การประกาศเลิกทาส
การประกาศเลิกทาส

การประกาศเลิกทาส

การประกาศเลิกทาส (อังกฤษ: Emancipation Proclamation) หรือ คำประกาศที่ 95 (Proclamation 95) เป็นคำประกาศจากประธานาธิบดีและคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ออกโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1862 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 มันได้เปลี่ยนสถานะทางกฎหมายภายใต้กฎหมายรัฐบาลกลางของเหล่าชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่ตกเป็นทาสจำนวนกว่า 3.5 ล้านคนในรัฐสมาพันธ์โดยจากทาสให้เป็นเสรีชน ไม่นานนักที่ทาสได้หลบหนีจากการควบคุมของรัฐบาลสมาพันธ์ ไม่ว่าจะวิ่งข้ามแนวสหภาพหรือผ่านทางการรุกของกองกำลังทหารรัฐบาลกลาง ทาสก็ได้รับอิสรภาพอย่างถาวร จนในที่สุด ชัยชนะของสหภาพทำให้คำประกาศมีผลบังคับใช้ในอดีตสมาพันธรัฐทั้งหมด ทาสที่เหลืออยู่ ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในการประท้วง การได้รับอิสรภาพจากการปฏิบัติของรัฐหรือจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาครั้งที่สิบสาม ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865ด้วยการอนุมัติจากรัฐสภาแก่ลินคอล์น ในปี ค.ศ. 1862 ด้วยการจ่ายค่าชดเชยบางส่วน ยุติการเป็นทาสในเขตโคลัมเบีย จุดยืนที่ยาวนานนี้ได้ถูกประกาศว่าได้รับการแก้ไขแล้วตั้งแต่วุฒิสมาชิกรัฐอยุ่ในการก่อกบฏ ที่ขัดขวางมาตรการดัวกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง ได้ออกจากรัฐสภาในปี ค.ศ. 1861 สำหรับรัฐต่าง ๆ ลินคอล์นได้เชื่อว่า เขาไม่มีอำนาจในฐานะประธานาธิบดีเพื่อยุติการเป็นทาส ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐ อย่างไรก็ตาม ลินคอล์นไม่เพียงเป็นแค่ประธานาธิบดีเท่านั้น เขายังเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ ด้วยเหตุนี้ เขาสามารถใช้มาตรการทางทหาร คำสั่งของเขาได้ระมัดระวังในการจำกัดคำประกาศไปยังพื้นที่เหล่านั้นในการก่อจลาจล ในกรณีที่รัฐบาลพลเรือนไม่เคารพและใช้อำนาจทางทหารของเขา ดังนั้นจึงได้นำไปใช้[1] ในฐานะที่เป็นมาตรการสงคราม มันได้ทำร้ายเศรษฐกิจภาคใต้โดยลดแรงงานเกณฑ์บังคับลง ช่วยให้กองทัพฝ่ายสหภาพเข้มแข็งขึ้นโดยทำให้ทหารฝ่ายสหภาพออกจากการจากการเป็นทาสอิสระ และกล่าวโดยนัยต่อความเป็นพลเมืองผิวดำโดยยอมรับคนผิวสีในฐานะทหารและได้ให้ความไว้วางใจแก่พวกเขาด้วยอาวุธ (จนกระทั่งมาถึงจุดนี้ ไม่มีคนผิวดำอยู่ในตำแหน่งการสู้รบในกองทัพบก) คำประกาศได้ยุติโอกาสใด ๆ ของรัฐบาลสมาพันธรัฐที่ได้รับการยอมรับจากอังกฤษหรือฝรั่งเศส ซึ่งได้ต่อต้านทาสและสนับสนุนแก่ฝ่ายสหภาพได้เพิ่มมากขึ้น มันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเป้าหมายที่ระบุไว้ของสงคราม ยอมรับว่า สิ่งที่ภาคใต้อ้างมาโดยตลอด ฝ่ายสหภาพได้ต่อสู้รบในสงครามเพื่อยุติทาส ในทางจิตวิทยา มันเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามคำประกาศได้ถูกนำไปยังทุกพื้นที่ในการก่อจลาจลและทุกส่วนของสาขาฝ่ายบริหาร (รวมทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ) ของสหรัฐอเมริกา[2] มันเป็นคำประกาศอิสรภาพแก่ทาสทั้งหมดในสิบรัฐในการก่อกบฏ[3] แม้ว่ามันจะไม่รวมพื้นที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมการก่อกบฏ รวมทั้งรัฐทาสชายแดนของเดลาแวร์ แมริแลนด์ เคนทักกี และมิสซูรี ยังถูกนำไปใช้กับทาสจำนวนกว่า 3.5 ล้านคนใน 4 ล้านคนในประเทศคำประกาศได้เดินตามแบบหนึ่งในคำเตือนในฤดูร้อนภายใต้กฎหมายยึดทรัพย์ที่สอง ได้ยินยอมให้ผู้สนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐมีเวลาภายใน 60 วันเพื่อยอมจำนน หรือจะต้องเผชิญกับการยึดที่ดินและทาส คำประกาศยังออกคำสั่งให้บุคคลที่เหมาะสมในหมู่เสรีชนสามารถลงทะเบียนในบริการชำระเงินของกองทัพสหรัฐและคำสั่งแก่กองทัพสหภาพ (และทุกส่วนของสาขาผู้บริหาร) เพื่อ "ยอมรับและรักษาอิสรภาพแก่" อดีตทาส คำประกาศไม่ได้จ่ายค่าชดเชยแก่เจ้าของ ไม่มีความผิดกฎหมายทาส และไม่ได้ให้สิทธิการเป็นพลเมืองแก่อดีตทาส (เรียกว่า เสรีชน) แต่นอกเหนือจากเป้าหมายของการรักษาฝ่ายสหภาพ ความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของรัฐบาลกลางที่ประกาศว่าทาสเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แม้ว่าในจำนวนที่จำกัด มีขนาดใหญ่มาก เป็นครั้งแรกที่สหภาพ (ประเทศ) ได้มุ่งมั่นโดยส่วนร่วมเพื่อที่จะยุติทาสไปทั่วทุกที่ นั่นหมายความว่า ทาสที่หลบหนีรอดมาได้จะไม่ถูกส่งไปทางใต้อีกต่อไป เมื่อกฎหมายทาสที่หลบหนีที่เป็นที่เกลียดชังได้จบสิ้นลง นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่าอดีตทาสยังสามารถเข้าร่วมกับกองทัพเข้าต่อสู้กับเจ้าของเดิม โดยใช้อาวุธที่กองทัพฝ่ายเหนือจัดหาให้ ในไม่ช้าจะจัดหากองทหารใหม่ให้แก่กองทัพสหภาพ แต่ผลกระทบทางจิตวิทยาของมันก็มหาศาลเช่นกัน นี่เป็นฝันร้ายของทางใต้: ทาสได้ก่อการประท้วงที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเหนือทาสราวประมาณ 25,000 คน ถึง 75,000 คน ได้รับการปล่อยทันทีในภูมิภาคของสมาพันธรัฐซึ่งกองทัพสหรัฐได้เข้าควบคุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันไม่สามารถบังคับในพื้นที่ที่ยังอยู่ในการก่อการจลาจลได้ แต่เมื่อกองทัพฝ่ายสหภาพได้เข้าควบคุมภูมิภาคสมาพันธรัฐ คำประกาศได้กำหนดกรอบทางกฎหมายเพื่อปลดปล่อยทาสมากกว่าสามล้านและครึ่งล้านคนในภูมิภาค ก่อนที่จะมีคำประกาศนี้ ตามกฎหมายทาสที่หลบหนีในปี ค.ศ. 1850 ทาสที่หลบหนีก็จะถูกส่งตัวกลับไปยังเจ้านายของพวกเขาหรือถูกกักตัวไว้ในค่ายพักพิงเพื่อส่งกลับคืนในภายหลัง คำประกาศนี้ใช้ได้เพียงกับทาสในดินแดนที่ให้ความช่วยเหลือแก่สมาพันธรัฐ ไม่ได้ใช้กับผู้ที่อยู่ในรัฐทาสทั้งสี่ที่ไม่ได้ร่วมกันก่อการกบฏ (เคนทักกี แมริแลนด์ เดลาแวร์ และมิสซูรี ซึ่งไม่มีอยู่ในรายชื่อ) หรือไม่ก็ไปยังรัฐเทนเนสซี (ไม่มีอยู่ในรายชื่อ แต่ถูกยึดครองโดยกองทัพฝ่ายสหภาพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862) และรัฐลุยเซียนาตอนล่าง (ยังตกอยู่ภายใต้การยึดครอง) และยกเว้นโดยเฉพาะกับมณฑลของรัฐเวอร์จิเนียที่ในไม่ช้าที่จะก่อตั้งรัฐเวสต์เวอร์จิเนียขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการยกเว้นโดยเฉพาะ (ตามชื่อ) บางภูมิภาคได้ถูกควบคุมโดยกองทัพฝ่ายสหภาพ การเลิกทาสในสถานที่เหล่านี้จะมาหลังการปฏิบัติของรัฐแบ่งแยก (เช่นในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย) หรือเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 การให้สัตยาบันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่สิบสาม ซึ่งทำให้ทาสและทาสผูกมัด (Indentured servitude) ยกเว้นผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา โดยผิดกฎหมายทุกที่ภายใต้อำนาจเขตอำนาจศาลของสหรัฐอเมริกา[4]เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1862 ลินคอล์นได้ออกประกาศคำเตือนเบื้องต้นว่า เขาจะออกคำสั่งให้ปลดปล่อยทาสทุกคนในรัฐใด ๆ ที่ยังไม่เลิกก่อจลาจลกับสหภาพในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863[5][6] ไม่มีรัฐสมาพันธ์ใดได้ปฏิบัติเช่นนั้น และคำสั่งของลินคอล์นได้ลงนามและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 คำประกาศเลิกทาสได้สร้างความโกรธแค้นเคืองแก่ชาวใต้ผิวขาวและคณะผู้ฝักใฝ่ของพวกเขา ที่เห็นว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามทางเชื้อชาติ เช่น ในเฮติ มันทำให้บางคนในพรรคเดโมแครตฝ่ายเหนือโกรธเคือง ผู้นิยมการเลิกทาส และบ่อนทำลายชาวยุโรปที่ต้องการแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือสมาพันธรัฐ[7] คำประกาศนี้ได้ยกวิญญาณของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันทั้งเป็นเสรีชนและทาส มันได้นำให้ทาสหลายคนหลบหนีจากผู้เป็นนายและไปยังแนวของฝ่ายสหภาพเพื่อได้รับอิสรภาพของพวกเขาและเข้าร่วมกองทัพฝ่ายสหภาพคำประกาศเลิกทาสได้ขยายขอบเขตของเป้าหมายของสงครามกลางเมือง ในขณะที่ทาสเป็นปัญหาสำคัญที่นำไปสู่สงคราม มีเพียงเป้าหมายเดียวของลินคอล์นที่ได้ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มสงครามเพื่อรักษาฝ่ายสหภาพ คำประกาศนี้ได้ทำการปลดปล่อยทาสที่เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนของความพยายามทำสงครามของฝ่ายสหภาพ การยกเลิกทาสเป็นหนึ่งในสองเป้าหมายหลักในการทำสงครามเพื่อขัดขวางการแทรกแซงของอังกฤษและฝรั่งเศส[8] คำประกาศการเลิกทาสไม่เคยถูกท้าทายในศาล เพื่อให้แน่ใจว่าการยกเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ลินคอล์นได้ผลักดันให้ผ่านกระบวนการแก้ไขญัตติครั้งที่สิบสาม และยืนยันว่าแผนฟื้นฟูแก่รัฐทางใต้จำเป็นต้องยกเลิกในรัฐธรรรมนูญฉบับใหม่ รัฐสภาได้ผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 13 โดยการลงคะแนนสองในสามที่สำคัญ เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1865 และเป็นที่ยอมรับโดยรัฐในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1865 เป็นอันยุติการเป็นทาสทางกฎหมายในสหรัฐอเมริกา[9]

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประกาศเลิกทาส http://edsitement.neh.gov/lesson-plan/emancipation... https://books.google.com/books?id=gVvZb5oeVtwC https://www.archives.gov/exhibits/american_origina... https://www.archives.gov/exhibits/charters/constit... https://www.archives.gov/exhibits/featured-documen... https://www.loc.gov/rr/program/bib/ourdocs/13thame... https://archive.org/details/executivebrancho0000di... https://archive.org/details/executivebrancho0000di...