การประชุมใหญ่เบอร์ลิน

การประชุมใหญ่เบอร์ลิน (13 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1878) เป็นการประชุมของผู้แทนหกมหาอำนาจในเวลานั้น (รัสเซีย บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลีและเยอรมนี) จักรวรรดิออตโตมันและสี่รัฐบอลข่าน (กรีซ เซอร์เบีย โรมาเนียและมอนเตเนโกร) มีเป้าหมายเพื่อตัดสินดินแดนของรัฐในคาบสมุทรบอลข่านหลังสงครามรัสเซีย-ตุรกี ค.ศ. 1877–78 และสิ้นสุดลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาเบอร์ลิน ให้แทนที่สนธิสัญญาซานสเตฟาโนซึ่งลงนามเมื่อสามเดือนก่อนระหว่างรัสเซียและจักรวรรดิออตโตมันนายกรัฐมนตรีเยอรมัน อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ผู้นำการประชุมใหญ่ ยอมรับเพื่อทำให้คาบสมุทรบอลข่านมีเสถียรภาพ รับรองอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันที่ลดลงและถ่วงดุลผลประโยชน์ของบริเตน รัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี ขณะเดียวกันเขาพยายามลดการได้ประโยชน์ของรัสเซียในภูมิภาคและป้องกันการเกิดบัลแกเรียใหญ่ (Greater Bulgaria) ผลทำให้ดินแดนของออตโตมันในทวีปยุโรปลดลงอย่างมาก มีการตั้งบัลแกเรียเป็นราชรัฐเอกราชภายในจักรวรรดิออตโตมัน คืนรูเมเลียตะวันออกให้แก่ออตโตมันภายใต้การปกครองพิเศษและคืนภูมิภาคมาซิโดเนียให้แก่ออตโตมันซึ่งสัญญาว่าจะปฏิรูปโรมาเนียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ โดยถูกบีบให้มอบเบสซาราเบียบางส่วนให้รัสเซีย โรมาเนียได้นอร์ทเทิร์นตอบรูจา เซอร์เบียและมอนเตเนโกรได้รับเอกราชสมบูรณ์ในท้ายสุด แต่มีดินแดนเล็กลง ส่วนออสเตรีย-ฮังการียึดครองภูมิภาคแซนด์ซาค[1] ออสเตรีย-อังการียังได้ควบคุมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และบริเตนได้ไซปรัสผลทีแรกได้รับการยกย่องว่าเป็นความสำเร็จใหญ่หลวงในการสร้างสันติภาพและการรักษาเสถียรภาพ ทว่า ในระยะยาว ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและออสเตรีย-ฮังการีทวีความรุนแรงขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาเชื้อชาติในคาบสมุทรบอลข่าน การประชุมใหญ่มุ่งทบทวนสนธิสัญญาซานสเตฟาโนและคงคอนสแตนติโนเปิลให้อยู่ในมือของออตโตมัน การประชุมนี้มีผลไม่ยอมรับชัยของรัสเซียเหนือจักรวรรดิออตโตมันในสงครามรัสเซีย-ตุรกี การประชุมใหญ่คืนดินแดนให้จักรวรรดิออตโตมันซึ่งสนธิสัญญาเดิมมอบให้แก่ราชรัฐบัลแกเรีย ที่สำคัญที่สุดคือมาซิโดเนีย ก่อให้เกิดข้อเรียกร้องแก้แค้น (revanchist) อย่างเข้มข้นในบัลแกเรีย ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ไม่พอใจอย่างจริงจัง และความไม่พอใจต่อผลลัพธ์คงอยู่จนปะทุเป็นสงครามบอลข่านสองครั้งใน ค.ศ. 1912–1913 จนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 1914 เซอร์เบีย บัลแกเรียและกรีซได้ดินแดนเพิ่ม แต่ทั้งหมดน้อยกว่าที่ประเทศเหล่านั้นคิดว่าตนสมควรได้รับทั้งสิ้น

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท