การประท้วงกรณีจอร์จ_ฟลอยด์
การประท้วงกรณีจอร์จ_ฟลอยด์

การประท้วงกรณีจอร์จ_ฟลอยด์

การประท้วงกรณีจอร์จ ฟลอยด์ (อังกฤษ: George Floyd protests)[3][4] เป็นกลุ่มการประท้วงและจลาจลที่กำลังดำเนินอยู่[5] เพื่อตอบโต้การใช้ความรุนแรงของตำรวจสหรัฐและคตินิยมเชื้อชาติ เริ่มต้นจากการประท้วงระดับท้องถิ่นในเขตมหานครมินนีแอโพลิส–เซนต์พอล รัฐมินนิโซตา ก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วสหรัฐและทั่วโลก การประท้วงนั้นเริ่มต้นขึ้นในมินนีแอโพลิสเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 หลังชายผิวดำชื่อ จอร์จ ฟลอยด์ เสียชีวิตเนื่องจากเดริก ชอวิน ตำรวจเมืองมินนีแอโพลิส (เอ็มพีดี) กดเข่าลงบนคอของฟลอยด์เป็นเวลา 8 นาที 46 วินาที ระหว่างการจับกุมฟลอยด์ในคืนก่อนหน้า[6]ในการประท้วงที่สถานีตำรวจมินนีแอโพลิส เขต 3[7] ผู้เดินขบวนได้ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยาง[8][9] ในวันที่ 27 พฤษภาคม ชายคนหนึ่งถูกยิงจนเสียชีวิตโดยเจ้าของโรงรับจำนำที่คิดว่าชายผู้นั้นกำลังขโมยของ และกระจกหน้าต่างของสถานีตำรวจเขต 3 ได้ถูกทุบทำลาย ร้านค้าหลายร้านถูกบุกทำลาย ปล้น และวางเพลิง[10]เป็นเวลาหลายวันหลังการเสียชีวิตของฟลอยด์ ผู้ประท้วงหลายร้อยคนได้มาชุมนุมที่ทางเข้าบ้านของชอวิน (ตำรวจผู้วางเข่าบนคอฟลอยด์) ทำให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาควบคุมเหตุการณ์[11] ต่อมาในวันที่ 28 เจคอบ เฟรย์ นายกเทศมนตรีเมืองมินนีแอโพลิส ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และทิม วอลซ์ ผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา ได้ร้องขอเจ้าหน้าที่จากกองกำลังป้องกันชาติมินนิโซตาจำนวน 500 นายเข้ามาประจำการ[12] ไม่เกินเช้าวันถัดมา ธุรกิจร้านค้าต่าง ๆ ในมินนีแอโพลิส–เซนต์พอลได้ถูกปล้นและทำลายเพิ่มอีก เจ้าหน้าที่ตำรวจมินนีแอโพลิสในอาคารสถานีตำรวจเขต 3 พยายามสกัดกั้นผู้ประท้วงโดยใช้แก๊สน้ำตา แต่ต่อมาในเวลาประมาณห้าทุ่ม ผู้ประท้วงได้บุกเข้าไปในอาคารสถานีและจุดไฟเผาอาคารหลังจากที่ทุกคนได้อพยพออกมาจากอาคารแล้ว[13] การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในวันที่ 30 ทิม วอลซ์, เจคอบ เฟรย์ และเมลวิน คาร์เตอร์ นายกเทศมนตรีเมืองเซนต์พอล ได้ประกาศเคอร์ฟิว[14] ประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ได้ยืนยันกับวอลซ์ว่า กองทัพสหรัฐพร้อมเข้าช่วยเหลือในเหตุการณ์หากจำเป็น[15][16]ณ วันที่ 31 มีการประท้วงพร้อมกันในมากกว่า 100 เมืองในสหรัฐและนอกสหรัฐ เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับฟลอยด์ พร้อมทั้งเป็นการชี้ให้เห็นถึงปัญหาการใช้ความรุนแรงของตำรวจในสหรัฐ เมืองสำคัญที่มีการประท้วง เช่น แอตแลนตา, บอลทิมอร์, เบอร์มิงแฮม, บอสตัน, ชาร์ลอตต์, ชิคาโก, โคลัมบัส, แดลลัส, เดนเวอร์, ดีทรอยต์, ฟอร์ตลอเดอร์เดล, ฮิวส์ตัน, อินเดียแนโพลิส, แจ็กสันวิลล์, แคนซัสซิตี, ลาสเวกัส, ลอสแอนเจลิส, ลุยส์วิลล์, ไมแอมี, มอนทรีออล, แนชวิลล์, นิวออร์ลีนส์, นครนิวยอร์ก, ฟิลาเดลเฟีย, ฟีนิกซ์, พิตต์สเบิร์ก, พอร์ตแลนด์ (รัฐออริกอน), ริชมอนด์ (รัฐเวอร์จิเนีย), ซอลต์เลกซิตี, ซานฟรานซิสโก, ซีแอตเทิล, แทมปา, โทรอนโต, ทัลซา, แวนคูเวอร์, วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นต้น ในเมืองสำคัญอย่างน้อย 12 เมืองได้มีการประกาศเคอร์ฟิวในเย็นวันที่ 30 พฤษภาคม[17] นับตั้งแต่การเริ่มประท้วงจนถึงคืนวันที่ 31 มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 4,400 คน[2]

การประท้วงกรณีจอร์จ_ฟลอยด์

วิธีการ การประท้วง, การเดินขบวน, การดื้อแพ่ง, การต่อต้านโดยสันติวิธี, การฉกชิงทรัพย์, การทำร้ายร่างกาย, การลอบวางเพลิง และการทำลายทรัพย์สิน
สาเหตุ
สถานะ ดำเนินอยู่
สถานที่ ทั่วสหรัฐ,
นอกสถานทูตและสถานกงสุลสหรัฐในประเทศอื่น ๆ
วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 – ปัจจุบัน
(6 months, 3 weeks and 3 days)
เสียชีวิต
  • 11 คน
ถูกจับกุม มากกว่า 4,400 คน[2]

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประท้วงกรณีจอร์จ_ฟลอยด์ https://abc7.com/6216662/ https://apnews.com/55933b8695e36337a6bfe96728b3e7f... https://edition.cnn.com/us/live-news/george-floyd-... https://www.cnn.com/2020/05/27/us/minneapolis-prot... https://www.foxnews.com/us/armed-citizens-guard-st... https://www.foxnews.com/us/george-floyd-cities-bra... https://www.mediaite.com/uncategorized/officials-s... https://www.nbcnews.com/news/us-news/curfews-go-ef... https://www.nydailynews.com/news/national/ny-georg... https://www.salon.com/2020/05/30/a-lynching-withou...