การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง
การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง

การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง

การทิ้งระเบิดเดรสเดิน เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายบริติชและอเมริกันต่อเมืองเดรสเดิน เมืองหลวงของรัฐแซกโซนีของเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในการตีโฉบฉวยสี่ครั้งระหว่างวันที่ 13 และ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก 722 ลำของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF) และ 527 ลำของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ(USAAF) ซึ่งได้ทิ้งระเบิดแรงสูงมากกว่า 3,900 ตันและอุปกรณ์ในการก่อให้เกิดเพลิงไหม้ในตัวเมือง[1] การทิ้งระเบิดครั้งนี้ก่อให้เกิดพายุเพลิง ทำลายมากกว่า 1,600 เอเคอร์(6.5 ตารางกิโลเมตร)ของส่วนกลางเมือง[2] มีประชากรที่เสียชีวิตลง[lower-alpha 1]จำนวนประมาณ 22,700 คน[3]ถึง 25,000 คน[4] ถึงแม้ว่าจะมีการอ้างอิงถึงตัวเลขเสียชีวิตจำนวนมากขึ้น การตีโฉบฉวยของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐได้เพิ่มเติมอีกครั้ง จำนวนสองครั้ง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม มุ่งเป้าหมายไปที่ลานจอดรถไฟของเมืองและการตีโฉบฉวยขนาดเล็กครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน มุ่งเป้าหมายไปที่เขตอุตสาหกรรมโฆษณาชวนเชื่อของเยอรมันได้กล่าวออกมาทันทีว่าภายหลังจากการโจมตีและการอภิปรายหลังสงคราม[5] ว่าการโจมตีนั้นมีเหตุสมควรหรือไม่นั้นที่ทำให้การทิ้งระเบิดกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลทางศีลธรรม กรณีที่โด่งดัง(causes célèbres)ในสงคราม ปี ค.ศ. 1953 กองทัพอากาศสหรัฐได้รายงานปกป้องปฏิบัติการว่า การทิ้งระเบิดที่สมเหตุต่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ซึ่งพวกเขาได้สังเกตเห็นว่า เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟและการสื่อสาร์ที่สำคัญ ที่ตั้งโรงงาน 110 แห่ง และคนงาน 50,000 คนที่สนับสนุนในความพยายามทำสงครามของเยอรมัน[6] นักวิจัยหลายคนได้อ้างว่าไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมทั้งหมด เช่น สะพาน เป็นเป้าหมาย และไม่ได้มีพื้นที่เขตอุตสาหกรรมที่กว้างขวางบนนอกใจกลางเมือง[7] มีการวิจารณ์ต่อการทิ้งระบิดครั้งนี้ได้รับการยืนยันว่าเดรสเดิน เป็นสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม ในขณะที่ได้มองข้ามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และอ้างว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นการทิ้งระเบิดลงบนพื้นดินแบบไม่เจาะจงและไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ทางทหาร[8][9][10] แม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนโดยมาตรฐานทางกฎหมายใดๆ ในขณะที่เดรสเดินได้รับการปกป้องและตั้งเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทหารที่สำคัญและเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมสงครามหลายแห่ง บางครั้งได้อ้างว่าการตีโฉบฉวยครั้งนี้คือการก่ออาชญากรรมสงคราม[11] บางครั้ง, ส่วนใหญ่ในกลุ่มเยอรมันฝ่ายขวาจัด ได้เรียกว่าการทิ้งระเบิดครั้งนี้ว่าเป็นการสังหารหมู่ เรียกว่า "การทิ้งระเบิดฮอโลคอสต์ที่เดรสเดิน"[12][13]รูปแบบจำนวนมากในยอดผู้เสียชีวิตที่ได้มีการอ้างอิงได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 รัฐบาลเยอรมันได้ออกคำสั่งให้สื่อมวลชนเผยแพร่จำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวน 200,000 คน จากการตีโฉบฉวยเดรสเดิน และผู้เสียชีวิตจำนวนสูงสุดถึง 50,000 คนได้ถูกกล่างอ้างถึง[14][15][16] ผู้มีอำนาจเมืองในช่วงเวลานั้นได้ประเมินผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถึง 25,000 คนซึ่งเป็นตัวเลขที่สนับสนุนในการสืบสวนภายหลัง รวมทั้งการศึกษาในปี ค.ศ. 2010 ที่ได้รับมอบหมายจากสภาเทศบาลเมือง[17] หนึ่งในนักเขียนหลักที่รับผิดชอบจากการเขียนจำนวนตัวเลขที่สูงเกินจริงได้ถูกเผยแพร่ในตะวันตกคือผู้ปฏิเสธฮอโลคอสต์ เดวิด ไอวิง ซึ่งได้ประกาศในภายหลัง เมื่อเขาได้ค้นพบว่าเอกสารที่เขาทำงานมานั้นได้ถูกปลอมแปลงขึ้นมาและจำนวนแท้จริงนั้นรองรับจำนวน 25,000 คน[18]

การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่13–15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1945
สถานที่เดรสเดิน, นาซีเยอรมัน
ผลลัพธ์
  • เป้าหมายถูกทำลาย
  • ฝ่ายเยอรมันเสียหายอย่างหนัก
สถานที่ เดรสเดิน, นาซีเยอรมัน
ผลลัพธ์
  • เป้าหมายถูกทำลาย
  • ฝ่ายเยอรมันเสียหายอย่างหนัก
วันที่ 13–15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1945

ใกล้เคียง

การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ การทิ้งระเบิดจังหวัดพระนครในสงครามโลกครั้งที่สอง การทิ้งระเบิดดามัสกัสและฮอมส์ พ.ศ. 2561 การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง การทิ้งระเบิดลิเบีย (พ.ศ. 2529) การทิ้งระเบิดที่สิงคโปร์ (ค.ศ. 1941) การทิ้งระเบิดที่เกร์นิกา การทิ้งระเบิดดาร์วิน การทิ้งระเบิดโตเกียว การทิ้งระเบิดที่เฮลซิงกิในสงครามโลกครั้งที่สอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/europe/3830135.st... http://fpp.co.uk/History/General/Dresden/Dr_Neuest... http://books.guardian.co.uk/reviews/history/0,6121... https://web.archive.org/web/20080606085222/http://... https://web.archive.org/web/20160421180757/http://... https://web.archive.org/web/20171003180114/http://... https://www.telegraph.co.uk/history/world-war-two/... https://www.telegraph.co.uk/history/world-war-two/...