นิยามและเหตุผล ของ การมองอนาคต

มีผู้ให้คำนิยามการมองอนาคตไว้มากมาย แต่คำนิยามหนึ่งที่เหมาะสมที่สุดคือ“การมองอนาคตเป็นความพยายามอย่างเป็นระบบที่จะคาดการณ์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมในระยะยาว เพื่อบ่งชี้เทคโนโลยีพื้นฐานใหม่ๆ และขอบเขตของการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่จะเอื้อประโยชน์สูงสุดแก่เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมและสังคม”

คำจำกัดความดังกล่าวมีความหมายหลายนัย คือ

  1. ความพยายามในการมองไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบ จึงจะถือว่าเป็นการมองอนาคต
  2. ต้องเป็นการมองไปข้างหน้าระยะยาวประมาณ 10 ปี หรืออาจเป็น 5-30 ปี
  3. การมองอนาคตเป็นเรื่องของกระบวนการ ไม่ใช่วิธีการ และต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและร่วมมือกันระหว่างแวดวงนักวิทยาศาสตร์ ผู้ใช้งานวิจัยและผู้วางนโยบาย
  4. เป้าหมายหนึ่งของการมองอนาคตคือ การบ่งชี้เทคโนโลยีพื้นฐานใหม่ๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง เทคโนโลยีดังกล่าวนั้นยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและต้องได้รับการคัดเลือกเพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอจึงจะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
  5. อีกเป้าหมายหนึ่งคือ การเน้นการวิจัยเชิงกลยุทธ์ นั่นก็คือการวิจัยเบื้องต้นซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดความร่วมมือในเชิงกว้างที่อาจเป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันหรืออนาคต
  6. ต้องให้ความสำคัญกับประโยชน์ (และโทษ) ทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ๆไม่เฉพาะแค่ผลกระทบทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ จำเป็นที่จะต้องเน้นว่าการมองอนาคตไม่ใช่การทำนายเทคโนโลยีที่สันนิษฐานว่าอนาคตมีแค่รูปแบบเดียวและพยายามคาดการณ์ให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ว่าอนาคตนั้นจะเป็นอย่างไรในทางตรงกันข้ามการมองอนาคตไม่ใส่ใจที่จะคาดการณ์รายละเอียดและกำหนดเวลาของพัฒนาการอย่างหนึ่งอย่างใด แต่สนใจที่จะร่างอนาคตที่อาจเป็นไปได้ในหลายรูปแบบจากหลายชุดสมมติฐานเกี่ยวกับทิศทาง แนวโน้ม และโอกาสใหม่ๆ ที่น่าจะเกิดขึ้น แต่อนาคตแบบใดที่จะเกิดขึ้นจริงขึ้นอยู่กับการเลือกในปัจจุบันการมองอนาคตจึงนับเป็นการให้โอกาสในการออกแบบอนาคตผ่านการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด

ปัจจุบันการมองอนาคตได้รับการยอมรับในหลายประเทศว่า เป็นวิธีการที่มุ่งเน้นความพยายามของชุมชนชาววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งและการยกระดับคุณภาพชีวิต เหตุผลพื้นฐานคือเป็นที่ตระหนักกันโดยทั่วไปแล้วว่าว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อมในระยะหลายทศวรรษที่จะมาถึง ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยีเหล่านี้ ต้องพึ่งพาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก ดังนั้น ถ้าสามารถระบุเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งอยู่ในระยะเริ่มพัฒนาได้ รัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ก็จะสามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิจัยในสาขาเชิงยุทธศาสตร์เหล่านั้นได้ เพื่อให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

ใกล้เคียง

การมองอนาคต การมองเห็นภาพเป็น 3 มิติ การมองในแง่ดีเชิงเปรียบเทียบ การมอบงานให้อัครสาวกสิบสองคน การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การออกกำลังกาย การยอมจำนนของญี่ปุ่น การลอบสังหารชินโซ อาเบะ การสอบขุนนาง การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี