ช่วงเวลา ของ การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์

ก่อนการประท้วง

ก่อนจะเกิดการประท้วงนั้น มีความไม่พอใจของประชาชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเจริญทางเศรษฐกิจหยุดนิ่ง จนกลายเป็นประเทศยากจนที่สุด 20 อันดับแรกสุดของสหประชาชาติ สหประชาชาติได้ประณามความเป็นผู้นำของกองทัพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการนำรายได้ของชาติไปใช้ในทางทหาร[9] ใน พ.ศ. 2549 ราคาของสินค้าหลายชนิดในพม่าเริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งข้าว ไข่ และน้ำมันปรุงอาหาร ซึ่งเพิ่มขึ้น 30–40% เด็ก 1 ใน 3 คนเป็นโรคขาดสารอาหาร ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐ กองทัพพม่าดำรงอยู่ในฐานะรัฐซ้อนรัฐ มีความเป็นอยู่ที่ต่างจากส่วนอื่นๆของประเทศ นายพลในกองทัพมีฐานะร่ำรวย ดังที่เห็นในงานแต่งงานของลูกสาวนายพลตันฉ่วย ซึ่งสวมเครื่องเพชรที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ[10][11] ตามรายงานของบีบีซีในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีผู้ประท้วงกลุ่มเล็กออกมาประท้วงเกี่ยวกับราคาสินค้าภายในประเทศ มีผู้ถูกจับ 9 คน ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งแรกในรอบสิบปีในย่างกุ้ง

เมษายน

กองทัพได้จับกุมประชาชน 8 คนเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ที่ออกมาประท้วงในย่างกุ้ง เรียกร้องให้ลดราคาสินค้า ปรับปรุงบริการทางด้านสุขภาพ การศึกษา การประท้วงสิ้นสุดโดยสงบภายใน 70 นาที เมื่อรัฐบาลแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะปราบปรามผู้ประท้วง มีผู้ประท้วง 2 คนได้รับบาดเจ็บ

15 สิงหาคม ปัญหาราคาเชื้อเพลิง

ในวันที่ 15 สิงหาคม รัฐบาลได้ยกเลิกเงินอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาเพิ่มขึ้นจาก 1.40 เหรียญต่อแกลลอนเป็น 2.80 เหรียญต่อแกลลอน ราคาแก๊สธรรมชาติเพิ่มขึ้น 500% ทำให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น มีประชาชนออกมาประท้วง กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกได้ให้คำแนะนำว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นการเปิดโอกาสให้ใช้ตลาดเสรีในการกำหนดราคาเชื้อเพลิง[12] โดยไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกเงินอุดหนุนโดยไม่ประกาศ เชื้อเพลิงนี้ขายโดยบริษัทน้ำมันและแก๊สเมียนมาซึ่งเป็นบริษัทของรัฐ

การประท้วงในช่วงเริ่มต้น

ในการตอบสนองต่อการเพิ่มราคาน้ำมัน ประชาชนได้เริ่มออกมาประท้วงในวันที่ 19 สิงหาคม รัฐบาลได้เริ่มจับกุมผู้ประท้วง 13 คน หนังสือพิมพ์ของรัฐ New Light of Myanmar รายงานการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงทำให้เกิดความวุ่นวายที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพและความปลอดภัยของรัฐ[13] ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 กองทัพพม่าได้เข้ามาปราบปรามการประท้วงโดยสงบในปะกกกู และทำร้ายพระสงฆ์ 3 รูป [14]ในวันต่อมา พระสงฆ์รุ่นหนุ่มในปะกกกูได้ออกมาเรียกร้องให้กล่าวคำขอโทษภายในวันที่ 17 กันยายน แต่ฝ่ายทหารปฏิเสธ ทำให้มีการประท้วงโดยพระสงฆ์เพิ่มขึ้น พร้อมกับการงดบริการทางศาสนาสำหรับกองทัพ การประท้วงได้แพร่กระจายไปทั่วพม่ารวมทั้งในย่างกุ้ง ชิตเว ปะกกกู และมัณฑะเลย์

ในวันที่ 21 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผู้เข้าร่วมการประท้วงในวันที่ 19 สิงหาคมถูกค้นบ้านโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยไม่เตือนล่วงหน้า ผู้ประท้วงถูกจำคุก 1 ปี ตามกฎหมาย 5/96 ในฐานะผู้ก่อกวนความสงบของรัฐ

