หลังจากนั้น ของ การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า

ชัยชนะของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ในปฏิบัติการครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมา ปัญหาสำคัญในการสู้รบของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ได้แก่ การขาดแคลนความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่มีแม่น้ำ หุบเขาและพื้นที่ลาดชันจำนวนมาก แทบจะไม่มีถนน มีโรคติดต่อมาก ปัจจัยเหล่านี้ถูกมองข้ามในการวางแผนของฝ่ายคอมมิวนิสต์โดยมองจากฐานของพื้นที่หุบเขาที่ซับซ้อนน้อยกว่าในจีน ทำให้ปฏิบัติการครั้งแรก กองทัพจีนคอมมิวนิสต์ไปไม่ถึงเป้าหมายตามเวลาที่กำหนด การเคลื่อนไหวของฝ่ายจีนไปได้เพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขาดความสามารถในการข้ามแม่น้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถปิดล้อมฝ่ายจีนคณะชาติ จนสามารถหลบหนีไปได้

การทำงานของเจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ที่ทันสมัย ไม่สามารถนำประสบการณ์ในสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองจีนมาใช้ในการทัพนี้ได้ เช่น ไม่สามารถอ่านแผนที่ได้ทำให้หลงทาง ขาดแคลนอุปกรณ์ในการข้ามแม่น้ำ การสร้างถนนและการแพทย์ กลยุทธการสู้รบส่วนใหญ่ฝึกฝนมาจากพื้นที่แห้งแล้งในจีน ไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่ชื้นเช่นในพม่า ทำให้ขาดการติดต่อสื่อสารหรือประเมินฝ่ายตรงข้ามสูงเกินไป

ผลจากความล้มเหลวบางประการในการโจมตีกองทัพจีนคณะชาติในพม่าครั้งนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมของจีนสั่งให้มีการฝึกกลยุทธการรบใหม่โดยใช้ประสบการณ์ที่ได้จากการทัพครั้งนี้ ปรับปรุงเขตทหารคุนหมิงและเขตทหารกวางโจวให้ดีขึ้น การปรับปรุงนี้ได้รับการพิสูจน์ในการบุกโจมตีเวียดนามเหนือและลาวระหว่างที่จีนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนาม

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทับศัพท์ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง การทัพกัวดัลคะแนล