สิทธิโดยแผ่นดิน

สิทธิโดยแผ่นดิน[1] (อังกฤษ: Jus soli) เป็นสำนวนภาษาลาตินที่หมายความว่า "law of ground" หรือ "ตามกฎของแผ่นดิน[ที่ตั้งถิ่นฐาน]" หรือ "สิทธิของการเป็นพลเมือง" เป็นสิทธิที่เชื้อชาติ หรือ สัญชาติเป็นสิ่งที่เป็นของบุคคลที่เกิดในดินแดนนั้น[2] เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐชาติแบ่งเป็นสองกลุ่มๆ หนึ่งมอบสัญชาติให้แก่บุคคลตามกฎ “สิทธิโดยแผ่นดิน” (เช่นฝรั่งเศส) และอีกกลุ่มหนึ่งที่มอบสัญชาติให้แก่บุคคลตามกฎ “สิทธิโดยสายโลหิต” (jus sanguinis) (เช่นเยอรมนี ก่อน ค.ศ. 2000) แต่ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปเลือกปรัชญาสิทธิสัญชาติแบบเยอรมันที่เรียกว่า "objective nationality" หรือสัญชาติโดยจุดประสงค์ โดยใช้สายเลือด, ชาติพันธุ์ (Race) หรือภาษาเป็นเครื่องวัด และเป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญา "subjective nationality" หรือสัญชาติโดยการพิจารณา ซึ่งเป็นการให้สิทธิสัญชาติโดยการใช้ความสัมพันธ์ของบุคคลต่อแผ่นดินที่ตั้งถิ่นฐานเป็นเครื่องวัดซึ่งเป็นปรัชญาพื้นฐานของการให้สัญชาติ “สิทธิโดยแผ่นดิน” ได้ ในปัจจุบันจำนวนผู้อพยพที่ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ไม่ใช่บ้านเกิดมีจำนวนมากขึ้นทำให้ความแตกต่างของปรัชญาสิทธิสองปรัชญานี้เริ่มจะลางเลือนขึ้น ประเทศที่อนุสัญญาว่าด้วยการลดจำนวนผู้ไร้ชาติ ค.ศ. 1961 (1961 Convention on the Reduction of Statelessness) ทำความตกลงให้สัญชาติแก่ผู้ที่ไร้สัญชาติผู้ที่เกิดในดินแดน หรือ บนเรือ หรือ บนเรือบินของชาตินั้น

ใกล้เคียง

สิทธิ สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเรียงตามประเทศหรือดินแดน สิทธิ เศวตศิลา สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย สิทธิเก็บกิน สิทธิในสุขภาพ สิทธิในอาหาร สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย สิทธิชัย ผาบชมภู สิทธิพร นิยม