ข้อความ ของ การยอมจำนนของญี่ปุ่น

มาโมรุ ชิเงะมิตสึ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ลงนามตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น บนเรือยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) ขณะที่พลเอก ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์ มองจากฝั่งตรงข้ามผู้แทนจากจักรวรรดิญี่ปุ่นในพิธียอมจำนน บนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63)ต้นฉบับตราสารยอมจำนน
ตราสารยอมจำนน
ฝ่ายเรา โดยบัญชาและในนามของจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น รัฐบาลแห่งญี่ปุ่น และกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิญี่ปุ่น ขอยอมรับบรรดาเงื่อนไขอันปรากฏในปฏิญญาซึ่งกำหนดขึ้นโดยหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ, จีน และบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 1945 ที่เมืองพ็อทซ์ดัม และสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตได้เข้าร่วมภาคีในภายหลัง ประกอบกันเป็น 4 อัครภาคีซึ่งต่อไปนี้จะได้เรียกว่าฝ่ายสัมพันธมิตรฝ่ายเราขอประกาศการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ของกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิญี่ปุ่น และกองทหารญี่ปุ่นทุกเหล่าทัพ ตลอดจนกองกำลังในบังคับของญี่ปุ่นในทุกๆที่ฝ่ายเราจะได้บัญชากองกำลังญี่ปุ่นและพลเรือนญี่ปุ่นในทุกๆที่ ให้ยุติการประทุษกำลังในทันที เพื่อรักษาและสงวนไว้ซึ่งความเสียหายต่อบรรดาเรือ อากาศยาน ตลอดจนทรัพย์สินทางพลเรือนและทางทหาร รวมทั้งจะเชื่อฟังทำตามข้อปฏิบัติต่างๆซึ่งอาจกำหนดขึ้นโดยผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตร หรือหน่วยงานราชการญี่ปุ่นในกำกับของผบ.สส.นั้นฝ่ายเราจะได้บัญชากองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิ ให้ออกคำสั่งถึงบรรดาผู้บัญชาการทหารของกองกำลังญี่ปุ่นและกองกำลังในบังคับของญี่ปุ่นทั้งหมดในทุกๆที่ในทันทีให้พวกเขาตลอดจนกำลังในบังคับทำการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขฝ่ายเราจะได้บัญชาบรรดาเจ้าพนักงานพลเรือน ทหาร และทหารเรือ ให้เชื่อฟังและบังคับใช้ซึ่งปฏิญญา คำสั่ง และข้อสั่งการทั้งปวงที่เห็นว่าเป็นของผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่ว่าที่ทำขึ้นโดยตัวผบ.สส.หรือโดยอำนาจของผบ.สส เพื่อที่ว่าสารยอมจำนนนี้จะได้สัมฤทธิ์ผล และเราได้กำชับเจ้าพนักงานทั้งปวงให้อยู่ประจำหน้าที่โดยยังคงปฏิบัติราชการต่อไปที่ไม่ใช่การรบ เว้นแต่จะถูกสั่งเป็นพิเศษให้เลิกปฏิบัติเสียโดยตัวผบ.สส.หรือโดยอำนาจของผบ.สส.ฝ่ายเราให้การรับรองว่า องค์จักรพรรดิ และรัฐบาลญี่ปุ่นรวมถึงผู้รับช่วงต่อ จะได้ร่วมผลักดันปฏิญญาพ็อทซ์ดัมอย่างเต็มกำลังจนสำเร็จลุล่วง และการออกคำสั่งรวมถึงการดำเนินการใดๆก็ตาม อาจจำเป็นต้องผ่านทางผู้บัญชาการการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตรหรือผ่านทางผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้แต่งตั้งไว้เสียก่อน เพื่อที่ว่าปฏิญญานั้นจะมีผลใช้ได้สืบไปฝ่ายเราจะได้บัญชารัฐบาลจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิญี่ปุ่น ให้ทำการปลดปล่อยเชลยสงครามและพลเรือนผู้ต้องขังของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งขณะนี้อยู่ในบังคับของญี่ปุ่น ทั้งหมดในทันที ตลอดจนให้ความคุ้มครอง รักษา เลี้ยงดู และขนส่งอย่างฉับไวไปยังสถานที่ที่กำหนดอำนาจของจักรพรรดิและรัฐบาลญี่ปุ่นในการปกครองประเทศจะอยู่ในบังคับของผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งจะได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆดังกล่าวในการที่ว่าเงื่อนไขยอมจำนนเหล่านี้จะได้สัมฤทธิ์ผลสืบไปลงนาม ณ อ่าวโตเกียว, ญี่ปุ่น เวลา 09.04 น. เมื่อวันที่สองของเดือนกันยายน ค.ศ. 1945(ลงชื่อ) มาโมรุ ชิเงะมิตสึโดยบัญชาและในนามของจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นและรัฐบาลญี่ปุ่น(ลงชื่อ) โยชิจิโร อูเมซุโดยบัญชาและในนามของกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิรับ ณ อ่าวโตเกียว, ญี่ปุ่น เวลา 09.08 น. เมื่อวันที่สองของเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 ไว้สำหรับสหรัฐ สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต และในทางประโยชน์ของภาคีชาติอื่นที่ทำสงครามกับญี่ปุ่น(ลงชื่อ) Douglas MacArthurผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตร(ลงชื่อ) C.W. Nimitzผู้แทนสหรัฐ(ลงชื่อ) Xu Yongchangผู้แทนสาธารณรัฐจีน(ลงชื่อ) Bruce Fraserผู้แทนสหราชอาณาจักร(ลงชื่อ) Kuzma Derevyankoผู้แทนสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต(ลงชื่อ) Thomas Blamleyผู้แทนเครือรัฐออสเตรเลีย(ลงชื่อ) L. Moore Cosgraveผู้แทนประเทศจักรภพแคนาดา(ลงชื่อ) Jaques Le Clercผู้แทนรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส(ลงชื่อ) C.E.L. Helfrichผู้แทนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์(ลงชื่อ) Leonard M. Isittผู้แทนประเทศจักรภพนิวซีแลนด์


ใกล้เคียง

การยอมจำนนของญี่ปุ่น การยอมรับ การยอมรับความต่างทางศาสนา การยอมจำนน การยอมรับปฏิทินกริกอเรียน การยอมรับตนเอง การยอมจำนนของเยอรมนี การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การยกกำลัง การออกกำลังกาย