การใช้เพื่อคุมกำเนิด ของ การนับระยะปลอดภัย

ผู้หญิงและคู่ของเธอสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ โดยการจำกัดการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันไว้เฉพาะช่วงไม่เจริญพันธุ์ของรอบประจำเดือน ในช่วงเจริญพันธุ์ คู่รักอาจใช้การคุมกำเนิดแบบสิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์[8]

ข้อดี

  • การนับระยะปลอดภัยไม่ต้องใช้ยา[8]
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายน้อย ผู้ใช้อาจต้องเสียเงินให้กับผู้สอน ซื้อซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือซื้อตาราง ปฏิทิน หรือเทอร์มอมิเตอร์ ค่าใช้จ่ายโดยตรงต่ำกว่าวิธีอื่น
  • สามารถใช้กับการคุมกำเนิดแบบสิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย เพื่อร่วมเพศในระยะเจริญพันธุ์ การนับระยะทำให้คู่รักสามารถใช้สิ่งกีดขวางเฉพาะเวลาจำเป็น
  • ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นการมุ่งเพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ทันทีเมื่อต้องการมีบุตร

ข้อเสีย

  • ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นช่วยขณะอยู่ในระยะเจริญพันธุ์ มิฉะนั้นจำเป็นต้องงดมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ให้ต่ำกว่า 1% ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นหรืองดมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาประมาณ 13 วันต่อรอบเดือน[9] ผู้หญิงที่มีรอบเดือนไม่ปกติ เช่น ผู้ที่กำลังให้นมบุตร ผู้กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือ ผู้ที่มีอาการรังไข่มีถุงน้ำจำนวนมาก อาจต้องงดเว้นหรือใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นแต่ละครั้งเป็นเดือน ๆ[10]
  • ประสิทธิผลในการใช้ทั่วไปต่ำกว่าวิธีแบบอื่นส่วนใหญ่[10]
  • การนับระยะปลอดภัยไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[11]

ประสิทธิผล

ประสิทธิผลของการนับระยะปลอดภัย สามารถแยกออกเป็นการใช้อย่างถูกต้อง (perfect-use) ที่นับเฉพาะผู้ใช้ที่ทำตามกฎทั้งหมดของการสังเกต ระบุระยะเจริญพันธุ์อย่างถูกต้อง และงดการร่วมเพศโดยไม่ป้องกันในวันที่ระบุว่ากำลังเจริญพันธุ์  เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดแบบอื่น และการใช้ทั่วไป (typical-use) ที่นับผู้หญิงทั้งหมดที่ใช้วิธีการนับระยะปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ รวมไปถึงพวกที่ไม่ได้ใช้อย่างถูกต้อง ประสิทธิผลที่แสดงมักมาจากการปีแรกของการใช้[12] ดัชนีเพอร์ล (Pearl Index) มักถูกใช้เพื่อคำนวนประสิทธิผลทว่างานวิจัยบางงานใช้ตารางแสดงการลดลง (decrement table)[13]

อัตราการล้มเหลวของการนับระยะปลอดภัยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้ระบุวันเจริญพันธุ์ วิธีการสอน และประชากรที่ศึกษา บางงานวิจัยพบว่าอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้แบบทั่วไปอยู่ที่ 25% ต่อปีหรือมากกว่า[14][15][16] งานวิจัยอย่างน้อยหนึ่งงานพบอัตราการล้มเหลวที่ต่ำกว่า 1% ต่อปีเมื่อมีการฝึกสอนและการทบทวนรายเดือน[17] และงานวิจัยอื่น ๆ พบอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้จริงที่ 2%–3% ต่อปี[9][18][19][20]

เมื่อได้รับการฝึกสอนอย่างสม่ำเสมอ (หรือเมื่อใช้อย่างถูกต้อง) หลายงานวิจัยพบว่าการนับระยะปลอดภัยมีประสิทธิผลถึง 99%[17][21][22][23]

เหตุผลที่ลดประสิทธิผลของการใช้ทั่วไป

หลายปัจจัยมีส่วนทำให้ประสิทธิผลของกาใช้ทั่วไปต่ำกว่าการใช้แบบถูกต้อง:

  • การตั้งใจไม่ทำตามคำนั่ง เช่น การร่วมเพศในวันที่ระบุว่าอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์โดยไม่ป้องกัน
  • ความผิดพลาดในส่วนของผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้การนับระยะปลอดภัย เช่น การที่ผู้สอนให้ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับกฎ
  • ความผิดพลาดในส่วนของผู้ใช้ (เข้าใจกฎหรือแผนภูมิผิด)

เหตุผลหลักที่ลดประสิทธิผลของการใช้ทั่วไปไม่ได้อยู่ที่ความผิดพลาดของผู้สอนหรือผู้ใช้แต่อยู่ที่การตั้งใจฝ่าฝืนคำสั่ง[9][23] กล่าวคือคู่รักรู้ว่าผู้หญิงมีโอกาสสูงที่กำลังอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์แต่ก็ยังร่วมเพศ

ใกล้เคียง

การนับระยะปลอดภัย การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ การนั่งสมาธิ การนัดหยุดงานของสมาคมอาชีพนักเขียนแห่งอเมริกา ค.ศ. 2007–2008 การนับรวมทุกกลุ่มคน การนับ การนับถอยหลัง การนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือด การนั่ง การนัดหยุดงานทั่วไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: การนับระยะปลอดภัย http://www.contraceptivetechnology.com/table.html http://www.fertilityfriend.com/Faqs/A_brief_histor... http://www.fertilityfriend.com/HelpCenter/FFBook/f... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://brown.edu/Student_Services/Health_Services/... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10500511 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17314078 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1755469 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19041435 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/59854