การเพิ่มความรุนแรง

ในวันที่ 22 กันยายน พระสงฆ์ 2,000 รูป ออกมาเดินขบวนในย่างกุ้งและอีกพันรูปในมัณฑะเลย์ และยังมีการประท้วงในอีก 5 เมือง ขบวนได้เดินผ่านหน้าบ้านของอองซาน ซูจี[15] แม้จะอยู่ระหว่างถูกกักตัว ซูจีได้ออกมาปรากฏกายที่ประตูบ้าน ในวันที่ 23 กันยายน แม่ชี 150 คน เข้าร่วมประท้วงในย่างกุ้ง ในวันนั้น พระสงฆ์ 15,000 รูป ได้ออกมาเดินขบวนประท้วงทหารพม่า พันธมิตรพระสงฆ์พม่าทั้งมวลประกาศจะต่อต้านต่อไป จนกว่ากองทัพพม่าจะสลายตัว

24 กันยายน

การประท้วงของพระสงฆ์ในย่างกุ้ง ถือธงพุทธศาสนา

ในวันนี้ มีพยานรายงานว่ามีผู้ประท้วงในย่างกุ้ง 30,000 - 100,000 คน[16] การเดินขบวนเกิดขึ้นในเมือง 25 เมืองในพม่า ในวันนี้ รัฐมนตรีกระทรวงศาสนา นายพลทุรา มยินต์ หม่อง ออกมาเตือนพระสงฆ์ให้ยุติการประท้วง[17]

25 กันยายน

ผู้ประท้วงที่พระเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง

ในวันนี้ กองทัพได้เริ่มปราบปรามและส่งรถบรรทุกทหารไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง มีพระสงฆ์ 5,000 รูปและประชาชนเดินขบวนไปยังพระเจดีย์ชเวดากอง[18] มีการประกาศในย่างกุ้งให้ฝูงชนยุติการประท้วง อองซาน ซูจีถูกนำตัวออกจากบ้านไปยังเรือนจำอินเส่ง[19]

การปราบปรามของกองทัพ

26 กันยายน

ในวันที่ 26 กันยายน วิน ไนง์ กลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยถูกจับที่บ้านในย่างกุ้งเมื่อ 2.30 น. หลังจากนำอาหารและน้ำไปให้พระสงฆ์ที่ออกมาประท้วง แต่ถูกปล่อยตัวหลังจากคุมขังไว้ 1 คืน[20] กองทหารเข้าปืดล้อมพระเจดีย์ชเวดากอง และโจมตีกลุ่มผู้ประท้วง 700 คนด้วยแก๊สน้ำตาและกระบอง ตำรวจพร้อมโล่และกระบองเข้าขับไล่พระสงฆ์และผู้ประท้วง 200 คนที่ยังเหลืออยู่ในบริเวณใกล้ประตูทางตะวันออกของพระเจดีย์ชเวดากอง ทหารเข้าปิดล้อมบริเวณพระเจดีย์เพื่อป้องกันไม่ให้เข้ามาประท้วงอีก[21][22] แต่ล้มเหลว ยังมีพระสงฆ์ 5,000 รูปประท้วงในย่างกุ้ง บางคนสวมหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตา ในวันนั้น รายงานว่ามีอย่างน้อยมีพระสงฆ์ 3 รูป และผู้หญิง 1 คน ถูกฆ่า เมื่อกลุ่มประชาชนและพระสงฆ์ยังคงประท้วงต่อไป[23]

27 กันยายน

ในวันที่ 27 กันยายน กองทัพได้ปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง จับกุมพระสงฆ์อย่างน้อย 200 รูปในย่างกุ้ง และมากกว่า 500 รูปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[24] กองทัพได้เข้าจับกุมพระสงฆ์หลายรูปในย่างกุ้งและจุดชุมนุมในสถานที่สำคัญทางศาสนาต่างๆ มีผู้ประท้วงมากกว่า 50,000 คน ออกมาสู่ท้องถนนในย่างกุ้ง ฝ่ายทหารเตรียมใช้ยาฆ่าแมลงในการฉีดไล่ฝูงชน ซึ่งมีผู้เห็นรถบรรทุกบรรทุกเครื่องจักรและสเปรย์ฉีดยาในตลาดเทียนจีในย่างกุ้ง[25]

