ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อเหตุการณ์ ของ การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์

  •  สิงคโปร์ - โฆษกรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์ผ่านอีเมลว่า วิตกต่อข่าวการใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมในพม่าเป็นอย่างยิ่ง และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าใช้ความอดกลั้น พร้อมกับขอให้ทุกฝ่ายหาทางสร้างความปรองดองและหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการยั่วยุ พร้อมประกาศแนะให้ชาวสิงคโปร์ที่อาศัยอยู่ในพม่าไปลงชื่อในเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุจำเป็นขึ้นมา [70]
  •  ญี่ปุ่น - รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น นายมะซะฮิโกะ คุมุระกล่าวว่า ญี่ปุ่นในฐานะเป็นผู้บริจาครายใหญ่ให้แก่พม่ากำลังกดดันให้ทางรัฐบาลพม่าแสดงความอดกลั้นในการตอบโต้ผู้ประท้วง และทางญี่ปุ่นจะยังคงเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดต่อไป
  •  มาเลเซีย - รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย นายซายเอ็ด ฮามิด อัลบาร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่ามาเลเซียเชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่านั้นไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดี แต่หนทางที่ดีสุดในการแก้ไขปัญหาคือให้พยายามสร้างความสมานฉันท์พร้อมให้ดำเนินการจัดร่างรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมหวังว่าสถานการณ์คงไม่เลวร้ายลงไปจนต้องให้สหประชาชาติมาแทรกแซง [71]
  •  สหราชอาณาจักร - นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายกอร์ดอน บราวน์ เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าในทันที พร้อมเสนอให้สหประชาชาติส่งผู้แทนพิเศษไปยังพม่า [72]
  •  สหรัฐอเมริกา - ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติว่า สหรัฐฯ จะบังคับใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินนอกจากนี้ พร้อมประกาศว่าจะเพิ่มมาตรการห้ามออกวีซ่ากับคณะผู้นำรัฐบาลพม่าที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน [73]
  •  จีน - นายกรัฐมนตรีจีน นายเวิน เจีย เป่า ระบุผ่านแถลงการณ์กระทรวงต่างประเทศจีนว่าหลังได้หารือทางโทรศัพท์กับนายกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษ ทางจีนหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพม่าจะใช้ความอดทนอดกลั้น และใช้สันติวิธีทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็วที่สุด รวมถึงสนับสนุนการสร้างความสมานฉันท์และประชาธิปไตยในชาติ [74] ถึงอย่างไรก็ตาม ทางจีนก็มิได้พูดถึงเรื่องพม่าเลยในการประชุมสหประชาชาติ [75]
  • ทิเบต - องค์ทะไลลามะ ได้กล่าวว่าสนับสนุนกลุ่มพระสงฆ์ที่เรียกร้องเพื่อการอิสรภาพและประชาธิบไตย พร้อมให้พรกับกลุ่มผู้ประชุม และนางอองซานซูจี [76]
  •  สหภาพยุโรป - โฆษกของนายฮาเวียร์ โซลานา ผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า นายเฮลกา ชมิดต์ รองผู้ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของอียู ได้เรียกนาย ฮาน ตู่ อุปทูตพม่าประจำกรุงบรัสเซลส์เข้า โดยนายชมิดท์ได้เตือนว่าอียูกำลังเตรียมขยายการคว่ำบาตรกับรัฐบาลทหารพม่า พร้อมกับเตือนว่าตอนนี้อียูกำลังประสานงานกับทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของพม่าในเรื่องนี้อยู่ นอกจากนั้นนักการทูตยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ก็กำลังหารือกับตัวแทนประเทศอาเซียนทั้งหมด เพื่อกระตุ้นให้ประเทศเหล่านี้ออกมากดดันพม่าด้วย ขณะเดียวกันอียูก็กำลังวางแผนให้การช่วยเหลือชาวพม่าโดยตรงอีกด้วย [77]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ http://www.abc.net.au/news/stories/2007/09/28/2046... http://www.abc.net.au/pm/content/2007/s2048164.htm http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/IH24Ae... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://burmamyanmargenocide.blogspot.com/ http://www.ko-htike.blogspot.com/ http://www.cnn.com/2007/WORLD/asiapcf/09/23/myanma... http://www.cnn.com/2007/WORLD/asiapcf/09/24/myanma... http://afp.google.com/article/ALeqM5gPUjdWUHQY4VeY... http://www.mizzima.com/MizzimaNews/News/2007/Oct/5...