การปริพันธ์แบบวินอัพ

การปริพันธ์แบบวินอัพ (อังกฤษ: integrator windup) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญญาณของตัวกระตุ้นอยู่ในสภาวะอิ่มตัวในระบบควบคุมวงปิด ทำให้ตัวกระตุ้นไม่สามารถตอบสนองสัญญาณจากตัวควบคุมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบควบคุมอยู่ในสภาวะวงเปิด ซึ่งจะใช้เวลาในการเข้าสู่จุดสมดุล (settling time) นานขึ้น และทำให้เกิดการแกว่งของสัญญาณ (overshoot) โดยขนาดของลักษณะดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับความเร็วของตัวควบคุมและขนาดของสัญญาณที่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้อาจเพิ่มพลังงาน E {\displaystyle E} ทดแทนเพื่อให้สัญญาณยังคงมีลักษณะปกติต่อไปได้ โดยเมื่อกำหนดให้ u ( τ ) {\displaystyle u(\tau )} เป็นสัญญาณจากตัวกระตุ้นในส่วนของเวลา τ {\displaystyle \tau } พลังงานดังกล่าวจะมีสมการดังนี้ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากตัวควบคุมแบบปริพันธ์ของระบบควบคุมพีไอดีเท่านั้น เนื่องจากในสภาวะอิ่มตัว สัญญาณจากตัวกระตุ้นจะลดลงสู่ระดับขีดสุดที่ระบบจะรับได้ ทำให้สัญญาณขาออกเพิ่มช้าลงเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะปกติ ส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนระหว่างสัญญาณขาเข้าและขาออกมีจำนวนมากและเป็นเวลานาน เมื่อกำหนดให้ K i {\displaystyle K_{i}} เป็นอัตราขยายเชิงปริพันธ์ ความคลาดเคลื่อน e ( τ ) {\displaystyle e(\tau )} นี้จะถูกปริพันธ์ (สะสม) มากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลา τ {\displaystyle \tau } ตามสมการจนกว่าสัญญาณขาเข้าและขาออกจะอยู่ในระดับเท่ากัน อย่างไรก็ตาม ระบบที่มีการวินอัพส่วนใหญ่จะมีการตอบสนองช้า จึงทำให้ความคลาดเคลื่อนยังมีจำนวนมาก ส่งผลให้สัญญาณเกิดการแกว่งเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท