ผล ของ การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

ความตรงแนวและการทำงานที่เปลี่ยนไป

การแก้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป

การผ่าตัดอาจทำให้ตาตรงแนวหรือเกือบตรงหรืออาจจะแก้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะต้องรักษาเพิ่มหรือผ่าตัดอีกโอกาสที่ตาจะคงตรงแนวในระยะยาวจะเพิ่มขึ้น ถ้าคนไข้สามารถเห็นภาพเดียวด้วยสองตาหลังผ่าตัดงานศึกษาหนึ่งในคนไข้ตาเหล่เข้าวัยทารก ที่หลังจากผ่าตัดตาเหล่เข้าหรือตาเหล่ออกเพียงเล็กน้อย (ภายใน 8 ไดออปเตอร์) พบว่า คนที่ตาเหล่เข้าเพียงเล็กน้อยมีโอกาสที่ตาจะมองไปทางเดียวกัน 5 ปีหลังผ่าตัดสูงกว่าผู้ที่มีตาเหล่ออก[8]มีหลักฐานเบื้องต้นว่า เด็กที่มีตาเหล่เข้าวัยทารกจะสามารถมองเห็นภาพเดียวด้วยสองตาหลังผ่าตัด ถ้าผ่าตัดตั้งแต่เนิ่น ๆ

ตาเหล่แบบอื่น ๆ

การผ่าตัดเพื่อรักษา oblique muscle disorders อาจมีผลเป็นตาเหล่หลังจากการผ่าตัดอย่างแรกก็คือ ตาอาจเหล่ขึ้นหรือลงมีหลักฐานบ้างว่า อาการอาจน้อยกว่าถ้าผ่าตัดเด็กตั้งแต่อายุน้อย ๆ[9]อย่างที่สองคือ การผ่าตัดอาจมีผลเป็นตาเหล่แบบหมุน (cyclodeviation, cyclotropia)และการเห็นภาพซ้อนแบบหมุน (cyclotropia) ถ้าระบบการเห็นไม่สามารถชดเชยความผิดพลาดได้[10][11]

สำหรับการผ่าตัดกล้ามเนื้อ horizontal rectus การตาเหล่ขึ้นลงในรูปแบบ A และ V และแบบหมุน อาจเกิดขึ้นและสามารถกันได้โดยระวังไว้ก่อน[12]

เรื่องที่ต้องพิจารณาอื่น ๆ

ผลการผ่าตัดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ ตาเหล่แบบเล็ก ๆ ที่เป็นต่อมา (microtropia, monofixation syndrome)[13]

การมองเห็นได้ดีขึ้นและประโยชน์อื่น ๆ

เป็นระยะเวลานานแล้วที่เชื่อว่า คนไข้ผู้ใหญ่ที่ตาเหล่เป็นระยะเวลานานจะดูดีขึ้นเท่านั้นถ้าผ่าตัดแต่เมื่อไม่นานนี้ ก็ได้พบกรณีคนไข้ที่สามารถมองเห็นภาพเดียวด้วยสองตา โดยเฉพาะถ้ากล้ามเนื้อสามารถปรับตาให้ตรง (motor alignment) ได้ดีมาก[14]ในกรณีที่ตาเหล่เข้าก่อนผ่าตัด การผ่าตัดจะช่วยขยายลานสายตาที่เห็นด้วยทั้งสองตา แล้วทำการเห็นรอบนอก (peripheral vision) ให้ดีขึ้นนอกจากนั้น การมีตาที่มองตรงจะให้ประโยชน์ทางจิต-สังคมและทางเศรษฐกิจต่อคนไข้[14]

ดูเพิ่มที่ผลทางจิต-สังคมของตาเหล่

ภาวะแทรกซ้อน

การเห็นภาพซ้อน (Diplopia) จะเกิดบ่อยมากในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกหลังจากผ่าตัดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นน้อยหรือน้อยมากหลังผ่าตัดรวมทั้งการติดเชื้อ, การตกเลือดในกรณีที่ทะลุเปลือกลูกตา (scleral perforation), กล้ามเนื้อเคลื่อนหรือหลุดออก, และแม้กระทั่งการเห็นที่แย่ลง

การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาสามารถทำให้เกิดแผลเป็น/พังผืดได้ซึ่งถ้าเป็นมาก ก็อาจจะเห็นเป็นรอยนูนแดง ๆ ที่ตาขาวซึ่งสามารถลดได้ถ้าใช้ mitomycin C เมื่อผ่าตัด[15]

โดยเกิดขึ้นน้อยครั้งมาก ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อกำลังผ่าตัด เนื่องจาก oculocardiac reflex ซึ่งเป็นอัตราการเต้นหัวใจที่ลดลงเนื่องจากการดึงกล้ามเนื้อตาและ/หรือแรงอัดที่ลูกตา

ใกล้เคียง

การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา การผ่าท้องทำคลอด การผ่าตัดส่องกล้อง การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์ การผ่อนคลายความตึงเครียดสหรัฐ–คิวบา การผ่าตัดทำหมันหญิง การผ่อนคลายความตึงเครียด การผ่าตัดตกแต่งเยื่อพรหมจารี การผ่าตัดแบบบาทิสตา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา http://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/11791... http://strabismus.com/surgery.html http://www.surgeryencyclopedia.com/Ce-Fi/Eye-Muscl... http://webeye.ophth.uiowa.edu/ASORN/CE/2002-09Stra... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11705141 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18158402 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18788060 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21061883 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21647566 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22871879