การบังคับบุคคลให้สูญหาย

การบังคับบุคคลให้สูญหาย[1][2] หรือภาษาปากเรียก การอุ้มหาย (อังกฤษ: forced disappearance หรือ enforced disappearance) เป็นคำในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถึง กรณีที่บุคคลถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์การการเมือง หรือผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาต การสนับสนุน หรือการรับรู้จากรัฐหรือองค์การการเมือง ลักพาตัวไป และรัฐ องค์การการเมือง หรือผู้อื่นดังกล่าว บอกปัดไม่รับรู้ชะตากรรมหรือถิ่นที่อยู่ของบุคคลที่หายตัวไป โดยจงใจจะให้บุคคลนั้นอยู่ภายนอกความคุ้มครองของกฎหมาย[3]ตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 เมื่อการบังคับบุคคลให้สูญหายนั้นกระทำเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีพลเรือนเป็นวงกว้างหรือเป็นระบบ ก็จะถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและไม่อยู่ในอายุความ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2006 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติยังได้ตกลงรับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)โดยปรกติแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่า บุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจะถูกฆ่าทิ้ง เพราะบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายในกรณีเช่นนั้นถูกลักพา หน่วงเหนี่ยวไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทรมานระหว่างการรีดเอาข้อมูล ฆ่าปิดปาก แล้วเอาศพไปซ่อน และการฆ่าดังกล่าวย่อมกระทำโดยซ่อนเร้น ส่วนศพก็มักถูกกำจัดเพื่อมิให้ถูกพบ พยานหลักฐานสำหรับพิสูจน์เกี่ยวกับความตายจึงมักได้มายากเย็น ผู้กระทำจึงสามารถบอกปัดได้ และผู้เสียหายจึงสาบสูญไปในที่สุด กรณีเช่นนี้ ภาษาปากเรียก การอุ้มฆ่ารัฐบาลไทยได้สัญญาต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2555 ว่า จะออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองบุคคลจากการถูกบังคับให้สูญหาย แต่ยังไม่มีการออกกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด[4]

ใกล้เคียง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การบัญชี การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ การบันเทิง การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าจอตา การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง การบังคับให้ฆ่าตัวตาย การบังคับใช้กฎหมายในประเทศสโลวีเนีย การบังคับบุคคลให้สูญหาย