การจัดลำดับความสำคัญ ของ การมองอนาคต

การจัดลำดับความสำคัญเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการผลักดันการมองอนาคตในทุกระดับซึ่งการจัดลำดับความสำคัญก็คือ การเลือกอย่างมีสติระหว่างกิจกรรมที่มีความสำคัญมากน้อยต่างกันทั้งนี้เนื่องมาจากข้อจำกัดด้านเวลา เงิน หรือพลังงาน อุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินการมองอนาคตในระยะแรกๆ คือการต่อต้านอย่างรุนแรงจากนักวิชาการและนักอุตสาหกรรมทั้งหลายซึ่งมองการจัดลำดับความสำคัญเสมือนหนึ่งภัยคุกคาม อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน กลุ่มข้าราชการ นักอุตสาหกรรมตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ได้ยอมรับแล้วว่าจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเพื่อจัดอันดับความสำคัญในการทำวิจัยระดับชาติ และดังนั้นการวางแผนกลยุทธ์และการจัดอันดับความสำคัญจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาพแวดล้อมในการมองอนาคตระยะหลัง ๆ แตกต่างมากกับสภาพแวดล้อมในช่วงต้นจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1980 การจัดลำดับความสำคัญเป็นผลมาจากการตัดสินใจในหลายระดับตั้งแต่วิธีการตัดสินใจแบบ “บนลงล่าง” (top-down) โดยผู้บริหารระดับสูง เช่นในระดับนโยบาย/การเมือง ไปจนถึงระดับกลางๆ ไปจนถึงวิธีการตัดสินใจแบบ “ล่างขึ้นบน” (bottom-up) เสนอการตัดสินใจโดยระดับปฏิบัติ ดังนั้น ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น .การมองอนาคต. จำต้องทำในหลายระดับและในทางอุดมคติคือการดำเนินการในรูปแบบที่ประสานกันได้ประสบการณ์ชี้ให้เห็นลักษณะสำคัญของการมองอนาคตที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญ ได้แก่:

  • ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการมองอนาคตให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น
  • ต้องสนับสนุนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เช่น ผู้ใช้งานวิจัย ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนทางการเงิน
  • ให้ความสำคัญกับการระดมความคิดจาก “ล่างขึ้นบน” ไม่น้อยไปกว่า “บนลงล่าง”
  • ต้องมีกลไกที่เตรียมจะนำผลการตัดสินใจจากกระบวนการมองอนาคตไปปฏิบัติทันที หรือในอนาคต
  • ขั้นตอนต้องยืดหยุ่นต่อสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิด และสามารถปรับแผนดำเนินการได้
  • ไม่ใช่กระบวนการที่ดำเนินการแบบ “ครั้งเดียวจบ” แต่จะกระทำซ้ำเป็นระยะๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ปฏิกิริยา ตอบสนองและพัฒนาการใหม่ๆ

กุญแจสู่ความสำเร็จในการจัดลำดับความสำคัญระดับชาติ คือการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาลการยอมรับผลการวิจัยและขั้นตอนการดำเนินการจากแวดวงนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการและการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดและยอมรับผลการวิจัยจากกลุ่มอุตสาหกรรม

ใกล้เคียง

การมองอนาคต การมองเห็นภาพเป็น 3 มิติ การมองในแง่ดีเชิงเปรียบเทียบ การมอบงานให้อัครสาวกสิบสองคน การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การออกกำลังกาย การยอมจำนนของญี่ปุ่น การลอบสังหารชินโซ อาเบะ การสอบขุนนาง การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี