ดาราศาสตร์ ของ การยุบตัวจากความโน้มถ่วง

ในทางดาราศาสตร์ การยุบตัวจากความโน้มถ่วงเป็นปรากฏการณ์ทางกายภาพที่ดาวฤกษ์ไม่สามารถทนต่อความโน้มถ่วง ของตัวเองได้และพังทลายลง[1]

ในขณะที่ดาวฤกษ์ถูกกดเข้าหาศูนย์กลางเนื่องจากความโน้มถ่วง ตัวดาวยังคงมีขนาดคงที่เนื่องจากการเคลื่อนที่ด้วยความร้อนของพลาสมาและแรงผลักทางไฟฟ้า เมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันดำเนินไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดนิวเคลียสของอะตอมที่มีมวลอะตอมน้อยถูกเผาผลาญหมดไปและแรงผลักจะอ่อนลง จึงทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันหยุดลง เมื่อถึงจุดนี้ จะทำให้ดาวเกิดการบีบอัดมากขึ้น และจะหยุดการบีบอัดเมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเริ่มขึ้นอีกครั้ง แต่เมื่อถึงจุดที่แกนดาวฤกษ์เต็มไปด้วยธาตุเหล็ก (นิวเคลียสของอะตอมที่มีเลขอะตอมใกล้เคียงธาตุเหล็กเป็นนิวเคลียสที่เสถียรที่สุดและไม่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันอีก) คราวนี้ธาตุเหล็กจะดูดกลืนรังสีแกมมา และเปลี่ยนให้เป็นฮีเลียมและนิวตรอน และเกิดการแตกตัวด้วยแสงขึ้น จากนั้นใจกลางของดาวก็กลายเป็นเหมือนช่องว่าง และสสารรอบ ๆ ก็พังทลายลงมาตรงกลางและถูกบีบอัด การบีบอัดนี้สร้างแกนกลางขึ้น และคลื่นกระแทกที่สะท้อนจากแกนกลางจะกระจายออกไปด้านนอก ทำให้ดาวฤกษ์ยุบตัว นี่คือสิ่งที่เรียกว่า การยุบตัวจากความโน้มถ่วง และจะเกิดเป็นมหานวดาราขึ้นในที่สุด

หลังจากนั้นแกนกลางที่บีบอัดจะกลายเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน

นอกจากนี้ ในการทำนายทางทฤษฎี ยังพิจารณาถึงการมีอยู่ของ ดาวควาร์ก ซึ่งนิวเคลียสถูกแยกสลายต่ออีกจนอยู่ในรูปของควาร์ก

ใกล้เคียง

การยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในประเทศไทย การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย การยุบทันที การยุทธผสม การยุบเชโกสโลวาเกีย การยุบตัวจากความโน้มถ่วง การยุบอาราม การยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในสหรัฐ พ.ศ. 2552 การยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์