ลำดับเหตุการณ์ ของ การประท้วงในประเทศพม่า_พ.ศ._2564

กุมภาพันธ์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ มินอ่องไลท์ ได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย ซึ่งนำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้สนับสนุนการรัฐประหารในพม่า แต่พลเอกประยุทธ์มิได้ตอบจดหมายดังกล่าว เพียงแต่กล่าวว่าเพื่อรักษามิตรภาพอันดีต่อกัน[19]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ คณะรัฐประหารพม่าเริ่มมีการฆ่าผู้เห็นต่างทางการเมืองในเมืองทวาย มีผู้เสียชีวิตจากการถูกยิง 3 ศพ ในขณะเดียวกันหลายเมืองใหญ่ในเมียนมาเต็มไปด้วยผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหาร ขานรับปฏิกิริยาการแสดงอารยะขัดขืนของจอ โม ทุน ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ออกมาชู 3 นิ้ว ประณามการยึดอำนาจ "รัฐประหาร" กลางที่ประชุมสหประชาชาติจนถูกปลด และโดนยัดเยียดมีพฤติกรรมทรยศชาติจากข้ออ้างของฝ่ายทหาร[20]

มีนาคม

วันที่ 4 มีนาคม มีการปราบจลาจลขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ ทำให้ น.ส.มะแจซิน นึกศึกษาชาวพม่าเชื้อสายจีนวัย 19 ปี ถูกกระสุนปืนของตำรวจยิงที่ศีรษะเสียชีวิต [21]ศพของเธอถูกทหารและตำรวจพม่าขุดเพื่อชันสูตร 2 วันต่อมา โดยแถลงว่าเธอไม่ได้ถูกกระสุนปืน ทำให้เธอถูกยกย่องให้เป็น"นางฟ้าประชาธิปไตย"ในหมู่กลุ่มผู้ประท้วง[22]

วันที่ 5 มีนาคม รัฐบาลสหรัฐได้ทำการอายัดบัญชีกองทุนเมียนมาจำนวนกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท ที่ถูกเก็บไว้ในธนาคารกลางสหรัฐฯ ในนครนิวยอร์ก (New York Fed)[23]

วันที่ 20 มีนาคม ทางกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU)ได้กล่าวว่า ทางทหารไทยได้มีการแอบส่งเสบียงให้แก่กองทัพพม่า ซึ่งทางกองทัพภาคที่ 3 ของไทยได้ออกมาปฏิเสธ ในระหว่างที่เลขาธิการแห่งสหประชาชาติและนานาชาติได้ร่วมกันประณามความรุนแรงในพม่า[24]

วันที่ 24 มีนาคม ประชาชนพม่าได้ทำการประท้วงเงียบต่อต้านทหารพม่าอยู่ที่บ้าน[25]

วันที่ 25 มีนาคม สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงมีปฏิบัติการทางทหารต่อทหารพม่า สังกัดกองพันเคลื่อนที่เร็ว ที่ 341 ฐานตรงข้ามบ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เคยเข้ามารับข้าวสารจากไทยที่บ้านแม่สามแลบ โดยกลุ่มกะเหรี่ยง KNU ได้ซุ่มโจมตีทหารพม่า ทำให้ทหารพม่าเสียชีวิตไป 3 นาย และบาดเจ็บอีก 2 นาย

วันที่ 27 มีนาคม กองทัพพม่าได้สังหารประชาชนกว่าร้อยคนในวันกองทัพ[26] โดยมีรัสเซีย, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน, บังคลาเทศ, เวียดนาม, ลาว และไทยส่งทูตเข้าร่วม ขณะที่ทางกองทัพชาติพันธมิตรอย่าง สหรัฐ, สหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, แคนาดา, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และประเทศในสหภาพยุโรปได้แถลงการณ์ประณามการกระทำของทหารและตำรวจพม่า[27]

