การย้อมรุ้ง

การย้อมชมพู (อังกฤษ: pinkwashing) หรือ การย้อมรุ้ง (อังกฤษ: rainbow-washing)[1] เป็นแนวทางในการสนับสนุนการปกป้องสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศในฐานะหลักฐานแห่งความเสรีนิยมและประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อที่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากหรือให้ความชอบธรรมแก่ความรุนแรงต่อประเทศหรือชุมชนอื่น[lower-alpha 1] แนวคิดเรื่องการย้อมรุ้งมีใช้มาตั้งแต่ปี 2011 โดยซาราห์ ชูลมัน ซึ่งเรียกการย้อมรุ้งเพื่ออธิบายถึงหน่วยประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลอิสราเอล และแนวคิดชาตินิยมรักร่วมเพศ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเหยียดเชื้อชาติและความรังเกียจชาวต่างชาติ[7] การย้อมรุ้งเป็นผลสืบเนื่องหนึ่งจากภาระการสร้างความศิวิไลซ์ซึ่งใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับแนวคิดล่าอาณานิคม โดยในบริบทนี้ว่าด้วยสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศในรัฐตะวันตก[8][9] ในมุมมองที่กว้างกว่า การย้อมรุ้งสามารถนิยามได้ว่าเป็น "การเอาข้อความที่เห็นอกเห็นใจเพียงผิวเผิน แต่แทบจะไม่มีหรือไม่มีอะไรที่เกี่ยวเลยกับความเท่าเทียมหรือการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ"[10] ซึ่งในที่นี้อาจรวมถึงการตลาดพุ่งเป้าความหลากหลายทางเพศ[11]

ใกล้เคียง

การย้อมส้ม การย้อมรุ้ง การย้อมสีกรัม การย้ายราชสำนักโปรตุเกสไปบราซิล การย้ายถิ่นยีน การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์ การย้ายที่ของโครโมโซม การยกกำลัง การยอมจำนนของญี่ปุ่น การค้าประเวณี

แหล่งที่มา

WikiPedia: การย้อมรุ้ง https://rockcontent.com/blog/what-is-rainbow-washi... https://link.springer.com/10.1007/978-3-030-69555-... https://doi.org/10.1007%2F978-3-030-69555-2_16 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:240561329 https://www.palestine-studies.org/en/node/228970 https://doi.org/10.1525%2Fjps.2018.47.4.5 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:240300865 https://www.pressrelations.com/blog/en/profit-from... https://doi.org/10.1080%2F14649365.2020.1821391 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:224897595