การศึกษาการพัฒนาการเมืองของนักรัฐศาสตร์ ของ การพัฒนาการเมือง

แนวคิดการพัฒนาการเมืองนั้นเป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับการศึกษารัฐศาสตร์ในแนวพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่วิชารัฐศาสตร์พยายามสร้างงานวิจัยที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในสังคมจริงๆ ได้มองปัญหาอย่างมีจุดมุ่งหมาย ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาได้จริง และทำให้รัฐศาสตร์กลายเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) มากกว่าที่เป็นอยู่ ในอีกภาษาหนึ่งก็คือเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่นักรัฐศาสตร์พยายามสร้างแนวทางในการศึกษาการเมืองที่ไม่ต้องหยิบยืมวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์, การทำสถิติมาใช้[3]

ในวงวิชาการรัฐศาสตร์แนวคิดพัฒนาการการเมืองมีการเรียนการสอนในระดับกระบวนทฤษฎี หรือในภาษาที่เป็นที่รู้จักมากกว่าคือเป็นวิธีวิเคราะห์การพัฒนาทางการเมือง (political development approaches) ดังกล่าวซึ่งเป็นอิทธิพลทางทฤษฎีของนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Abraham Almond) ที่หยิบยืมวิธีวิเคราะห์มาจากวิธีวิเคราะห์โครงสร้างและหน้าที่ (structural-functional approaches) ที่มองว่าการเมืองโดยรวมนั้น สามารถจะพัฒนาได้หากสมาชิกในสังคมมี “สำนึกพลเมือง (civic culture) ” หรือ “วัฒนธรรมพลเมือง (civic culture” ในการเข้าร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขัน (the participant political culture) แต่หากสมาชิกในสังคมการเมืองวางเฉยทางการเมือง (the parochial political culture) หรือรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมือง (the subject political culture) การเมืองนั้นก็จะด้อยพัฒนา[4]

นักรัฐศาสตร์คนสำคัญอีกคนหนึ่งในแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมืองคือ ลูเซียน พาย (Lucian W. Pye) มองว่าการพัฒนาทางการเมืองนั้นเป็นโรคระบาดทางการเมืองอย่างหนึ่ง (political syndrome) ที่มนุษย์ต้องการให้เกิดขึ้นกับระบบการเมืองการปกครองของรัฐ-ชาติตน เพราะ สังคมการเมืองที่มีการพัฒนาการเมืองมาก โครงสร้างทางการเมืองจะสลับซับซ้อน มีการแบ่งงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน (differentiation of specialization) เป็นหน่วยเล็กๆ ที่ดำเนินการอย่างอิสระ (subsystem autonomy) แต่ยังคงประสานงานกับหน่วยใหญ่หรือรัฐอยู่เสมอ สังคมการเมืองที่มีพัฒนาการในทางการเมืองจะเคารพในความเท่าเทียม (equality) สมาชิกในสังคมการเมืองจะมีมีสิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะหรือรูปแบบต่างๆ โดยเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎระเบียบที่เป็นการทั่วไป (generally) รวมถึงการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเรื่องของความสามารถของบุคคลไม่ใช่เป็นเรื่องของชาติตระกูล ที่สำคัญที่สุดคือ ระบบการเมืองสามารถที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องจากเหล่าสมาชิกในสังคมการเมืองได้มากกว่า (capacity) รวมทั้งสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของระบบโครงสร้างทางสังคม โดยเอื้อต่อเป้าหมายใหม่ๆ ของระบบอีกด้วย[5]

ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) สรุปว่าการพัฒนาการเมืองคือทฤษฎีการเมือง หรือกระบวนทฤษฎีที่มองว่าความสามารถที่ระบบการเมืองทำให้คนในสังคมสนับสนุนในกิจกรรมทางการเมือง และเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม โดยการระดมทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสังคม โดยเป้าหมายของพัฒนาการทางการเมืองคือ “การสร้างสถาบันเพื่อจัดระเบียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง” เป็นสำคัญ [6]

ใกล้เคียง

การพัฒนาการเมือง การพัฒนาอย่างยั่งยืน การพักรบ การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอจายล์ การพัวพันเชิงควอนตัม การพักรบตางกู การพัดขึ้นฝั่ง การพับกระดาษ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาไฟนอลแฟนตาซี XV