นโยบายของรัฐบาล ของ การผลิตข้าวในประเทศไทย

รัฐบาลต้องการสนับสนุนการเติบโตของเมือง โดยหนึ่งในวิธีการที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือการตั้งภาษีอุตสาหกรรมข้าวและใช้เงินในเมืองใหญ่ ๆ[5] ในความเป็นจริง ในช่วงปี พ.ศ. 2496 ภาษีข้าวคิดเป็นรายได้ 32% ของรัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาผูกขาดสำหรับการส่งออก ซึ่งเพิ่มรายได้ภาษีและทำให้ราคาข้าวภายในประเทศต่ำ ผลกระทบโดยรวมคือประเภทของรายได้ถูกเปลี่ยนจากชาวนาไปยังรัฐบาลและผู้บริโภคในเมือง (ผู้ซื้อข้าว) นโยบายเรื่องข้าวเหล่านี้ถูกเรียกว่า "พรีเมียมข้าว" ซึ่งใช้มาจนถึง พ.ศ. 2528 จนกระทั่งสุดท้ายต้องยอมจำนนต่อแรงกดดันทางการเมือง[5] การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยปกป้องชาวนาข้าวได้ทำให้อุตสาหกรรมข้าวห่างไกลจากค่านิยมความเสมอภาคที่เคยพอใจกันในหมู่ชาวนา ไปเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์สมัยใหม่ ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด[5]

รัฐบาลไทยมีสิ่งจูงใจอย่างแข็งขันที่จะผลิตการผลิตข้าวและประสบความสำเร็จในแผนการส่วนใหญ่ รัฐบาลได้ลงทุนในระบบชลประทาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และโครงการสนับสนุนข้าวอื่น ๆ ธนาคารโลกยังได้สนับสนุนเงินทุนในการสร้างเขื่อน คลอง คูน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ ในโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ นโยบายเหล่านี้ช่วยทำให้ที่ดินปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านไร่ เป็น 59 ล้านไร่ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1980[5] ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในแง่ของผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมด แม้ว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยจะไม่ได้เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่คาดหมายเอาไว้อยู่แล้ว แต่ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่องนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960

ใกล้เคียง

การผลิตข้าวในประเทศไทย การผลิตไฮโดรเจน การผลิตภาพยนตร์ การผลิตยาปฏิชีวนะ การผลิตคู่ การผลิตดนตรี การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การผลิต การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562