ในข่าวต่างๆรายงานว่าทหารได้ประกาศให้ฝูงชนสลายตัว 10 นาทีก่อนจะปราบปรามอย่างรุนแรง[26] สถานีวิทยุเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่ารายงานว่าพลเรือน 9 คน รวมทั้งช่างภาพชาวญี่ปุ่น เคนจิ นากาอิ ถูกยิงและถูกฆ่าโดยทหาร[27][28] และถูกยึดกล้องถ่ายรูปไป ทหารพม่าได้ยิงเข้าใส่ทั้งยิงขึ้นฟ้าและยิงใส่ฝูงชนที่ประท้วง มีพยานเห็นผู้ถูกยิงกว่า 100 คน นักเรียนนักศึกษากว่า 300 คนถูกจับกุม หลังจากกองทัพเคลื่อนกำลังเข้าหาฝูงชน มีผู้ประท้วงอย่างสงบ 50,000 คน ในขณะที่ทหารเข้าควบคุมสถานที่สำคัญรวมทั้งที่ทำการของรัฐบาล

ในช่วงเย็น โทรทัศน์ของรัฐบาลพม่ารายงานว่ามีผู้ถูกฆ่า 9 คนในการปราบปรามผู้ประท้วงในย่างกุ้งโดยกองทัพ มีผู้บาดเจ็บเป็นผู้ประท้วง 11 คน และทหาร 31 คน ในวันนี้ มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าครอบครัวของตัน ฉ่วยได้เดินทางออกนอกประเทศ โดยเครื่องบินของครอบครัวลงจอดที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว[29]

28 กันยายน

ในวันนี้กรุงย่างกุ้งเงียบเหงาเพราะประชาชนหวาดกลัวความรุนแรงจากกองทัพ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ กลอเรีย มากาปากัลป์ ได้เรียกร้องให้พม่าดำเนินการไปตามขั้นตอนประชาธิปไตย ฟิลิปปินส์จะระงับความช่วยเหลือทางการเงินแก่พม่าถ้าไม่ปล่อยตัวอองซาน ซูจี สหรัฐเรียกร้องให้จีนแสดงอิทธิพลต่อพม่า

รัฐบาลพม่าพยายามหยุดยั้งการประท้วงโดยตัดการให้บริการอินเทอร์เน็ต ทหารได้มุ่งเป้าในการจับกุมช่างภาพ หลังจากช่างภาพชาวญี่ปุ่นถูกทหารพม่าสังหาร นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยาซูโอะ ฟุกุดะ ได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตและเรียกร้องให้มีการสืบสวนขยายผล อาเซียนได้ถกเถียงกันเรื่องการผลักดันให้ส่งตัวแทนสหประชาชาติเข้าสู่พม่า ในขณะที่สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าใช้ความอดกลั้น

มีรายงานว่าทหารจากภาคกลางเริ่มเคลื่อนพลเข้าสู่ย่างกุ้งโดยทหารเหล่านี้มาจากศูนย์บัญชาการภาคกลางที่ตองอูและกองบัญชาการตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดของการเคลื่อนพล.[30] นายพล หม่อง อเย ซึ่งมีตำแหน่งรองลงมาจากนายพลตัน ฉ่วย[31]แสดงความไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามผู้ประท้วง และมีแผนจะเข้าพบอองซาน ซูจี บางแหล่งข่าวรายงานว่าหม่อง อเยเตรียมทำรัฐประหารล้มล้างนายพลตัน ฉ่วย และส่งทหารของเขาออกมาคุ้มกันอองซาน ซูจี และมีรายงานว่าทหารบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามประชาชน[32]

29 กันยายน

ผู้ประท้วงชาวพม่าเดินขบวนในชิคาโก

มีรายงานเตือนว่ากองทัพอาจจัดการประท้วงต่อต้านการประท้วงที่เกิดขึ้น โดยบังคับให้ประชาชนเข้าร่วม กลุ่มนักกิจกรรม 88 ได้โต้แย้งสหประชาชาติ รวมทั้งสถานทูตสหราชอาณาจักรและสหรัฐในย่างกุ้ง ให้เปิดบริการเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ด้วยไวไฟ เพื่อต่อต้านการบล็อกอินเทอร์เน็ตของรัฐบาล

มีรายงานว่าตัวแทนสหประชาชาติเข้าพบนายพลหม่อง อเย ผู้บัญชาการคนที่ 2 ของกองทัพ บีบีซีรายงานว่ามีคนหลายร้อยคนถูกจับในย่างกุ้ง มีพยานรายงานว่าผู้ประท้วงถูกล้อมรอบด้วยกองกำลังรักษาความปลอดภัยและประชาชนที่นิยมทหาร ผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติ อิบราฮิม กัมบารี ได้เดินทางมาถึงย่างกุ้งแล้วเดินทางต่อไปยังเนย์ปยีดอว์ทันทีเพื่อพูดคุยกับนายพลในกองทัพพม่า[33]

