เหตุการณ์ภายหลังพายุหมุนนาร์กิส ของ การประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญพม่า_พ.ศ._2551

ดูเพิ่มเติมที่: พายุหมุนนาร์กิส

ถึงแม้ว่าจะบังเกิดภาวะมหันตภัยเพราะพายุหมุนนาร์กิสในพม่าไม่กี่วันก่อนวันออกเสียงประชามติ แต่ในเบื้องแรกรัฐบาลทหารพม่าคงยืนยันว่าจะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญพม่าตามที่กำหนดไว้ในวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2551 ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากทั้งพรรคฝ่ายค้านของนางออกซาน ซูจี และจากนานาชาติ โดยในวันที่ 8 พฤษภาคม ผู้ประท้วงสามสิบคนได้ไปชุมนุมหน้าสถานเอกอัครรัฐทูตพม่าประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าเลื่อนการประชามติ และให้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ คณะผู้ชุมนุมออกแถลงการณ์ว่า บัดนี้ไม่ใช่เวลาสำหรับการเมือง หากเป็นเวลาแก้ไขเยียวยาสถานการณ์ ซึ่งในวันเดียวกัน รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาได้ร้องขอต่อสหประชาชาติมิให้รับรองการประชามติดังกล่าว และนางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งสหภาพพม่าเพื่อประชาธิปไตย ออกมาแถลงว่า การจัดให้มีการออกเสียงประชามติท่ามกลางภาวะทุกข์เข็ญเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างยิ่ง[7] ต่อมาได้มีประกาศเลื่อนการประชามติเฉพาะนครย่างกุ้งและพื้นที่ประสบพิบัติภัยไปเป็นวันที่ 24 พฤษภาคม 2551[8]

[9]อนึ่ง ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2551 สำนักข่าวมิซซิมา (Mizzima) แห่งสหภาพพม่าได้จัดให้มีการสำรวจความคิดเห็นของชาวพม่าว่าด้วยการประชามติครั้งนี้ การสำรวจดำเนินการผ่านการสอบถามทางโทรศัพท์และการสัมภาษณ์ซึ่งหน้า สิริจำนวนผู้ตอบการสำรวจสี่ร้อยสิบหกคน เป็นชายสองร้อยสิบแปดคน หญิงหนึ่งร้อยเก้าสิบแปดคน ในจำนวนนี้ประกอบไปด้วยนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ กรรมกร แม่บ้าน และอื่น ๆ ผลดังนี้[ต้องการอ้างอิง]

การสำรวจผลในรูปร้อยละผลโดยจำนวนผู้ตอบ (คน)
จะไปออกเสียงประชามติไหม64% ไป
24% ไม่ไป
12% ยังไม่ได้ตัดสินใจ
268 : ไป
49 : ไม่ไป
99 : ยังไม่ได้ตัดสินใจ
รู้ไหมว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร71% ไม่รู้
19% รู้
10% ไม่ตอบ
295 : ไม่รู้
81 : รู้
40 : ไม่ตอบ
จะออกเสียงว่าอย่างไร52% ยังไม่ได้ตัดสินใจ
28% ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
17% รับร่างรัฐธรรมนูญ
3% ไม่ได้ใส่ใจ
218 : ยังไม่ได้ตัดสินใจ
115 : ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
71 : รับร่างรัฐธรรมนูญ
12 : ไม่ได้ใส่ใจ
ทำไมถึงไปออกเสียง61% รู้ว่าควรไปใช้สิทธิ
20% เหตุผลอื่น
10% ไม่ตอบ
6% ถูกบังคับ
3% ถูกซื้อเสียง
254 : รู้ว่าควรไปใช้สิทธิ
82 : เหตุผลอื่น
44 : ไม่ตอบ
24 : ถูกบังคับ
12 : ถูกซื้อเสียง
พื้นที่ที่สำรวจ36% นครย่างกุ้ง
14% เขตอิรวดี
13% นครมัณฑะเลย์
13% นครหงสาวดี
12% รัฐยะไข่
12% เขตมาเกว
0% เขตสะกาย
148 : นครย่างกุ้ง
58 : เขตอิรวดี
56 : นครมัณฑะเลย์
55 : นครหงสาวดี
49 : รัฐยะไข่
48 : เขตมาเกว
2 : เขตสะกาย
อายุของผู้ตอบ29% 34—40 ปี
24% 24—30 ปี
20% 41—50 ปี
10% 18—23 ปี
9% 60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป
8% 51—60 ปี
122 : 34—40 ปี
98 : 24—30 ปี
82 : 41—50 ปี
43 : 18—23 ปี
36: 60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป
35 : 51—60 ปี

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญพม่า_พ.ศ._2551 http://www.abc.net.au/ra/news/stories/200804/s2213... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/636... http://english.eastday.com/eastday/englishedition/... http://ap.google.com/article/ALeqM5greyFH3qkj9mc9o... http://newsinfo.inquirer.net/breakingnews/world/vi... http://web.archive.org/web/20080504072706/http://w... http://www.southasiaanalysis.org/%5Cpapers27%5Cpap... http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotn... http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7236... http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7338815.st...