บริบทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ของ การฟื้นฟูป่าชายเลน

ป่าชายเลน พร้อมกับสายพันธุ์สัตว์ที่พักพิง เป็นตัวแทนของแหล่งที่มาของความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญทั่วโลก และให้นิเวศบริการที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติ โดยเป็นประโยชน์ต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนกอพยพ ในฐานะของการให้อาหารและเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์ และเอื้อต่อการเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของปลา และสายพันธุ์ครัสเตเชียนที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ รากของป่าชายเลนยังเป็นกันชนทางกายภาพของฝั่งทะเล จากผลกระทบโดยการกัดกร่อนของคลื่นทะเลและพายุ นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังได้ปกป้องพื้นที่ชายฝั่งโดยการดูดซับน้ำท่วม และชะลอตัวการไหลของตะกอนในแม่น้ำ จากการมีตะกอนตกค้างในที่แห่งนี้ จึงอาจมีของเสียที่เป็นพิษเกิดขึ้น รวมถึงมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำและสุขาภิบาลในชุมชนชายฝั่ง

สำหรับชุมชนมนุษย์ที่พึ่งพาป่าชายเลน ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่มาของรายได้ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนจากการเก็บเกี่ยวผลิตผลของปลาและขอนไม้ เช่นเดียวกับที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากป่า เช่น พืชสมุนไพร, ใบปาล์ม และน้ำผึ้ง ในระดับโลก ป่าชายเลนยังทำหน้าที่ดูดสารคาร์บอนในปริมาณที่เทียบได้กับการปกคลุมท้องฟ้าของป่าฝนบนบก ซึ่งหมายความว่าป่าเหล่านั้นอาจจะมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[2] นอกจากนี้ ยังเป็นการปกป้องชายฝั่งทางกายภาพจากระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[3] อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดของป่าชายเลนที่จะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 1 เมตรและจะทำลายป่าชายเลนในหลายภูมิภาคทั่วโลก[4] ซึ่งชุมชนชายฝั่งจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม, การกัดเซาะชายฝั่ง, การถูกรุกล้ำของน้ำเค็ม และภัยจากพายุที่เพิ่มขึ้น[5]

ใกล้เคียง

การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ การฟื้นฟูเมจิ การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง การฟื้นฟูสภาพป่า การฟื้นฟูป่าชายเลน การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ การฟื้นแสนยานุภาพของเยอรมนี การฟื้นฟูเค็มมุ การฟื้นฟูภาษาฮีบรู การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี (พ.ศ. 2489-2491)