วิธีการ ของ การป้องกันโรคมะเร็ง

โฆษณาให้ทานอาหารที่ถูกสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็ง

ทุกคนสามารถเกิดมะเร็งได้[9]อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด คือ มะเร็งอัตราร้อยละ 75 เกิดในผู้มีอายุ 55 ปีและยิ่งกว่านั้น

อาหาร

ดูบทความหลักที่: อาหารกับโรคมะเร็ง

มีการเสนอแนะนำอาหารหลายอย่างเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็ง แต่หลักฐานสนับสนุนก็ไม่ชัดเจน[10][11]ปัจจัยหลักเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงรวมทั้งโรคอ้วนและการดื่มแอลกอฮอล์แม้อาหารที่มีผักผลไม้น้อยและมีเนื้อแดงมากจะโทษว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงแต่ก็ยังไม่ได้ยืนยัน[12][13]งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผักผลไม้กับโรคมะเร็ง[14]การทานกาแฟสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งตับที่ลดลง[15]งานศึกษาหลายงานเชื่อมการทานเนื้อบางอย่างเป็นจำนวนมาก คือเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูป กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับอ่อนที่สูงขึ้น เพราะเนื้อที่หุงด้วยอุณหภูมิสูงมีสารก่อมะเร็ง[16][17]ข้อแนะนำอาหารเพื่อป้องกันมะเร็งปกติจะเน้นการให้ทานผักผลไม้ ข้าวกล้อง และปลา โดยหลีกเลี่ยงเนื้อสีแดง (รวมเนื้อวัว หมู และแกะ) และเนื้อแปรรูป ไขมันสัตว์ และคาร์โบไฮเดรตขัดสี (เช่น น้ำตาลทราย)[10][11]

การออกกำลังกาย

งานวิจัยแสดงว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งหลายอย่างถึง 30%[18][19]รวมทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุมดลูก[20][21]แม้กลไกทางชีวภาพของความสัมพันธ์เช่นนี้จะยังไม่ชัดเจน[21]แต่งานวิจัยก็ได้แสดงว่า การออกกำลังกายอาจลดความเสี่ยงโดยคุมน้ำหนัก ลดระดับฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจนและอินซูลิน ลดการอักเสบ และทำระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง[21][22]

ยา

แนวคิดว่ายาสามารถใช้ป้องกันมะเร็งได้น่าสนใจ และมีหลักฐานในบางกรณีในกลุ่มประชากรทั่วไป ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่มีผลข้างเคียงต่อหลอดเลือดและหัวใจตลอดจนทางเดินอาหาร จึงมีผลลบมากกว่าผลบวก[23]แอสไพรินลดความเสี่ยงตายจากมะเร็งประมาณ 7%[24]ยากลุ่ม COX-2 inhibitor อาจลดอัตราการเกิดติ่งเนื้อเมือกในผู้มีโรค familial adenomatous polyposis[upper-alpha 1]แต่ก็มีผลที่ไม่ต้องการเช่นเดียวกันกับ NSAID[25]

การใช้ยา tamoxifen หรือ raloxifene ทุกวันพบว่า ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมในหญิงผู้เสี่ยงสูง[26]ส่วนยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนคือ 5-alpha-reductase inhibitor เช่น finasteride มีผลลบเทียบกับผลบวกที่ไม่ชัดเจน[27]

วิตามินไม่มีประสิทธิภาพป้องกันมะเร็ง[28]แต่วิตามินดีในเลือดต่ำก็มีสหสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งที่สูงขึ้น[29][30]แต่จะเป็นความสัมพันธ์แบบเหตุหรือไม่ หรือว่ามีฤทธิ์ป้องกันจริง ๆ หรือไม่ ก็ยังไม่ได้ระบุ[31]

อาหารเสริมคือ บีตา-แคโรทีน พบว่าเพิ่มอัตรามะเร็งปอดในผู้เสี่ยงสูง[32]กรดโฟลิกไม่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และอาจเพิ่มติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่[33]งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2018 สรุปว่า หลักฐานคุณสภาพสูงแสดงว่า ซีลีเนียมไม่มีผลลดความเสี่ยงมะเร็ง[34]

วัคซีน

วัคซีนต้านมะเร็งสามารถใช้ป้องกันหรือรักษาโรค[3]วัคซีนเหล่านี้ทั้งหมดกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยช่วยให้ลิมโฟไซต์ คือ cytotoxic T lymphocyte (CTL) รู้จักและต่อต้านแอนติเจนของเนื้องอก (ทั้ง tumor-associated antigen และ tumor-specific antigen)

ยังมีวัคซีนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ก่อมะเร็ง[35]วัคซีนฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส เช่น Gardasil และ Cervarix ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก[35]วัคซีนตับอักเสบ บีป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จึงลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ[35]การฉีดวัคซีนเหล่านี้แนะนำในประเทศทั้งหมดถ้ามีงบประมาณพอ[36]

วัคซีนมะเร็งบางอย่างทำงานอาศัยสารภูมิต้านทาน คือ immunoglobulin และเจาะจงแอนติเจนของมะเร็งหรือเซลล์ที่ผิดปกติโดยเฉพาะ[3][37]ซึ่งแพทย์อาจให้เมื่อรักษาโรคที่เป็นแล้วเพื่อช่วยให้ภูมิคุ้มกันรู้จักและเข้าทำลายเนื้องอกที่มีแอนติเจนของมะเร็งในฐานะเป็นสิ่งแปลกปลอมสารภูมิต้านทานที่ใช้เป็นวัคซีนเช่นนี้อาจมาจากคนไข้เอง (autologous vaccine) หรืออาจมาจากคนไข้อื่น ๆ (allogeneic vaccine)[35]มีวัคซีนจากคนไข้เองหลายอย่าง เช่น Oncophage สำหรับมะเร็งไต และ Vitespen สำหรับมะเร็งหลายอย่าง ที่ได้วางตลาดขายแล้วหรือว่ากำลังทดสอบทางคลินิกอยู่วัคซีนที่องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติแล้ว เช่น Sipuleucel-T สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่แพร่กระจายแล้ว หรือ Nivolumab สำหรับเมลาโนมาและมะเร็งปอด อาจออกฤทธิ์ต่อต้านโปรตีนที่แสดงออกเกินหรือที่กลายพันธุ์ไป หรือออกฤทธิ์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไวขึ้น (inhibiting immune checkpoints)[3][38]

การตรวจคัดโรค

วิธีการตรวจคัดโรคมะเร็งที่แพร่หลาย เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในระยะ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาเพราะสามารถระบุและตรวจจับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ได้ดีขึ้น[3]

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกปกติจะตรวจคัดด้วยการตรวจเซลล์ปากมดลูก (คือ Pap smear) การส่องตรวจช่องคลอด การตรวจระบบสืบพันธุ์โดยตรง หรือการตรวจหาดีเอ็นเอของฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัสซึ่งจัดเป็นไวรัสก่อมะเร็ง[39]แนะนำให้เริ่มตรวจคัดโรคเมื่อมีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยให้ตรวจด้วย Pap smear ทุก ๆ 3 ปีสำหรับหญิงอายุระหว่าง 21-29 ปี และทุก ๆ 5 ปีเมื่ออายุมากกว่านั้น[3]ส่วนหญิงอายุเกิน 65 ปีที่ไม่มีประวัติมะเร็งปากมดลูกหรือความผิดปกติที่ปากมดลูก โดยได้ผลลบเมื่อตรวจด้วย Pap smear มาก่อน ก็สามารถหยุดตรวจคัดโรคได้[40]

อย่างไรก็ดี แม้การแนะนำให้ตรวจคัดโรคจะขึ้นกับอายุ แต่ก็อาจสัมพันธ์กับ "ระดับการศึกษา วัฒนธรรม ปัญหาทางจิต-สังคม และสถานะการแต่งงาน" ซึ่งแสดงความสำคัญของการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพิ่มขึ้นในการตรวจคัดโรค[3]

มะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT) ใช้ตรวจคัดมะเร็งลำไส้ใหญ่บ่อยที่สุดรูปแบบการตรวจเลือดในอุจจาระแฝงอื่น ๆ รวมทั้ง guaiac-based FOBT (gFOBT), fecal immunochemical test (FIT) และการตรวจดีเอ็นเอในอุจจาระ (sDNA)[41]ถ้าพบเลือดในอุจจาระ อาจตรวจเพิ่มขึ้นด้วยการส่องตรวจไส้ใหญ่ส่วนคด (FS) การส่องตรวจไส้ใหญ่ทั้งหมด (TC) และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT)การตรวจคัดโรคแนะนำให้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 50 ปีแต่ก็ยังขึ้นกับประวัติคนไข้และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆโปรแกรมการตรวจคัดโรคที่มีประสิทธิผลพบว่า ลดความชุกโรคได้ 33% และอัตราการตายเพราะโรคได้ 43%[3]

มะเร็งเต้านม

ในปี 2018 สหรัฐจะมีคนไข้มะเร็งเต้านมใหม่ประมาณ 1.7 ล้านคน (จากประชากร 324 ล้านคนโดยมีหญิงผู้ใหญ่ 128 ล้านคน) และมีคนตายเพราะโรค 600,000 คน[42]ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งขนาดเต้านม การออกกำลังกายไม่เพียงพอ โรคอ้วน น้ำหนักเกิน ความเป็นหมันหรือไม่เคยมีลูก การรักษาทดแทนฮอร์โมน (HRT) และพันธุกรรม[3]การถ่ายภาพเอ็กซเรย์แบบ mammograms ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อตรวจคัดโรค และองค์กร USPSTF ก็แนะนำสำหรับหญิงอายุ 50-74 ปีแต่แนะนำไม่ให้ทำสำหรับหญิงอายุ 40-49 ปีเพราะอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกิน[3][43]

ใกล้เคียง

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม การป้องกันโรคมะเร็ง การป้องกัน คชรน. การป้อนกลับเชิงลบ การป้องกันกำลังรบ การป้ายคอหอยส่วนจมูก การป้องกันตัวชี้ที่เป็นโมฆะ การป้อนกลับสถานะแบบเต็ม การป้อนกลับเชิงบวก การป้องกันโกดังซื่อหาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การป้องกันโรคมะเร็ง http://www.mayoclinic.com/health/cancer-prevention... http://adsabs.harvard.edu/abs/2011PLoSO...6E1107F http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/cance... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1518977 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1518978 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2515569 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2769029 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2838238 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3039795 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3124481