มีประชาชนออกมาประท้วงในกรุงมัณฑะเลย์ประมาณ 5,000 คน รถทหารได้ขับตามฝูงชน และพยายามแยกประชาชนออกจากกัน กองทัพบังคับให้พระที่มาจากนอกมัณฑะเลย์ให้กลับไปยังเมืองของตน มีการส่งทหารไปล้อมบ้านของอองซาน ซูจีในตอนกลางคืน

30 กันยายน

ในวันนี้ อิบราฮิม กัมบารีได้รับอนุญาตให้เข้าพบอองซาน ซูจี และได้พบปะพูดคุยกัน 90 นาทีในกรุงย่างกุ้ง[34] ตอนเช้าวันนี้ที่ถนนเวยซายันตาร์ในย่างกุ้ง พยานได้เล่าว่า มีทหารเข้ามากวาดต้อนพระสงฆ์ขึ้นรถบรรทุกไป พระที่เป็นหัวหน้ามรณภาพในวันรุ่งขึ้น[35] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น มิโตจิ ยาบุนากะ ได้เดินทางมาถึงเนปยีดอว์ในวันนี้ เนื่องจากการเสียชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่น[36]

1 ตุลาคม

พม่าอิสระ ในโอเรกอน

สิ่งกีดขวางรอบๆพระเจดีย์ชเวดากองถูกรื้อถอนออกไป แต่ทหารยังคงเฝ้าทางเข้าทั้งสี่ประตู พระสงฆ์กล่าวว่ามีพระอย่างน้อย 5 รูปถูกฆ่าระหว่างการกวาดล้าง ทหารและตำรวจยังคงเฝ้าตามจุดสำคัญในย่างกุ้ง ทำให้การประท้วงเกิดขึ้นไม่ได้[37] ทหารตรวจค้นรถเพื่อหากล้องถ่ายภาพ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือถูกรบกวน พระสงฆ์ราว 4,000 รูปเล่าว่าพวกท่านถูกล้อมโดยทหารในสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะที่ประท้วง เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าได้เผยแพร่ภาพศพของพระสงฆ์ที่ลอยใกล้ปากแม่น้ำย่างกุ้ง[38] มีผู้ประท้วง 5,000 คนในรัฐยะไข่เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด ลดราคาสินค้า และลดความดื้อดึง[39]

2 ตุลาคม

อิบราฮิม กัมบารีเข้าพบอองซาน ซูจีเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เข้าพบตัน ฉ่วย ที่เนปยีดอว์ โดยแสดงความกังวลถึงความรุนแรงที่ปะทุขึ้น[40] มีพระสงฆ์ปฏิเสธการรับบิณฑบาตจากทหาร[41] สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประชุมและอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในพม่า เรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมทั้งหมดระหว่างการประท้วง

3 ตุลาคม

พระสงฆ์ 25 รูปถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยจับกุมที่วัดในย่างกุ้งตอนกลางคืน พระสงฆ์บางส่วนพยายามหนีจากย่างกุ้ง แต่คนขับรถบัสปฏิเสธไม่รับ[42]

4 ตุลาคม

ร่างของเคนจิ นากาอิ นักวารสารชาวญี่ปุ่น ถูกส่งถึงญี่ปุ่น ต้นสังกัดของเขาเรียกร้องให้ทหารคืนกล้องของเขา[43]

5 ตุลาคม

ผู้ประท้วงต่อต้านการปราบปรามของกองทัพในพม่า ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ 5 ตุลาคม

รอยเตอร์รายงานว่าผู้ประท้วงที่ถูกจับตัวได้จะถูกจำคุก 2-5 ปี ส่วนแกนนำถูกจำคุก 20 ปี ทหารพม่าเข้าปรามปรามการประท้วงที่ยะไข่ที่ดำเนินมาได้ 3 วัน[44]

8 ตุลาคม

มีการขว้างปาก้อนหินใส่ทหารในย่างกุ้ง และสามารถจับผู้ขว้างปาก้อนหินบางคนได้ [45]

10 ตุลาคม

มีรายงานว่าวิน ชเว สมาชิกสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเสียชีวิตในสะกายง์ บริเวณภาคกลางของพม่า เขาและผู้ร่วมงานอีก 5 คน ถูกจับเมื่อ 26 กันยายน มีพยานเล่าว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยค้นบ้านเรือนผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการประท้วง ร่างของวิน ชเวไม่ได้ถูกส่งคืนให้ครอบครัวแต่ถูกเผาไป[46] มีรายงานว่านายพล 5 คน และทหารอีกราว 400 นายในพื้นที่ใกล้เคียงมัณฑะเลย์ถูกสั่งขังเพราะปฏิเสธที่จะยิงและจับกุมพระสงฆ์ระหว่างการประท้วง[47]

