การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ_พ.ศ._2564
การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ_พ.ศ._2564

การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ_พ.ศ._2564

การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 เป็นเหตุจลาจลและการโจมตีโดยใช้ความรุนแรงต่อรัฐสภาสหรัฐในสมัยประชุมที่ 117 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยเกิดจากความพยายามของบรรดาผู้สนับสนุนประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการพลิกผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2563[9] หลังเข้าร่วมการชุมนุมที่ทรัมป์จัดขึ้น ผู้สนับสนุนทรัมป์หลายพันคน[10] เดินขบวนไปตามถนนเพนซิลเวเนียก่อนที่หลายคนจะบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเพื่อขัดขวางการนับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภา และเพื่อขัดขวางกระบวนการรับรองชัยชนะของว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดิน อย่างเป็นทางการ[11][12] ผู้ก่อจลาจลได้ฝ่าวงล้อมของตำรวจ จากนั้นได้เข้ายึด ทำลาย[13][14] ฉกชิง และรื้อค้นข้าวของ[15] ในพื้นที่หลายส่วนของอาคารรัฐสภาเป็นเวลาหลายชั่วโมง[16][17][18] การบุกเข้าไปในอาคารนำไปสู่การอพยพหลบภัยและการปิดอาคารรัฐสภา และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย[19][20]หลังจากที่ได้รับการกระตุ้นจากทรัมป์[21] บรรดาผู้สนับสนุนเขาก็มารวมตัวกันในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 5 และ 6 มกราคมเพื่อสนับสนุนคำอ้างเท็จของเขาที่ว่า การเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 ถูก "ปล้น" ไปจากเขา[22] และเพื่อเรียกร้องให้รองประธานาธิบดีไมก์ เพนซ์ และรัฐสภาปฏิเสธชัยชนะของไบเดิน[23][24][25] ในการชุมนุม "เซฟอเมริกา" ที่สวนสาธารณะดิอีลิปส์เมื่อวันที่ 6 มกราคม ทรัมป์,[26][27] ดอนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์, รูดี จูลีอานี และสมาชิกรัฐสภาหลายคนกล่าวปลุกระดมกลุ่มผู้สนับสนุนทรัมป์กลุ่มหนึ่ง[28] ทรัมป์บอกให้พวกเขา "สู้สุดชีวิต" เพื่อ "เอาประเทศของพวกเรากลับคืนมา"[29][30] โดยยุให้พวกเขาเดินขบวนไปยังรัฐสภา[18] จูลีอานีเรียกร้องให้มี "การไต่สวนด้วยการประลอง"[31] และทรัมป์ จูเนียร์ ข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามประธานาธิบดีโดยกล่าวว่า "พวกเรากำลังไปหาพวกคุณ" (เขาได้เรียกร้องให้มี "สงครามเบ็ดเสร็จ" เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนเหตุจลาจล)[32][33] หลังจากเดินขบวนไปที่อาคารรัฐสภาและฝ่าแผงกั้นของตำรวจซึ่งในขณะนั้นมีจำนวนคนน้อยกว่า ผู้ประท้วงหลายคนก็เริ่มใช้ความรุนแรง พวกเขาทำร้ายตำรวจและผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ก่อตะแลงแกงในพื้นที่อาคารรัฐสภา ร้องตะโกนว่า "แขวนคอไมก์ เพนซ์" และพยายามหาตัวผู้บัญญัติกฎหมายเพื่อจับเป็นตัวประกันและทำร้าย ซึ่งรวมถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรแนนซี พิโลซี (พรรคเดโมแครตแคลิฟอร์เนีย) และเพนซ์ เนื่องจากเพนซ์ปฏิเสธที่จะพลิกความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งของทรัมป์อย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย[34][35][36][37][38]ขณะที่ผู้ก่อจลาจลเข้ามาในอาคารรัฐสภาโดยพังประตูและหน้าต่าง หน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐสภาได้อพยพผู้คนออกจากห้องประชุมต่าง ๆ ของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร อาคารทั้งหมดในหมู่อาคารรัฐสภาถูกปิด[39] ผู้ก่อจลาจลฝ่าด่านรักษาความปลอดภัยภายในและเข้ายึดห้องประชุมวุฒิสภาที่ว่างเปล่าในขณะที่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางชักปืนพกเพื่อป้องกันห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีการอพยพผู้คนออกไปแล้ว[40][41][42] ข้าวของในห้องทำงานของสมาชิกรัฐสภาหลายคนรวมทั้งพิโลซีถูกฉกชิงและทำลาย[43][44][45] มีการพบอุปกรณ์ระเบิดแสวงเครื่องในพื้นที่อาคารรัฐสภาเช่นเดียวกับที่ห้องทำงานของคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคดิโมแครต คณะกรรมการแห่งชาติของพรรคริพับลิกัน และในยานพาหนะใกล้เคียง[46][47] มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ห้าคนซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาหนึ่งนาย ในขณะที่มีผู้บาดเจ็บอีกหลายสิบคน[48]ในตอนแรก ทรัมป์ไม่ยอมส่งกองกำลังพิทักษ์ชาติประจำดิสตริกต์ออฟโคลัมเบียไปปรามปรามฝูงชนที่ก่อความวุ่นวาย[49] ในวิดีโอหนึ่งทางทวิตเตอร์ เขาเรียกผู้ก่อจลาจลว่าเป็น "ผู้รักชาติผู้ยิ่งใหญ่" และบอกให้พวกเขา "กลับบ้านอย่างสงบ" พร้อมกับย้ำคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับการเลือกตั้งซ้ำ ๆ[50][51] ท่ามกลางแรงกดดันจากฝ่ายบริหารของเขา การขู่จะถอดถอน และการลาออกของเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ทรัมป์ยืนยันว่าจะเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างเป็นระเบียบในแถลงการณ์ที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์[52][53][54][55] ฝูงชนได้สลายตัวไปจากอาคารรัฐสภาในเย็นวันนั้นและการนับคะแนนเลือกตั้งก็กลับมาดำเนินต่อและเสร็จสิ้นในช่วงเช้ามืด เพนซ์ประกาศชัยชนะของไบเดินและว่าที่รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส และกล่าวยืนยันว่าทั้งสองจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม สามวันต่อมาในวันที่ 9 มกราคม มีรายงานว่าทรัมป์บอกกับผู้ช่วยในทำเนียบขาวว่า เขารู้สึกเสียใจที่ได้แถลง "การเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างเป็นระเบียบ" ออกไป และเขาจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง[56]เหตุการณ์ดังกล่าวถูกประณามอย่างกว้างขวางจากผู้นำและองค์การทางการเมืองทั้งในสหรัฐและในระดับนานาชาติ มิตช์ แม็กคอนเนลล์ (พรรคริพับลิกันเคนทักกี) ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภา แถลงหลังจากกลับสู่ที่ประชุมรัฐสภาทันทีโดยเรียกการบุกเข้าอาคารรัฐสภาว่าเป็น "การก่อการกำเริบที่ล้มเหลว" และยืนยันว่าคำกล่าวอ้างของทรัมป์เกี่ยวกับการโกงเลือกตั้งนั้นเป็นเท็จ พิโลซีและชัก ชูเมอร์ (พรรคเดโมแครตนิวยอร์ก) ผู้นำเสียงข้างน้อยในวุฒิสภา เรียกร้องให้มีการถอดถอนทรัมป์ผ่านการใช้อำนาจตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 25 หรือผ่านการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง[57] เฟซบุ๊กล็อกบัญชีต่าง ๆ ของทรัมป์และลบข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนทวิตเตอร์ได้ล็อกบัญชีของเขาเป็นเวลา 12 ชั่วโมงในตอนแรก ก่อนที่จะระงับเป็นการถาวร[58][59]การบุกเข้าอาคารรัฐสภาได้รับการบรรยายอย่างหลากหลาย เช่นว่าเป็นการกบฏ[60] การก่อการกำเริบ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง การก่อการร้ายในประเทศ[61] และความพยายามของทรัมป์ที่จะก่อรัฐประหารตัวเอง[62] หรือก่อรัฐประหาร[63][64] เพื่อต่อต้านฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีอำนาจเท่าเทียมกันและรองหัวหน้าฝ่ายบริหารของเขาเอง เป็นต้น ผลการหยั่งความคิดเห็นแสดงให้เห็นว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการบุกเข้าอาคารรัฐสภาและไม่เห็นด้วยกับการกระทำของทรัมป์ที่นำไปสู่เหตุการณ์ดังกล่าว แต่ผู้สนับสนุนพรรคริพับลิกันบางคนก็สนับสนุนการโจมตีหรือไม่เห็นว่าทรัมป์เป็นต้นเหตุ[65][66][67][68] หนึ่งสัปดาห์หลังจากเหตุจลาจล สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติฟ้องให้ขับทรัมป์ออกจากตำแหน่งในข้อหา "ยุยงให้ก่อการกำเริบ" ทำให้เขากลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ถูกฟ้องร้องถึงสองครั้ง[69]

การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ_พ.ศ._2564

วิธีการ
ผล ความพยายามที่จะคว่ำผลการเลือกตั้งเพื่อสนับสนุนดอนัลด์ ทรัมป์ ล้มเหลว
บาดเจ็บ
  • ผู้ก่อจลาจลไม่ทราบจำนวนได้รับบาดเจ็บ, ผู้ก่อจลาจลอย่างน้อย 5 คนถูกนำส่งโรงพยาบาล[5]
  • เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 56 นาย[6][7]
สาเหตุ คัดค้านผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2563
สถานที่ อาคารรัฐสภาสหรัฐ วอชิงตัน ดี.ซี.
38°53′23.3″N 77°00′32.6″W / 38.889806°N 77.009056°W / 38.889806; -77.009056พิกัดภูมิศาสตร์: 38°53′23.3″N 77°00′32.6″W / 38.889806°N 77.009056°W / 38.889806; -77.009056
วันที่ 6 มกราคม 2564
เสียชีวิต 5 คน[1]
  • ผู้ก่อจลาจล 4 คน[2][3]
  • เจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นาย[4]
ถูกจับกุม
  • ผู้ก่อจลาจลกว่า 80 คนถูกจับกุม[8]

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกครองยูโกสลาเวีย การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ_พ.ศ._2564 http://www.theguardian.com/us-news/2021/jan/08/cap... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/issn/0190-8286 //www.worldcat.org/issn/0362-4331 https://www.news.com.au/world/north-america/us-pol... https://www.rtbf.be/info/monde/detail_insurrection... https://apnews.com/article/14c73ee280c256ab4ec193a... https://apnews.com/article/capitol-police-death-br... https://www.bbc.com/news/uk-politics-55571482 https://www.bostonglobe.com/2021/01/06/metro/heres...