ประเทศปลายทาง ของ การท่องเที่ยวเพื่อคลอดบุตร

สหรัฐอเมริกา

การแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 14 รับรองให้สัญชาติอเมริกาแก่ผู้ที่เกิดในดินแดนของสหรัฐอเมริกา หากผู้นั้นอยู่ในอำนาจกฎหมายสหรัฐอเมริกา ("subject to the jurisdiction of the United States")

การเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกาย่อมได้รับสิทธิในการเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่านักศึกษาต่างชาติและใช้กฎระเบียบที่ผ่อนปรนกว่าในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ นอกจากนี้เมื่อเด็กที่เกิดมีอายุครบ 21 ปีอาจมีสิทธิขอสิทธิอาศัยให้แก่บิดามารดาได้อีกด้วย[9]

การเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาโดยกล่าวแจ้งจุดประสงค์อันเป็นเท็จถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง และมีหญิงมีครรภ์จำนวนหนึ่งที่ทำเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม การเข้าเมืองมาเพื่อคลอดบุตรไม่เป็นวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด[10]

สถิติจากศูนย์สถิติสุขภาพ (Center for Health Care Statistics) ประมาณการณ์ว่า ใน ค.ศ. 2008 ในประเทศสหรัฐอเมริกามีทารกเกิดจากชาวต่างชาติเพื่อการนี้ 7,462 คน ซึ่งเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนทารกที่เกิด 4.3 ล้านคนในปีเดียวกัน ในขณะที่สถิติจากศูนย์ศึกษาคนเข้าเมือง (Center for Immigration Studies) สำนักคิดที่อยากให้ลดการเข้าเมืองของคนต่างชาติ ประมาณการณ์ว่ามีทารกแรกเกิดจากการท่องเที่ยวเพื่อคลอดบุตรในสหรัฐอเมริการาว 40,000 คนต่อปี[11] อย่างไรก็ดี จำนวนทารกแรกเกิดทั้งหมดที่เกิดจากชาวต่างชาติผู้มีถิ่นฐานชั่วคราวในสหรัฐอเมริการวมทุกวัตถุประสงค์ (เช่น นักท่องเที่ยว นักเรียน คนทำงาน) อาจสูงถึง 200,000 คนต่อปี[12]

แคนาดา

ดูบทความหลักที่: กฎหมายสัญชาติแคนาดา

กฎหมายสัญชาติแคนาดาได้ให้สัญชาติแคนาดาแก่ผู้เกิดในดินแดนของแคนาดาตั้งแต่ ค.ศ. 1947 โดยไม่คำถึงสถานะแห่งบิดามารดา มีข้อยกเว้นเพียงบิดามารดาที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลต่างชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศเท่านั้น รัฐบาลแคนาดาได้พิจารณาการจำกัดการให้สัญชาติโดยหลักดินแดนแล้ว[13]และยังอภิปรายกันอยู่ใน ค.ศ. 2012[14] โดยในปัจจุบันก็ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว

ฮ่องกง

ตามกฎหมายหลักฮ่องกง (Basic Law of Hong Kong) ประชาชนจีนที่เกิดในเกาะฮ่องกงมีสิทธิการอยู่อาศัยในดินแดนเกาะฮ่องกง กล่าวคือ มีสิทธิทั่วไปอย่างชาวฮ่องกง คดีระหว่างอธิบดีกรมตรวจคนเข้าเมือง กับจวง เฟิงหยวน (Director of Immigration v. Chong Fung Yuen) ใน ค.ศ. 2001 ยืนยันให้สิทธินี้แก่บุตรของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ไม่ใช่ผู้มีสิทธิอาศัยในเกาะฮ่องกง[15] ด้วยเหตุนี้จึงมีหญิงมีครรภ์ชาวจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางมาคลอดบุตรในเกาะฮ่องกงเพื่อให้บุตรของตนมีสิทธิอาศัยในเกาะดังกล่าว ใน ค.ศ. 2009 มีทารกถึง 36% ที่เกิดในเกาะฮ่องกงที่มีบิดามารดามาจากจีนแผ่นดินใหญ่[16] กรณีนี้ได้สร้างกระแสต่อต้านและก่อให้เกิดความกังวลต่อระบบรัฐสวัสดิการรวมถึงการศึกษาของเกาะฮ่องกง[17] ความพยายามที่จะจำกัดสิทธิโดยกำเนิดในกรณีดังกล่าวถึงปฏิเสธโดยศาล[16] ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยอย่างมา กระทั่งได้ลุกขึ้นประท้วงต่อต้านเมื่อต้น ค.ศ. 2012

ไอร์แลนด์

กฎหมายสัญชาติไอร์แลนด์ให้สิทธิสัญชาติโดยกำเนิดมาโดยตลอดจนกระทั่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 27 ซึ่งได้รับการลงประชามติยอมรับใน ค.ศ. 2004 การแก้ไขดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากกระแสการรายงานข่าวหญิงท้องแก่ขอลี้ภัยในไอร์แลนด์ ซึ่งคาดหมายได้ว่าแม้คำขอลี้ภัยจะไม่ได้รับการอนุมัติ แต่ทารกที่เกิดใหม่ในไอร์แลนด์ก็จะได้สัญชาติไอร์แลนด์[18]

ใกล้เคียง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวในประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวเพื่อคลอดบุตร การท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส การท่องเที่ยวในประเทศจีน การท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีใต้ การท่องเที่ยวทางเพศ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การท่องเที่ยวเพื่อคลอดบุตร http://www.cbc.ca/news/canada/story/2012/03/02/bir... http://www.cbc.ca/news/canada/story/2013/01/18/chi... http://azstarnet.com/news/local/article_9dd9a46b-a... http://www.doctoresparati.com/home.html http://www.economist.com/node/16846724?story_id=16... http://books.google.com/books?id=_PQTGDS6npYC http://www.hurriyetdailynews.com/n.php?n=birth-tou... http://blog.nj.com/njv_paul_mulshine/2011/01/post_... http://www.nytimes.com/2011/03/29/us/29babies.html... http://www.sinosplice.com/life/archives/2009/10/15...