การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมอง (อังกฤษ: Electroencephalography (EEG)) เป็นวิธีการวัดเพื่อบันทึกกิจกรรมไฟฟ้าในสมอง บริเวณรอบๆหนังศีรษะ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองจะวัดความผันผวนของไฟฟ้าเนื่องมาจากการไหลของประจุไฟฟ้าภายในเซลล์ประสาทของสมอง ในทางคลินิกนั้น การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองหมายถึงการบันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้าธรรมชาติของสมองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยใช้ขั้วไฟฟ้าหลายๆอันที่วางอยู่บนหนังศีรษะ[1] In clinical contexts, EEG refers to the recording of the brain's spontaneous electrical activity over a period of time,[1] สำหรับการวินิจฉัยโรคโดยทั่วไปมักจะดูที่สเปกตรัมความถี่ของสัญญาณ หมายถึง คาบการสั่นของเซลล์ประสาทนั้นสามารถสังเกตได้โดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองการบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองมักจะถูกใช้เพื่อวินิจฉัยโรคลมชักโดยการอ่านคลื่นสัญญาณสมองสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้[2] นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยหาอาการนอนหลับไม่ปกติ โคม่า โรคสมอง และภาวะสมองตายได้ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองเป็นวิธีการแรกในการเนื้องอกในสมองและโรคหลอดเลือดสมองรวมถึงการทำงานของสมองที่ผิดปกติอื่นๆ[3] แต่โรคเหล่านี้มักจะต้องตรวจซ้ำด้วยเครื่องมือที่แม่นยำกว่า เช่น การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ แม้การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมองจะให้ข้อมูลไม่ละเอียดในเชิงพื้นที่ แต่ความละเอียดด้านเวลาก็ทำให้วิธีการนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการวิจัยและวินิจฉัยบางชนิด โดยเฉพาะการศึกษาที่ต้องใช้ความละเอียดของเวลาระดับมิลลิวินาทีการบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมอง สามารถดัดแปลงเทคนิคได้หลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจศักยบันดล (Evoked potential) หรือการตรวจศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ (Event-related potential) อันเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในทางประชานศาสตร์ จิตวิทยาการรู้คิด และจิตสรีรวิทยา

ใกล้เคียง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การบัญชี การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ การบันเทิง การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าจอตา การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง การบังคับให้ฆ่าตัวตาย การบังคับใช้กฎหมายในประเทศสโลวีเนีย การบังคับบุคคลให้สูญหาย