กองพลน้อยที่ 5 ของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ทำการถล่มฐานที่มั่นของทหารพม่า สังกัดกองพันทหารราบที่ 73 (ฐานเซหมื่อท่า) เลยแมนือท่าไปประมาณ 2 กม. ตรงข้ามชายแดนไทย-เมียนมา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยึดได้อาวุธ กระสุน อุปกรณ์สื่อสาร และยุทธภัณฑ์จำนวนมาก[28] คืนวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. กองทัพอากาศพม่าได้เข้าโจมตีกองพลน้อยที่ 5 ของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ที่บ้านเดปู่โน๊ะ เขต อ.มูตรอ จ.ผาปูน รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ตรงข้ามพื้นที่บ้านแม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้มีราษฎรเสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศ จำนวน 2 คน และได้รับบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 20 คน[29] ทางกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติรายงานว่า มีเด็กถูกกระสุนปืนจริงจากทหารเสียชีวิตกว่า 10 คน และมีเด็กอายุ 1 ขวบ ถูกกระสุนยางยิงเข้าที่นัยน์ตาขวา ซึ่งในขณะเดียวกันสำนักข่าว Myanmar Now รายงานว่ากำลังทหารเปิดฉากยิงประชาชนที่เมืองเอามเยตาซัน ในมณฑลมัณฑะเลย์ เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.[30] โดยสหประชาชาติรายงานว่า การปราบปรามประชาชนวันกองทัพพม่า มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 107 คน ขณะที่ข้อมูลที่รวบรวมโดย Myanmar Now ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 114 คน[31]

วันที่ 28 มีนาคม กองทัพอากาศพม่าเข้าโจมตีหมู่บ้านในรัฐกะเหรี่ยงทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ทำให้ชาวกะเหรี่ยงราว 3,000 คนหลบหนีเข้าฝั่งไทย[32] ในวันเดียวกันที่ประเทศไทยมีการจัดการจัดประกวด มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2020 และช่วงหนึ่งของการประกวด ทางพิธีกรได้เชิญ น.ส.ฮาน เลย์ มิสแกรนด์เมียนมา(Miss Grand MYANMAR) ได้ขึ้นเวทีกล่าวสุนทรพจน์ เพื่อแสดงจุดยืนตามคอนเซปต์ของเวที มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ยุติสงครามและความรุนแรง(STOP THE WAR & VIOLENCE) หลังจากทหารพม่าได้ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบปราบปรามประชาชนมาตลอด โดยที่เธอได้กล่าวสุนทรพจน์ออกมาทั้งน้ำตา[33]

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเอ็นของ 2 คนได้แก่ อลิซ ไวริมู เอ็นเดอริตู (Alice Wairimu Nderitu) ที่ปรึกษาพิเศษของสหประชาชาติด้านการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ และมิเชล บาเชเล สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อประณามรัฐบาลพม่าหลังจากที่มีการนองเลือดเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของพม่าจากน้ำมือของกองทัพที่มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 400 ราย ณ วันที่แถลงการณ์ฉบับนี้ออกมา[34]

วันที่ 29 มีนาคม จำนวนผู้เสียชีวิตจากการถูกทหารพม่าอยู่ที่ 459 คน นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในพม่าเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา อีกทั้งยังมีการบุกยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่พยาบาลภายในโรงพยาบาล[35] ด้านผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติต่อกรณีเมียนมาออกมาระบุว่า กองทัพพม่ากำลังทำการสังหารหมู่ประชาชน และคว่ำบาตรการซื้อขายอาวุธกับพม่า[36] ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดินได้แถลงการณ์ประณามความรุนแรงและเหตุนองเลือดดังกล่าว[37] โดยเผยว่า "เป็นเรื่องที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง และมีผู้คนจำนวนมากที่ถูกฆ่าตายโดยไม่จำเป็น และมีทั้งเด็กและผู้หญิงที่ต้องตายแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลย"[38] เจ้าหน้าที่ฝั่งไทยได้มีการจับอาวุธสงครามที่เตรียมส่งไปยังท่าขี้เหล็ก[39][40] ในขณะเดียวกันทางทหารกองทัพภาคที่ 3 และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทยตามชายแดนได้มีการผลักดันผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงหลายพันคนออกจากชายแดนไทยเพื่อให้กลับไปพม่า แต่ทางเจ้าหน้าที่ของไทยได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว และยังกีดกันสื่อไทยไม่ให้เข้าพื้นที่เพื่อทำข่าว[41]

