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2497 ในราวพ.ศ. 2503 กองทัพจีนคณะชาติในพม่าภาคเหนือขึ้นถึงจุดสูงสุด มีทหารเกือบหมื่นคน พื้นที่ที่ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ยึดครองยาว 300 กิโลเมตรตามแนวชายแดนจีน-พม่า และมีความกว้าง 100 กิโลเมตร ใน พ.ศ. 2503 เน วิน ผู้นำพม่าได้ไปเยือนจีน และได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อยุติข้อโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างจีนกับพม่า เมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2503 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2503 เน วินและอูนุเดินทางไปเยือนจีนและลงนามในสนธิสัญญาเกี่ยวกับแนวชายแดนกับโจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีจีน

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทับศัพท์ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง การทัพกัวดัลคะแนล