การประมาณราคาในประเทศไทย ของ การประมาณราคา

แบบฟอร์มที่ใช้ในการประมาณราคา

จากเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีดังนี้[1]

  • แบบฟอร์ม ปร. 1 ใช้ประมาณการถอดแบบหาปริมาณงานและวัสดุทั่วไป
  • แบบฟอร์ม ปร. 2 ใช้ประมาณการถอดแบบงานคอนกรีต ไม้แบบ ไม้ค้ำยันและเหล็กเสริม
  • แบบฟอร์ม ปร. 3 ใช้ประมาณการถอดแบบงานไม้
  • แบบฟอร์ม ปร. 4 ใช้สำหรับรวมปริมาณงานแต่ละประเภท
  • แบบฟอร์ม ปร. 5 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง
  • แบบฟอร์ม ปร. 6 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง กรณีมีการก่อสร้างหลายงานหรือใช้เปรียบเทียบราคา

Factor F

Factor F คือ ค่าตัวเลขซึ่งกำหนดขึ้นตามมติคณะกรรมการควบคุมราคากลาง (ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554) ใช้คูณราคาต่อหน่วยของต้นทุน (Unit Cost) ออกมาเป็น ราคาค่างานของโครงการ Factor F ประกอบด้วย ค่าอำนวยการ ดอกเบี้ย กำไร และภาษี[2] แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ งานทาง งานอาคาร และ งานสะพานและท่อเหลี่ยม

ค่า K

ค่า “K” หรือ ESCALATION FACTOR คือ ตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ เปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ส่งงานในแต่ละงวด โดยมีเงื่อนไขสำคัญ[3] ดังนี้

  • จะใช้ค่า K ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้รับเหมารับงานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
  • ในการทำสัญญาว่าจ้าง คู่สัญญาจะต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่า เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้าง

การนำ "ค่า K" มาใช้ เริ่มจากในช่วงปี 2516 - 2517 เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยน้ำมันและวัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กสำเร็จรูป ต่างๆ ขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจก่อสร้างโดยตรงและรุนแรง ผู้รับเหมาต่างได้รับความเดือดร้อน บางรายหยุดดำเนินการ บางรายละทิ้งงาน เพราะไม่สามารถรับภาระขาดทุนได้ ขณะเดียวกัน ผู้จ้างเหมาก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้นำ "ค่า K" มาใช้ เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาให้ได้รับการชดเชยค่าเสียหาย ทั้งนี้มีคณะอนุกรรมการเป็นผู้กำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข สูตร ประเภท และลักษณะงานที่เข้าข่ายสามารถขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลได้ จนถึงปี 2524 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้ "ค่า K" เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นำ "ค่า K" มาใช้อีกครั้ง เนื่องจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูง ก่อให้เกิดการลงทุนอย่างมากในธุรกิจหลายสาขา โดยเฉพาะธุรกิจการก่อสร้าง เพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว เป็นเหตุให้วัสดุก่อสร้างสำคัญ คือ เหล็กเส้นขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือโดยมีมติดังกล่าว ให้ใช้ "ค่า K" มาจนถึงปัจจุบัน

องค์ประกอบของค่า K

ค่า K ประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้

  • M = ดัชนีราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง (ไม่รวมเหล็กและซีเมนต์)
  • S = ดัชนีราคาเหล็ก
  • C = ดัชนีราคาซีเมนต์
  • G = ดัชนีราคาเหล็กแผ่นเรียบ
  • F = ดัชนีราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
  • A = ดัชนีราคาแอสฟัลท์
  • E = ดัชนีราคาเครื่องจักรกลและบริภัณฑ์
  • GIP = ดัชนีราคาท่อเหล็กอาบสังกะสี
  • AC = ดัชนีราคาท่อซีเมนต์ใยหิน
  • PVC = ดัชนีราคาท่อ PVC
  • PE = ดัชนีราคาท่อ HYDENSITY POLYETHYLENE
  • W = ดัชนีราคาสายไฟฟ้า
  • I = ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประมาณราคา http://scea.timberlakepublishing.com/content.asp?c... http://www.ce.cmu.edu/pmbook/ http://www.aacei.org/ http://www.aacei.org/resources/meetingslides.shtml http://web.archive.org/20011204185841/www.geocitie... http://www.csinet.org/s_csi/pdf.asp?TP=/s_csi/docs... http://www.icis.org/Technical/ICIS_Report_1-2002.p... http://www.icoste.org/ceqspm.htm http://www.thaiappraisal.org/Thai/Value/Value1.htm http://www.thaiappraisal.org/pdfNew/const/cost49-w...