วันที่ 30 มีนาคม สหรัฐอเมริกาได้ประกาศระงับการค้ากับพม่าอย่างเป็นทางการ[42] ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โฟมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เดินทางเยือนพม่า ทำให้ถูกวิพากวิจารณ์ในเหล่านักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวหาว่า รัฐบาลรัสเซียกำลังให้การรับรองคณะรัฐประหารของพม่า ในขณะที่พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ บอกว่ารัสเซียคือ “เพื่อนแท้”[43] ในวันเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมที่มัณฑะเลย์และย่างกุ้งได้ทำการเทขยะขวางถนน ซึ่งในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตของประชาชนพม่าอยู่ที่ 510 ศพ สื่อสิงคโปร์ได้รายงานว่ากองทัพพม่าได้มีการเริ่มใช้อาวุธหนักกับประชาชน ทางกองทัพเบิกเครื่องยิงจรวดเพื่อใช้ยิงประชาชน โดยอ้างว่าใช้เพื่อปราบจลาจลและผู้ก่อการร้าย และมีการประกาศกฎอัยการศึก[44] [45]

กองทัพบุกโจมตีทางอากาศ ทิ้งระเบิดลงเหมืองทองของ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ใน อ.ญองเล่บีน จ.พะโค เป็นเหตุให้มีคนงานเสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บอีก 5 ราย มีรถสิบล้อไฟไหม้เสียหาย 4 คัน รถแบคโฮเสียหายอีก 3 คัน ผู้บัญชาการกองพลที่ 3 ของกลุ่มกะเหรี่ยง KNU เปิดเผยว่ากองทัพได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศในวันที่ 30 มี.ค.เวลา 12.00 น. โดยทิ้งระเบิดเป็นเหตุให้มีคนงานที่กำลังร่อนทองในลำห้วยเสียชีวิตทันที 7 ราย โดยในบรรดาผู้บาดเจ็บ 5 รายเป็นสมาชิกของกองกำลัง KNU เพียง 1 ราย ที่เหลือเป็นคนงานซึ่งชาวบ้านในพื้นที่[46]

กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอพยพเจ้าหน้าที่สถานทูตและครอบครัวบางส่วนออกจากพม่า[47] ในขณะที่สถานการณ์ในพม่าได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตในขณะนี้อยู่ที่ 520 คน[48]

ในระหว่างที่กองทัพพม่ามีการโจมตีหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง กองกำลังกะเหรี่ยง(KNU) ได้ยิงเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพพม่าตก 1 ลำ และจับทหารพม่า 8 นายไว้เป็นเชลย ส่วนชาวบ้านกะเหรี่ยงที่อพยพหนีข้ามแม่น้ำสาละวินไปฝั่ง อ.สบเมย และ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ของไทย แต่ถูกกองกำลังนเรศวรของไทยสกัดไว้แล้วผลักดันกลับไปยังฝั่งพม่าเมื่อวาน โดยทางการอ้างว่าชาวกะเหรี่ยงกลับโดยสมัครใจ และล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า อาสาสมัครทหารพราน กองร้อยทหารพรานที่ 3606 ฐานปฏิบัติการบ้านแม่สามแลบ ได้เข้าช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สู้รบในเมียนมา 7 คน ทั้งนี้ ได้มีรถพยาบาลของโรงพยาบาลอำเภอสบเมยเข้าไปรับส่งตัวเข้ารักษาพยาบาล[49] ในระหว่างที่ประชาชนบางส่วนในพม่าเริ่มเข้าฝึกกับกองกำลังกะเหรี่ยง(KNU)เพื่อจับอาวุธต่อสู้กับกองทัพพม่า