12 ตุลาคม

ทหารได้จับกุมอดีตผู้นำในการประท้วง พ.ศ. 2531 จำนวน 4 คน ทหารได้จัดแรลลี่เพื่อสนับสนุนรัฐบาลในย่างกุ้ง แต่มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่าที่รัฐบาลคาดหวัง[48]

16 ตุลาคม

ญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการให้เงินสนับสนุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์แก่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการกระทำของกองทัพพม่า

17 ตุลาคม

รัฐบาลปล่อยตัวแกนนำการประท้วงบางคน เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าได้กล่าวอ้างว่าประธานพรรค NLD อู จอไคน์และเลขาธิการพรรค โก มัน อ่อง ถูกจำคุก 7 ปีครึ่ง อู ทุนจี และอู ทันเป สมาชิกพรรค ถูกจำคุก 4 ปีครึ่ง อู เซ่งจออยู่ระหว่างการสอบสวน มีสมาชิกพรรคถูกจับกุมไปทั้งหมด 280 คน โดยถูกจับในมัณฑะเลย์ 50 คน[49] และอู อินทริยา พระสงฆ์ที่เป็นผู้นำการประท้วงในชิตตเวถูกจำคุก 7 ปีครึ่ง[50]

18 ตุลาคม

อดีตครู 2 คนคือ ติน หม่อง โอ และนินิไมมาขึ้นศาลหลังจากกล่าวต่อต้านกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล และถูกกลุ่มผู้สนับสนุนจับตัวเมื่อ 16 ตุลาคม ซึ่งศาลให้เข้ามาฟังคำตัดสินในวันที่ 30 ตุลาคม[51]

20 ตุลาคม

รัฐบาลทหารยังประกาศห้ามออกนอกเคหสถานในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์[52]

24 ตุลาคม

มีชนกลุ่มน้อยในพม่าราวร้อยคนได้ลี้ภัยไปยังรัฐไมโซรัม ประเทศอินเดีย ที่มีชายแดนติดต่อกับพม่าเพื่อหลีกหนีการปกครองของทหาร โดยพวกเขาถูกบังคับให้เข้าร่วมแรลลีของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและต้องจ่ายเงินถึง 10,000 จ๊าด บางส่วนถูกจับกุมเพราะเป็นบาทหลวง ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชาวฉิ่นที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งกล่าวว่าถูกบีบให้ออกจากพม่าเพราะนับถือศาสนาคริสต์และไม่ใช่ชาวพม่า[53][54]

26 ตุลาคม

ตำรวจปราบจลาจลและทหารหลายร้อยคนพร้อมไรเฟิลเข้าประจำการในถนนในย่างกุ้ง[55] ล้อมรอบพระเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์สุเลเพื่อป้องกันการประท้วงอีกรอบหนึ่ง แต่ไม่พบการประท้วงใดๆเกิดขึ้น

31 ตุลาคม

พระภิกษุมากกว่า 100 รูปเดินขบวนในเมืองปะกกกูทางตะวันตกเฉียงเหนือของย่างกุ้ง ซึ่งเป็นการเดินขบวนครั้งแรกหลังการปราบปรามของกองทัพในเดือนกันยายน.[56] พระภิกษุที่ประท้วงกล่าวกับเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่าว่า พวกเขายังไม่ได้ในสิ่งที่เรียกร้องคือค่าครองชีพที่ต่ำลง และการปล่อยตัวอองซาน ซูจีโดยทันที รวมทั้งนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังด้วย[57]

กันยายน พ.ศ. 2551

เครื่องหมายหยุด

หนึ่งปีหลังการประท้วงเริ่มต้น สัญลักษณ์ของการต่อต้านเล็กน้อยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเครื่องหมายหยุด ที่ประทับตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเตือนความจำถึงการประท้วง[58]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ http://www.abc.net.au/news/stories/2007/09/28/2046... http://www.abc.net.au/pm/content/2007/s2048164.htm http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/IH24Ae... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://burmamyanmargenocide.blogspot.com/ http://www.ko-htike.blogspot.com/ http://www.cnn.com/2007/WORLD/asiapcf/09/23/myanma... http://www.cnn.com/2007/WORLD/asiapcf/09/24/myanma... http://afp.google.com/article/ALeqM5gPUjdWUHQY4VeY... http://www.mizzima.com/MizzimaNews/News/2007/Oct/5...