ชนิดการปรุรู ของ การปรุรู_(แสตมป์)

การปรุแบบเส้นตรง
ขั้นตอนที่ 1ขั้นตอนที่ 2

ในสมัยแรกที่การปรุรู เป็นการปรุแบบเส้นตรง (line perforation) ซึ่งการปรุแต่ละจังหวะจะได้รอยปรุแนวตั้งหรือแนวนอนแนวใดแนวหนึ่ง เมื่อเสร็จหนึ่งจังหวะเครื่องพิมพ์จะเลื่อนแผ่นแสตมป์และปรุในจังหวะถัดไป เมื่อแผ่นแสตมป์เคลื่อนผ่านเครื่องปรุจนครบแผ่นออกมาอีกด้านจะมีการปรุแนวนอนครบทุกเส้นหรือแนวนอนครบทุกเส้น การปรุจะเสร็จสมบูรณ์ได้จะต้องป้อนแผ่นแสตมป์เข้าเครื่องปรุสองครั้ง ครั้งหนึ่งสำหรับแนวนอน อีกครั้งสำหรับแนวตั้ง ถึงจะได้รอยปรุรอบดวงแสตมป์

ข้อสังเกตแสตมป์ที่ปรุวิธีนี้คือ ฟันแสตมป์ที่มุมทั้งสี่ของแสตมป์เมื่อฉีกแยกออกเป็นดวง ๆ แล้ว มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่เป็นระเบียบ

การปรุแบบหวี
ขั้นตอนที่ 1ขั้นตอนที่ 2

การปรุที่มีการพัฒนาขึ้นในระยะแรกอีกรูปแบบหนึ่งใช้การปรุแบบหวี (comb perforation) โดยในการเจาะแต่ละจังหวะ จะเจาะรูพร้อมกันสามด้านของแสตมป์แสตมป์ในแถวหนึ่ง ๆ (เช่นด้านซ้าน บน และล่าง) ส่วนด้านที่เหลือจะเจาะเมื่อปรุแสตมป์ในจังหวะถัดไป ข้อสังเกตแสตมป์ที่ปรุด้วยวิธีนี้คือ มุมทั้งสี่ของแสตมป์ดูเรียบร้อย

การปรุแบบนี้นอกจากจะปรุทีละแถวแล้ว ยังมีการพัฒนาต่อโดยปรุพร้อมกันหลายแถวในคราวเดียวได้

การปรุแบบแผ่น

การปรุที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือการปรุแบบแผ่น (sheet perforation หรือ harrow perforation) กล่าวคือจะเจาะรูทั้งหมดในคราวเดียว แสตมป์ที่ได้จะมีมุมเรียบร้อยเช่นเดียวกับการปรุแบบหวี

จุดที่แยกแยะข้อแตกต่างระหว่างการปรุแบบแผ่นและแบบหวีตรงที่การปรุแบบหวีต้องปรุหลายครั้งต่อแผ่น ในแสตมป์เก่า ๆ ที่เทคนิกการพิมพ์ยังไม่ดี แนวการปรุหวีแต่ละครั้งอาจไม่ตรงกัน

มีตัวอย่างของแสตมป์ไทยชุดหนึ่งซึ่งมีการปรุสองแบบ คือ แสตมป์ทั่วไปพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9 ชุดที่ 2 (นิยมเรียกว่า ชุดไทยแลนด์ เพราะแสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ชุดก่อนหน้านี้ใช้ชื่อประเทศบนแสตมป์ว่า สยาม) แสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ชุดนี้ เริ่มจำหน่ายเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (เฉพาะราคา 25 สตางค์ ราคาอื่นทยอยวางจำหน่ายทีหลัง) และมีการพิมพ์เพิ่มหลายครั้ง จนถึง พ.ศ. 2506[1] การพิมพ์ในรุ่นแรก ๆ พิมพ์ที่โรงพิมพ์วอเตอร์โลว์แอนด์ซันส์ ใช้วิธีปรุแบบเส้น ภายหลังโรงพิมพ์ถูกซื้อกิจการโดยโทมัส เดอ ลา รู เมื่อ พ.ศ. 2504[2] การพิมพ์รุ่นหลัง ๆ โดยเดอ ลา รู ใช้วิธีการปรุแบบหวี สามารถสังเกตได้ง่ายว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ไหนจากมุมทั้งสี่ของแสตมป์

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การปรับอากาศรถยนต์ การประกวดความงาม การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับตัว (ชีววิทยา) การประมาณราคา การประกันภัย