วันที่ 31 มีนาคม สำนักข่าว The Irrawaddy รายงานว่า กองทัพเอกราชคะฉิ่น (KIA) ซึ่งเป็นกองกำลังชนกลุ่มน้อยในรัฐกะฉิ่นโจมตีและยึดสถานีตำรวจแห่งหนึ่งในเมืองชเวกูของรัฐกะฉิ่นเมื่อช่วง 03.00 น.ของวันพุธที่ผ่านมา เพื่อตอบโต้ที่ตำรวจร่วมมือกับกองทัพปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง [50]

เมษายน

วันที่ 1 เมษายน ในเวลาเช้ามืด ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง ในย่างกุ้ง ซึ่งกองทัพพม่าเป็นเจ้าของ ถูกวางเพลิง[51] ในขณะที่เหล่าบรรดาอดีตผู้นำโลกได้เรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติส่งกองกำลังเข้าพม่า ท่ามกลางการวีโต้ของจีนและรัสเซีย[52] ทางด้านกองกำลังรัฐฉาน(SSA)เตรียมพร้อมป้องกันการโจมตีจากกองทัพพม่า ส่วนทางด้านกองทัพอากาศไทยได้เตรียมแผนการอพยพคนไทยออกจากพม่าในขณะที่กองทัพอากาศพม่ายังโจมตีหมู่บ้านกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง[53]

วันที่ 2 เมษายน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Save the Children เปิดเผยว่ามีเด็กที่ถูกเจ้าหน้าที่กองทัพเมียนมาสังหารไปแล้วอย่างน้อย 43 ราย ซึ่งผู้เสียชีวิตที่อายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 6 ปี ขณะกลุ่มสังเกตการณ์ท้องถิ่นระบุยอดผู้เสียชีวิต รวมแล้วราว 540 ราย[54] สำนักข่าว The Irrawaddy รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากหลายแหล่งว่า ทางการจีนส่งกองทัพและรถบรรทุกลงพื้นที่ในเมืองเจี่ยเก้า เขตปกครองตนเองชาวไทสิบสองปันนา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองหมู่เจ้ในรัฐฉานของเมียนมา โดยเดินทางมาถึงเมื่อไม่กี่วันก่อน[55][56]

วันที่ 3 เมษายน ชาวบ้านที่เมืองยิ้งมาบิ่น (Yinmabin) เริ่มจับอาวุธต่อสู้กับตำรวจและกองทัพพม่า โดยทางสำนักข่าว Irrawaddy รายงานว่า อาวุธที่ชาวบ้านใช้ป้องกันตัวเอง ล้วนแล้วแต่เป็นอาวุธที่ชาวบ้านประดิษฐ์กันเอง เช่น ปืนที่ตั้งอยู่กับที่ และปืนที่ใช้แรงดันจากแก๊สขับเคลื่อนลูกกระสุนลูกแก้วและลูกเหล็ก ท้ายที่สุดปืนแรงอัดแก๊สของชาวบ้านก็ทานอาวุธปืนสงครามและลูกระเบิดขว้างไม่ได้ Irrawaddy รายงานว่า มีชาวบ้านถูกจับกุม 6 คน ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บด้วย[57]

วันที่ 4 เมษายน สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (AAPP) เปิดเผยว่า จำนวนผู้เสียชีวิตในพม่าล่าสุดอยู่ที่ 550 ราย ยังมีประชาชนที่ถูกควบคุมโดยทหารพม่าอีก 11 ราย ซึ่งถูกจับที่เมืองย่างกุ้ง หลังให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว CNN (ในการลงพื้นที่ตลาด Ten Miles) จึงถือว่าการกระทำของกองทัพพม่าเป็นการกระทำและการใช้กฎหมายต่อประชาชนอย่างโหดเหี้ยม โดยโฆษกของกองทัพพม่าแสดงความเสียใจต่อการจับกุมเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ที่มีผู้พบเห็นทหารพม่าควบคุมตัวประชาชนไปกักขังไว้[58]

วันที่ 5 เมษายน พล.อ.เจ้ายอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of the Shan State - อาร์ซีเอสเอส) และผู้นำทหารสูงสุดของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ AFP ซึ่งตนชี้ว่า กระบวนการสันติภาพระหว่างชนกลุ่มน้อยและรัฐบาลพม่าต้อง "ชะงัก" หลังการรัฐประหารของกองทัพพม่า และการโจมตีทางอากาศต่อประชาชนในรัฐกะเหรี่ยง[59]

วันที่ 7 เมษายน สำนักข่าว Irrawaddy รายงานว่า ทหารพม่าโจมตีชาวบ้านที่อยู่เวรยามเฝ้าระวังที่แนวป้องกันเมืองกะเล การโจมตีเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. มีชาวบ้านถูกกระสุนปืนทหารเสียชีวิต 5 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 20 คน ชาวบ้านที่เมืองกะเล บอกกับ Irrawaddy ว่า ทหารกว่า 10 คันรถบรรทุก เดินทางมาที่เมืองกะเลตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ 6 เมษายน ก่อนลงมือปราบปรามประชาชนเช้ามืดวันดังกล่าว ซึ่งอาวุธที่ชาวบ้านนำมาใช้ป้องกันตนเอง ส่วนใหญ่เป็นอาวุธปืนยาวล่าสัตว์ที่ใช้วิธีบรรจุดินปืนยิงทีละนัด ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างแนวป้องกันกระสอบทรายปิดถนนทางเข้าเมืองและชุมชน ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ส อ้างรายงานข่าวจากสื่อออนไลน์พม่าอีกสำนัก คือ Mizzima รายงานข่าวการโจมตีแนวป้องกันของประชาชนที่เมืองกะเล เช้ามืดวันนี้เช่นกัน ทางสำนักข่าวรอยเตอร์ส อ้างรายงานจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า ระบุว่า ประชาชนถูกทหาร ตำรวจพม่า สังหารนับตั้งแต่วันรัฐประหารจนถึงวันพุธ ที่ 7 เมษายน รวมทั้งสิ้น 581 ศพ[60]

เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวความมั่นคงของไทย ได้รายงานเหตุการณ์การสู้รบในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามพื้นที่บ้านแม่สามแลบ และบ้านท่าตาฝั่ง โดยเมื่อเวลาประมาณ 17.15 น.ของวันที่ 6 เมษายน 2564 โดยทหารพม่าได้ใช้เครื่องบิน จำนวน 2 ลำ บินโจมตีทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของทหารกะเหรี่ยง KNU บริเวณพื้นที่โต่เตพู ด้านทิศตะวันตกของบ้านดิปุโหน่ ที่ตั้งกองบัญชาการกองพลน้อยที่ 5 ของเคเอ็นยู จากนั้นในห้วงเวลาประมาณ 21.00 น. ทหารราบของพม่าได้ใช้ ค.120 ยิงโจมตีไปยังที่หมายเดิมอีก จำนวน 10 นัด ขณะนี้ยังไม่ทราบผลการโจมตี[61] ในขณะที่การสู้รบระหว่างทหารสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA) กับทหารพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (SSPP/SSA) และแนวร่วมปลดปล่อยรัฐปะหล่อง/กองทัพแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (PSLF/TNLA) ยังดำเนินไปอย่างดุเดือด ในพื้นเมืองน้ำตู้ แขวงจ๊อกแม รัฐฉานอยู่[62] รัฐบาลทหารพม่าได้ทำการบุกยึดสถานทูตประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[63]

วันที่ 8 เมษายน ทหารและตำรวจพม่าบุกจับ ไป่ ทาคน นักแสดงและนายแบบชื่อดังชาวพม่าคา คาบ้านพัก ซึ่งตนได้ออกมาคอลเอาต์ ต้านการก่อรัฐประหารของกองทัพพม่า โดยแสดงจุดยืนอยู่ข้างประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ทั้งการเข้าร่วมชุมนุมกับประชาชน พี่สาวของตนได้โพสท์เฟสบุ๊คว่า ตนถูกจับเวลา 5.00 น.[64] ในขณะที่สื่อท้องถิ่นของเมียนมารายงานว่า ทางการจีนเริ่มมีบทบาทกับสถานการณ์ความขัดแย้งในเมียนมามากขึ้น หลังสถานทูตจีนในเมียนมาต่อสายตรงถึงคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ (CRPH) องค์กรที่ดูเหมือนเป็นรัฐบาลเงาที่ยืนเคียงข้างประชาชนชาวเมียนมาต่อต้านอำนาจของกองทัพ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐประหาร เมื่อ 1 กุมภาพันธ์[65][66]

วันที่ 10 เมษายน เวลา 5.00 น. กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธยะไข่ (AA), ตะออง (TNLA) และโก๊ะกั่น (MNDAA) โจมตีสถานีตำรวจ Naungmon ในเมืองล่าเสี้ยว ภาคเหนือรัฐฉาน ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 14 นาย[67] ในขณะที่มีกองกำลังรักษาความปลอดภัยพม่าได้มีการรวบนักข่าวญี่ปุ่น ถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำอินเส่ง ในเมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองจำนวนมากถูกคุมขังอยู่จำนวนมาก

วันที่ 11 เมษายน กองกำลังความมั่นคงฆ่าผู้ประท้วงอีกมากกว่า 80 คน ที่พะโคเมื่อวันศุกร์ ยอดสังเวยความรุนแรงนับแต่รัฐประหารทะลุ 700 ศพแล้ว ชาวบ้านเผยทหารขนศพขึ้นรถบรรทุกทหาร[68] ทำให้ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ดำเนินการอย่างรวดเร็วในพม่า ในความพยายามกดดันให้ผ่านมติหนึ่งเพื่อกดดันคณะรัฐประหารคืนสู่ประชาธิปไตย[69]

วันที่ 12 เมษายน ทางการพม่าได้จับกุมแพทย์หญิงคนหนึ่ง เหตุเพราะไม่ยอมรักษาลูกชายตำรวจนายหนึ่ง โดยอ้างว่าทหารตำรวจได้สังหารหมู่ผู้ประท้วง จนนำไปสู่การจับกุมดังกล่าว[70]

วันที่ 13 เมษายน เว็บไซต์อิรวดีรายงานว่า ทหารพม่าปราบปรามผู้ชุมนุมต้านรัฐประหารด้วยความรุนแรง รวมทั้งเด็กวัย 7 ขวบด้วย ถูกทหารยิงที่เมืองทามู เขตสะกาย ติดชายแดนอินเดีย เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะกำลังทหารเมียนมาพร้อมอาวุธหนักได้บุกโจมตีชุมชนแห่งหนึ่งในเมืองทามูเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อตอบโต้กองกำลังชาวบ้านที่ดักซุ่มโจมตีช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ทหารเสียชีวิตราว 18 ศพ[71] ในระหว่างที่มีการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองทัพเอกราชคะฉิ่น (KIA) อย่างต่อเนื่อง กองทัพคะฉิ่นยังคงยึดฐาน “อลอบุม” ที่มั่นสำคัญเชิงกลยุทธ์ ซึ่งยึดจากทหารพม่า เมื่อเดือนที่แล้วใกล้ชายแดนจีน แม้จะมีการโจมตีอย่างรุนแรง โดยรัฐบาลทหารพม่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อยึดคืนให้ได้ และได้มีการระดมสรรพกำลังภาคพื้นดิน และเครื่องบินขับไล่โจมตี แต่ถูกตอบโต้จากกองทัพเอกราชคะฉิ่น ทำให้ได้รับความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งเจ็บและเสียชีวิต และมีรายงานข่าวว่า ผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบเบาที่ 387 ของรัฐบาลทหารเสียชีวิต[72]

วันที่ 15 เมษายน อออนไลน์พม่า รายงานว่า กลุ่มติดอาวุธกองทัพพม่า Myanmar Now ใช้คำว่า gunman ส่วน Irrawaddy ใช้คำว่า junta forces บุกเข้าไปสังหารชาวมุสลิมที่มัสยิดสุเล่ (Sule) ในมณฑลมัณฑะเลย์ตอนช่วงเช้า มีผู้เสียชีวิตในมัสยิด 1 คน และได้รับบาดเจ็บ 3 คน Myanmar Now รายงานว่า หนึ่งในผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นคนพิการ เหตุเกิดในเดือนรอมฎอน เดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม Myanmar Now รายงานว่า มีผู้ถูกจับกุม 5 คน โทษฐานความผิดนอนในมัสยิด ในจำนวนนี้ 2 คนเป็นเยาวชนอายุ 16 และ 11 ปี[73]

วันที่ 16 เมษายน เวลา 4.00 น. การปะทะระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังคะฉิ่น กองกำลังคะฉิ่นได้ซุ่มโจมตีก่อนด้วยการใช้ทุ่นระเบิดจัดการกับขบวนรถทหารพม่า 16 คันบนเส้นทางที่มุ่งหน้าไปยังฐานทัพอลาวบัม ส่งผลให้รถบรรทุกบางคันระเบิดไฟลุกท่วม ทหารจากฝั่งของกองทัพพม่าเสียชีวิตรวมสะสมนับ 100 ศพ ซึ่งตัวเลขนี้ไม่มีการรายงานแน่ชัด คาดว่าอาจมีมากกว่านั้น ในการปะทะตลอดช่วงสัปดาห์ของวัน 'เทศกาลปีใหม่' ที่ผ่านมา หน่วยรบพิเศษจากกองพลทหารราบเบาที่ 320 ถูกส่งเข้าร่วมปฏิบัติการ ซึ่งพันเอก นาง บู โฆษก KIA กล่าวกับผู้สื่อข่าว Kachin Waves ถึงการเสียชีวิตของ '320' ว่า "มีการรายงานว่าทหารจากกองทัพเมียนมาเสียชีวิตจำนวนมาก ผมคิดว่าทั้งกองทัพตายเรียบ มีรอดมาแค่ 2-3 นายเท่านั้น"[74]

วันที่ 18 เมษายน พล.อ.บอจ่อแฮ รองผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ซึ่งเป็นฝ่ายทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU ) ได้ประกาศจะถอนรากถอนโคนเผด็จการทหารพม่าของมี่นอองไลง์ โดยให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศพม่า ทั้งกรณีที่มีประชาชนออกมาต่อต้านรัฐประหาร และการโจมตีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ออกมาปกป้องประชาชนที่มีความเห็นแตกต่างจากทหารพม่าว่า"เผด็จการและการกดขี่ไม่ทำให้ใครไม่ว่าจะชนชาติใดสามารถที่จะมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ พวกเขาจะกดขี่ใครก็ตามเพียงเพื่อที่จะรักษาอำนาจไว้และคิดแต่เพียงความมั่งคั่งของตนเองและพวกพ้อง เราชาวกะเหรี่ยงต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ เราจับอาวุธและต่อสู้กับเผด็จที่ใช้อาวุธเข้ามาคุกคามและข่มเหงประชาชน ในฐานะนักปฏิวัติพวกเรายินดีที่ได้เห็นขบวนการประชาชนที่ออกมาประท้วงอย่างมีพลังทั่วประเทศพม่า รวมทั้งนักเรียนและเยาวชน ในฝั่งของเรานั้นเราจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อที่จะถอนรากถอนโคนเผด็จการและการกดขี่" โดยตนได้หวังว่า กลุ่มชาติพันธุ์จะร่วมกันต่อสู้กับกองทัพเผด็จการทหารพม่า[75]

ในช่วงค่ำได้ทหารพม่าถล่มกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ซึ่งกระสุนปืนครกได้ถูกยิงตกไปยังพื้นที่บ้านปางควาย ซึ่งอยู่ตรงข้ามบ้านพญาไพร ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ของไทย[76]

วันที่ 20 เมษายน ทหารพม่าฐานปฏิบัติการด๊ากวินฝั่งตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่งต.แม่คง อ.แม่สะเรียง ยิงเรือหางยาวของฝ่ายไทยแล้ว 2 ลำอ้างไม่ยอมให้ตรวจ ชาวบ้านกลัวตาย ประกาศหยุดเดินเรือ ฝ่ายความมั่นคงไทยหาทางพูดคุยกับผู้บังคับบัญชาฝ่ายพม่า แต่ทหารพม่าอ้างว่า แค่ยิงขู่แต่พลาดไปโดนเรือดังกล่าว[77]

วันที่ 21 เมษายน กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาได้ประกาศบอยคอตต์บริษัท Timber Enterprise และ Myanmar Pearl Enterprise ซึ่งเครือข่ายทหารพม่าเป็นเจ้าของ โดยประกาศอายัดทั้งหมดและห้ามคนอเมริกันเข้าไปยุ่งเกี่ยวและห้ามมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ 2 บริษัทนี้[78]

สื่อออนไลน์เมียนมา 2 สำนัก Irrawaddy และ Myanmar Now รายงานว่า กองกำลังพม่ามาอย่างน้อย 200 คน ปฏิบัติการโจมตีหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองยิ่งมาบิ่น (Yinmabin) มณฑลสกาย ในช่วงค่ำวันอังคาร ปฏิบัติการเริ่มด้วยการส่งโดรนบินสอดแนมสำรวจพื้นที่ หลังจากนั้นจึงยิงเครื่องยิงจรวดชนิด RPG-7 เข้าใส่หมู่บ้านกะเปียง (Kapaing) ทางฝ่ายชาวบ้านมีเพียงอาวุธปืนลูกซองทำเอง ที่ต้องบรรจุดินปืนและกระสุนทุกครั้งที่ยิง และยิงได้ครั้งละนัด ตอบโต้กำลังทหาร ซึ่งรายงานความสูญเสียจากการโจมตียังไม่ชัดเจน Irrawaddy รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คน Myanmar Now รายงานอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ ระบุว่า มีชาวบ้านหลบหนีหาที่หลบภัยประมาณ 10,000 คน มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า หลายเมืองในมณฑลสกาย ที่กะเล กะนิ ตะมุ ตะเซะ และยิ้งมาบิ่น ชาวบ้านใช้อาวุธเท่าที่มีตอบโต้ทหารพม่า[79]

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การปรับอากาศรถยนต์ การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประมาณราคา การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกันภัย การประกวดเพลงยูโรวิชัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประท้วงในประเทศพม่า_พ.ศ._2564 https://www.smh.com.au/world/asia/tipping-point-ru... https://www.abc.net.au/news/2021-02-05/myanmar-blo... https://globalnews.ca/news/7654321/myanmar-protest... https://www.ejan.co/general-news/%E0%B8%81%E0%B8%A... https://thestandard.co/myanmar-quiet-rally/ https://thestandard.co/save-the-children-unveiled-... https://www.amarintv.com/news/detail/72822 https://www.amarintv.com/news/detail/73241 https://www.amarintv.com/news/detail/73309 https://apnews.com/article/aung-san-suu-kyi-myanma...